อดอล์ฟ ลูส (Adolf Loos) (10 ธันวาคม ค.ศ. 1870 – 23 สิงหาคม ค.ศ. 1933) เป็นสถาปนิกชาวออสเตรียที่เกิดในเชค เขามีอิทธิพลต่อวงการสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของยุโรปเป็นอย่างมาก แต่ในเรื่องชื่อเสียงและความเป็นผู้ทรงอิทธิพลเรื่องการออกแบบ กลับไม่เท่า เลอกอร์บูซีเย (Le Corbusier) สถาปนิกผู้สั่งให้ลูกน้องทุกคนเก็บร่องรอยทุกสิ่งที่เกี่ยวกับการทำงานไว้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นโมเดล กระดาษสเก็ตช์ ภูกัน กระดานวาดภาพ หรือแม้แต่บิลใบเสร็จที่ได้รับเมื่อตอนไปซื้อของใช้ในออฟฟิศ จึงไม่แปลอะไรที่เมื่อกาลเวลาผ่านไป การนำเสนอเรื่องราวของ เลอกอร์บูซีเย จึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ไม่ยากนัก เพราะด้วยการวางแผนที่ดีของสถาปนิกเอง
อดอล์ฟ ลูส (10 ธันวาคม ค.ศ. 1870 – 23 สิงหาคม ค.ศ. 1933)
ต่างจากอดอล์ฟ ลูส สถาปนิกนักเขียนที่มีความเกรี้ยวกราด รุ่นแรง และเด็ดขาดในอารมณ์ ที่ไม่ติดกับอดีตหรือแม้แต่ผลงานของตัวเอง เขาไม่เคยเก็บผลงานของเราเป็นชิ้นเป็นอัน จะมีก็เพียงงานเขียนของเขาที่เป็นหลักฐาน งานเขียนในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น และยังได้รับการรวมเล่ม แสดงตัวตนว่าเขาเป็นคนอย่างไร คิดอย่างไรกับชีวิต สังคมและการออกแบบสถาปัตยกรรม
Looshaus
บทความของเขาที่ชื่อ Ornament and Crime ที่เขาปฏิเสธศิลปะหรูหราแบบเวียนนาซีเซสชัน หรืออาร์ตนูโวในแบบออสเตรีย ในหลายบทความเขาสนับสนุนตัวบททฤษฎีที่คิดอย่างรอบขอบและการวิจารณ์ในเรื่องสมัยใหม่นิยมของสถาปัตยกรรม
Muller House
จากผลงาน Goldman & Salatsch Building ของ Adolf Loos ได้พัฒนาต่อเป็นรากฐานของแนวความคิดประโยชน์นิยม ที่นำเอาเหตุและผลมาใช้อย่างเป็นระบบ ตัวอย่างเช่น รูปทรงภายนอก ควรต้องสะท้อนถึงหน้าที่ใช้สอยภายใน ลวดลายประดับสถาปัตยกรรม ถือว่าไร้ประโยชน์ในปี ค.ศ. 1908 Adolf Loos ได้ประกาศในบทความของเขา “Ornament and Crime” ว่า การประดับตกแต่งนั้นเป็นเสมือนอาชญากรรม ซึ่งในความเป็นจริงการสร้างงานที่มีการประดับตกแต่งนัั้น ก็ยากอยู่แล้วและทำให้เกิดค่าใช้จ่ายมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น เป็นเรื่องปกติที่ความชื่นชมในการประดับตกแต่งนั้นเป็นสิ่งที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจเสื่อมความนิยมเมื่อไรก็ได้
Café Museum
ลูส วิจารณ์สังคมในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ว่า เป็นสังคมแห่งการหลอกลวงและเปลือก เต็มไปด้วยของปลอม ผู้คนใช้หน้ากากเป็นเครื่องมือในการสื่อสารถึงสถานะทางสังคมที่ตนอยากจะมี ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือ ของใช้ เครื่องแต่งกายหรืองานสถาปัตยกรรม ลูสมองตัวเองเป็นผู้พิทักษ์สัจจะ และความจริงแท้ของงานสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นในสังคม
เขาต่อต้านการประดิษฐ์คิดค้นลวดลายฟุ่มเฟือย การพยายามลอกเลียนวัสดุราคาแพงด้วยวัสดุราคาถูก ตลอดจนการพยายามเสแสร้งบิดเบือนในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนของเราจริงๆ และด้วยชนชั้นทางสังคมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ลูสพยายามชี้ให้เห็นคุณค่าของวัสดุและวิธีการทุกรูปแบบ ที่ไม่ได้มีอะไรด้อยไปกว่ากัน ความยากจนไม่ใช่เรื่องน่าอาย พอๆกับการใช้วัสดุราคาถูกไม่ใช่เรื่องผิด แต่การพยายามลอกเลียนและแสร้งเป็นวัสดุราคาแพงต่างหาก ที่ทำร้ายความภาคภูมิใจของเรา
Tristan Tzara House
อดอล์ฟ ลูส อาจไม่ใช้ปรมจารย์เรื่องสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์น แต่ก็เป็นคนที่มีความสำคัญมากพอ ที่กำหนดทิศทางสถาปัตยกรรมในช่วงเวลานั้นๆ เหมือนดั่งแว่นขยายที่ทำให้เราเข้าใจบ่อเกิดของงานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ในรูปแบบที่เราอาจจะไม่เคยมองเห็นมาก่อน
ขอบคุณข้อมูลและแรงบันดาบใจจาก Adolf Loos SPOKEN INTO THE VOID แปลโดย ต้นข้าว ปาณินท์