OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

Ewha Womans University มหาวิทยาลัยสตรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก

1

เราอาจคุ้นหูโรงเรียนชายล้วน หญิงล้วนในระดับประถมและมัธยมศึกษาในประเทศของเราอยู่หลายแห่ง แต่คงไม่ใช่กับสถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย อย่าง Ewha Womans University กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ มหาวิทยาลัยที่ยังคงสืบทอดคุณลักษณะการรับนักศึกษาสตรีมานานกำลังจะเข้าสู่ปีที่ 120 เข้าไปแล้ว มีชื่อเสียงด้านการผลิตบุคลากรการศึกษาที่มีคุณภาพ ได้รับการยอมรับเป็นมหาวิทยาลัยในระดับแนวหน้าของประเทศ แถมท้ายด้วยสถาปัตยกรรมที่งดงามไม่แพ้เหล่านักศึกษาที่รอวันผลิบานสู่การเป็นบัณฑิตเปี่ยมความสามารถต่อไปในวันข้างหน้า

มหาวิทยาลัยหญิงล้วนที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในโลก

ด้วยความสนใจด้านสถาปัตยกรรมทำให้เราไม่พลาดที่จะแวะไปที่มหาวิทยาลัยสตรีแห่งนี้ เลือกเดินทางไปลงที่สถานีรถไฟใต้ดิน Ewha Womans University Station ในกรุงโซล ตั้งชื่อเอาไว้ชัดเจน เดินออกจากประตูเดินมาตามถนนก็หาเจอได้ไม่ยากแล้วละครับ

2

Ewha Womans University (มหาวิทยาลัยสตรีอีฮวา) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1886 ทำให้เป็นมหาวิทยาลัยหญิงล้วนที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในโลก โดยกลุ่มมิชชันนารีชาวอเมริกัน ซึ่งมีความเชื่อว่า ผู้หญิงทุกคนมีคุณค่าพอให้นับถือเคารพ โดยคำว่า อีฮวา แปลว่า ต้นแพรที่ออกดอก ซึ่งมีนัยยะถึงกลุ่มหญิงสาว มุ่งหวังที่จะผลิตบัณฑิตสตรีที่มีคุณงามแห่งความรู้ควบคู่ความดี ตามปรัชญาของมหาวิทยาลัย Truth,Goodness,and Beauty

345

ปัจจุบัน Ewha Womans University Station มีบัณฑิตเกือบ 21000 คน   เป็นมหาลัยเอกชนที่ชื่อเสียงทางด้านการศึกษา ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาผลิตบัณฑิตคุณภาพออกสู่สังคมไปกว่า 150,000 คน และยังเปิดให้ทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาต่างชาติผู้ที่สนใจ

อาคารหุบเขาสีเขียว

67

เพราะเป็นมหาลัยเก่าแก่ที่สำคัญในเมืองโซล การปรับปรุงอาคารหลังใหม่จึงไม่อาจละเลยความสัมพันธ์ที่มีผลต่อภูมิทัศน์ในเมืองได้ การสร้างอาคารขนาดใหญ่ให้เพียงพอต่อพื้นที่การใช้งานอาจจะเข้าไปบดบังวิวทิวเขาหลังมหาวิทยาลัยหรือจะกลายเป็นก้อนส่วนเกินของชุมชนไปเสียเปล่าๆ กลุ่มสถาปนิก Dominique Perrault Architecture ผู้ชนะการประกวดแบบจึงเลือกที่จะกดโครงสร้างอาคารสูง 6 ชั้น เนื้อที่รวมกว่า 66,000 ตร.ม. ลงใต้ดิน ประกอบไปด้วยพื้นที่โรงจอดรถ ห้องเรียนฟังบรรยาย โรงอาหาร พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการ นันทนาการ บวกเพิ่มเติมด้วยพื้นที่สวนหย่อมชั้นดาดฟ้าเพื่อการพักผ่อนทั้งสำหรับทั้งนักศึกษาและประชาชนเข้าไปอีก

9 8

อาคารหลังคาธรรมชาติคล้ายหุบเขาที่ถูกกดลงพื้นดินกลายเป็นการสร้างภูมิประเทศใหม่ให้ต่อตัวมหาวิทยาลัยและตัวเมืองโซลเอง สภาพแวดล้อมธรรมชาติที่ค่อนข้างจะเขียวขจีเดิมอยู่แล้วในสถานศึกษาถูกขับเน้นตัวออกมาให้เห็นเด่นชัดมากขึ้น พื้นที่ลานกว้างเชื่อมต่อกับสวนทางลาดชวนให้ผู้คนทั้งจากภายนอกและภายในหลั่งไหลเข้าไปใช้งานได้ง่ายขึ้น

12 11 10

เราจะยังคงเห็นต้นไม้ใหญ่จะยังคงผลัดใบเปลี่ยนสีไปตามฤดูกาล อาคารรอบๆชุมชนจะยังคงมองเห็นได้สุดสายตาจากพื้นที่แห่งเดิม การสร้างอาคารพื้นที่อเนกประสงค์หลังใหม่เพื่อรองรับใช้งานในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป และยังมีความอ่อนน้อมต่อสภาพพื้นที่โดยรอบในอดีตเอาไว้อย่างดี

ทางเดินกลางหุบเขา

13

อีกจุดเด่นหนึ่งของอาคารหลังใหม่นี้นอกจากสวนสีเขียวด้านบน คือทางลาดด้านล่างผ่ากลางอาคาร คล้ายเป็นเส้นทางกลางหุบเขา ทอดยาวจากทางลาดด้านหน้าไปถึงการปรับพื้นที่เป็นสเตปบันไดด้านหลังสุด เพื่อการสัญจรหรือนั่งพักหยุดมองผู้คนที่กำลังเคลื่อนไหว มีทั้งนักศึกษาที่เดินผ่านเข้าไปใช้งานอาคารและประชาชนทั่วไปที่ใช้เพื่อการสัญจรผ่านไปยังสถานที่อื่นๆ สานความสะดวกสบายด้วยเส้นทางของเขตมหาวิทยาลัยเข้ากับพื้นที่เมือง เป็นการออกแบบที่เผยให้เห็นการแทรกซึมของผู้คนแเละพื้นที่ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน

15 14

ทางลาดขนาดใหญ่นี้เปลี่ยนรูปแบบการเข้าถึงอาคารสำหรับเราให้รู้สึกต่างออกไป ในอาคารทั่วไปอาคารทางเข้าหลักมักที่มองเห็นชัดอยู่ด้านหน้า แต่คราวนี้ทางเข้าอาคารถูกระบุเป็นป้ายหมายเลขต่างๆกระจายตัวอยู่เพื่อบ่งบอกถึงทางเข้าสู่การใช้งานพื้นที่แต่ละส่วน นักศึกษาหญิงสามารถนัดหมายกันด้วยหมายเลขประตูกับเพื่อนๆ ก่อนจะเข้าไปค้นคว้าความรู้ด้วยกันได้ ทางเดินขนาดใหญ่นี้จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมโดยสมบูรณ์ รองรับการความจุการใช้งานของผู้คนจำนวนมาก เป็นจุดนัดพบปะพูดคุย เป็นอัฒจันทร์ธรรมชาติที่นั่งคอยนัดหมาย เป็นทางสัญจรเพื่อเข้าอาคารหรือปลายทางที่อื่นๆ และมีพลังดึงดูดให้คนแปลกหน้าอย่างเราอยากย้ายตัวลงไปสัมผัสพื้นที่ด้านล่างระหว่างหุบเขา กับ space ที่ชวนตื่นตะลึงตั้งแต่แรกเห็น

16 17 18

อาคารที่อยู่ใต้ดินอาจจะมืดเหมือนถ้ำเพราะแสงแดดส่องไม่ถึงรึป่าว ?แก้ไขด้วยผนังกระจก 2 ข้างทางจะช่วยให้แสงธรรมชาติส่องเข้าถึงพื้นที่ภายในอาคาร และยังช่วยสื่อสารผู้ใช้งานจากภายในให้มองเห็นสถาพอากาศและผู้คนภายนอกกันได้อยู่

21

ประติมากรรมภูมิทัศน์

22

เมื่อเราย่อยสลายความเป็นกลุ่มก้อนอาคารขนาดใหญ่ลงไปสู่พื้นดิน สร้างทางเดินขนาดใหญ่ผ่าตรงกลาง ตกแต่งพื้นดาดฟ้าให้กลายเป็นสวนสีเขียว รูปฟอร์มอาคารที่สูงขึ้นเป็นเนินจากพื้นดินเพียงเล็กน้อย เชื่อมพื้นที่ทั้งส่วนบนและด้านลางด้วยทางลาดด้วยองศาที่เป็นมิตรกับการเดิน อนุญาตให้คนทั่วไปไม่ใช่แค่นักศึกษาเข้ามาใช้งาน อาคารหลังนี้จึงไม่ได้ใส่ใจแค่การจัดสรรพื้นที่ใช้งานแต่ในอาคารเพียงเท่านั้น แต่ขยายขอบเขตไอเดียมาถึงการออกแบบอาคารให้มีปฎิสัมพันธ์ที่แนบเนียนกับพื้นที่ภายนอก เป็นการช่วยละลายขอบเขตระหว่างพื้นที่มหาวิทยาลัยและพื้นที่เมืองให้เบาบางลง ผู้คนหลั่งไหลไปมาถึงกันได้อย่างเป็นธรรมชาติ ภาพของหุบเขาสีเขียวจำลองและทางเดินผ่านตรงกลางขนาดใหญ่นี้จึงนับเป็นชิ้นงานประติมากรรมเชิงภูมิทัศน์ขนาดใหญ่ เข้าไปปรับการใช้งานของผู้คนและสภาพแวดล้อมเมืองได้อย่างกลมกลืน

23

โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษานับเป็นสถานที่สำคัญประจำเมืองแต่ละแห่ง ไม่ว่าจะเล็ก ใหญ่ สร้างใหม่ หรือเต็มไปด้วยความเก่าแก่ ก็ล้วนมีความสัมพันธ์ต่อวิถีชีวิตผู้คนที่เกี่ยวข้อง นักศึกษา อาจารย์ หน่วยงาน ธุรกิจบริการต่างๆที่ตามมา และเช่นเดียวกับสภาพแวดล้อมตัวเมือง เรามักพูดกันว่า การศึกษาเป็นการพัฒนาขั้นพื้นฐานสำหรับทุกคน ไม่ว่ายากดีมีจน เยาวชน หรือคนสูงอายุ ให้กระบวนการศึกษาได้ทำหน้าที่ของมันอย่างเต็มที่ ฉนั้นการออกแบบอาคารสถานศึกษาให้มีส่วนร่วมผลักดันพื้นที่เมืองให้สวยงามและเอื้อประโยชน์ต่อทุกคนในเมืองได้ด้วยพร้อมๆกัน ก็นับเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจนะครับ

ข้อมูลและรูปภาพจาก http://www.ewha.ac.kr/

http://www.archdaily.com/227874/ewha-womans-university-dominique-perrault-architecture

http://inhabitat.com/ewha-woman%E2%80%99s-university-is-green-roofed-constructed-canyon-in-seoul/

Discover more from Design Makes A Better Life.

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading