OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

4 สิ่ง ที่ทำให้งานสถาปนิก 60 แตกต่างจากปีก่อนๆ

เหตุการณ์มากมายเกิดขึ้นในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ทั้งสุข เศร้า และหดหู่ เราต่างผ่านสถานการณ์ที่ยากเย็นมาได้ เพราะแรงพลักดันบางอย่าง แรงผลักดันจากสิ่งที่เรารักและศรัทธา เหตุการณ์สำคัญที่ผ่านมาทำให้เราต้องกลับมามองตัวตนของเราอีกครั้ง มองให้ลืกเข้าไปภายในจิตใจ และเราก็กลับพบว่า หน่วยเล็กที่สุดที่ส่งผลยิ่งใหญ่ คือ ตัวของเราเอง ความคิดเรียบง่าย พอเพียง ไม่ฟุ่มเฟือย คือความยั่งยืนที่เป็นจริงเสมอมา

งานสถาปนิก 60 ปีนี้ จึงจัดขึ้นเพื่อต้องการที่จะเผยแพร่แนวคิดนวัตกรรมใหม่ๆ ในวงการสถาปัตยกรรม ที่เกี่ยวกับที่ อยู่อาศัย และเปิดเป็นพื้นที่ที่มีการแลกเปลี่ยนความรู้ และความคิดเห็นต่างๆ ในกลุ่มวิชาชีพสถาปนิก นักออกแบบ วิศวกร และปรัชาชนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในสายวิชาชีพนี้ ได้เข้าใจในความสำคัญของการออกแบบ สถาปัตยกรรม และคุณค่าที่เราอาจจะยังมองข้ามไป ที่สำคัญไปกว่านั้นคือการลดช่องว่างระหว่างประชาชนทั่วไป กับ สถาปนิกให้ลดน้อยลงนั่นเอง

“บ้าน บ้าน :  BAAN BAAN” Reconsidering Dwelling คือแนวคิดหลักกของการจัดงานในครั้งนี้ เพราะ “บ้าน” คือสถาปัตยกรรมพื้นฐานแรก ที่ทุกคนได้เริ่มต้นใช้ชีวิตและอยู่อาศัย เป็นจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดในแต่ละวัน ความเป็นบ้านไม่ได้มีขอบเขตแค่กำแพงที่แบ่งแยกสร้างความปลอดภัย หรือความเป็นส่วนตัว ระหว่างภายในกับภายนอก แต่ความเป็นบ้านต้องประกอบไปด้วยพื้นที่ภายในที่ตอบรับความต้องการ ของผู้อยู่อาศัยแต่ละคน และพื้นที่ที่ช่วยส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ ของสมาชิกในครอบครัว ชิ้นส่วนเล็กๆตั้งแต่กรอบรูป จาน ชาม แจกัน เฟอร์นิเจอร์ ตลอดจน พระพทุธรูป ศาลพระภมิ สามารถเป็นไปได้ทั้งสิ่งที่ตอบสนองความต้องการของการใช้สอย และในขณะเดียวกันก็สามารถเป็นสิ่งที่ช่วยก่อให้เกิดคุณค่าทางจิตใจ ความอบอุ่นในบ้าน พื้นที่ส่วนตัวที่ขยายจากตัวบ้านออกสู่ภายนอก เติบโตจากบ้านหนึ่งหลัง เป็นบ้านหลายๆหลังที่มาอยู่ร่วมกันจนเกิดเป็นชมุชน และเป็นสังคมขนาดเล็ก ความสขุ ความสบายใจ ในการอยู่อาศัยไม่สามารถตัดขาดได้อย่างสิ้นเชิงจากบริบทรอบบ้าน ทุกหน่วยย่อย ล้วนเป็นองค์ประกอบที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดสังคมที่น่าอยู่

4 สิ่ง ที่ทำให้งานสถาปนิก 60 แตกต่างจากปีก่อนๆ

-1-

งานสถาปนิกปีนี้ เราคิด ทบทวน… มากขึ้น

จากเหตุการณ์การสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของคนไทยทุกคน ทำให้เราต้องหยุด คิด และทบทวนสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นอีกครั้ง พระราชดำรัส และ พระบรมราโชวาท คำพ่อสอนของท่าน เป็นดังคำทำนายที่เป็นจริงทั้งในปัจจุบันและอนาคต การสูญเสียที่ยิ่งใหญ่นี้ ย้ำเตือนให้คนไทยต้องกลับมาเริ่มทบทวนใหม่ โดยยึดหลักคำสอนของพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นหลักธรรมในการทำงานและการใช้ชีวิตตลอดไป

-2-

งานสถาปนิกปีนี้ จะไม่มีอะไรสูญเปล่า

หลายครั้งที่หลังจากจบงานแฟร์ วัสดุที่ใช้จัดงานต่างๆนั้นต้องกลายเป็นขยะ และถูกทิ้งไร้ประโยชน์ แต่งานสถาปนิก 60 ครั้งนี้ จะไม่เป็นเช่นนั้น เพราะวัสดุอุปกรณ์เกือบทุกชิ้นที่นำมาจัดงาน ได้ถูกออกแบบมาเพื่อจ่ายแจกและบริจาคไปยังผู้ที่ต้องการ รวมถึงต้นไม้ที่ใช้ในงานก็จะถูกย้ายไปถูกที่สวนสาธารณะในเมือง เพื่อเป็นประโยชน์แก่สังคมต่อไป

-3-

งานสถาปนิกปีนี้ เริ่มต้นจากสิ่งที่เล็กที่สุด เพื่อสิ่งที่ใหญ่ที่สุด

“บ้าน” หน่วยสถาปัตยกรรมที่เล็กที่สุด แต่กลับส่งผลต่อภาพรวมของสังคมและโลกของเราได้มากที่สุด ยิ่งไปว่านั้น งานสถาปนิกปีนี้ยังอยากให้เราดำดึ่งไปให้ลึกกว่านั้น ไปให้ถึงวิธีการคิด จิตสำนึกในการออกแบบ ทั้ง“บ้าน” และ “จิตใจ” จึงเป็นหน่วยเล็กที่สุด แต่เราจะเห็นภาพชัดที่สุดในงานสถาปนิกปีนี้

-4-

งานสถาปนิกปีนี้ เข้าใกล้ “คนทั่วไป” มากที่สุด

นอกจากแนวคิดหลักเรื่อง “บ้าน” ซึ่งเป็นเรื่องที่คนทั่วไปจะเข้าใจและสามารถรับรู้เรื่องต่างๆได้ง่ายแล้ว แนวทางของการออกแบบสื่อและ Visual หลัก ยังเลือกการใช้ “ตัวการ์ตูน” + “สีสันสดใส” เป็นตัวกลางที่สื่อสารข้อความต่างๆได้อย่างน่าสนใจ เพราะการ์ตูนมีนัยยะของการ “ไม่มีวัย ไม่มีเพศ” ทุกคนสามารถรับรูปได้เหมือนๆกัน เป็นการลดระดับและลดช่องว่างระหว่างคนทั่วไปและสถาปนิกให้น้อยลง เพราะสถาปนิกไม่ใช่คนที่มาจากดาวอื่น… เราจะลดอัตตาลง ให้ทุกคนเข้าใจว่า สถาปนิกคือคนที่จะสามารถช่วยเหลือคนในทุกระดับชนชั้นได้

16 ไฮไลท์ไม่ควรพลาดภายในงานสถาปนิก 60

1. นิทรรศการ น้อมรำลึกในหลวงรัชกาลที่ ๙ (In Remembrance of His Majesty the King Bhumibol Adulyadej)

นิทรรศการเฉลมิพระเกียรติเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ที่ท่าน ได้ทรงพระราชกรณียกิจเพื่ออาณาประชาราษฎร์ ภายในได้แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ นิทรรศการ สถาปนิกแห่งแผ่นดิน (Architect of the land)  ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นนิทรรศการที่จัดแสดงเพื่อ น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระองค์ทรงพระราชกรณียกิจโครงการต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาญาณในด้านการ ออกแบบ พัฒนาวางผัง โครงการต่างๆ ซึ่งล้วนมีความสำคัญในการสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่พสกนิกรชาวไทยของพระองค์ท่าน จัดแสดงผ่านกล่องนิทรรศการขนาด 9 x 9 เมตร ผ่านสื่อมัลติมีเดียในรูปแบบใหม่ ในชื่อ “บ้าน” บ้านในพระราชานิยม” ซึ่งเป็น นิทรรศการที่แสดงให้เห็นถึงพระราชานิยมในเรื่องที่อยู่อาศัย หลักคิดทฤษฎีเรื่องความพอเพียง

อีกส่วนคือนิทรรศการ “ภาพของพ่อ” (Image of King Bhumibol Adulyadej) เป็นนิทรรศการที่เปิดโอกาสให้ สถาปนิก นิสิตนักศึกษา และบคุคลทั่วไปร่วมกันส่งผลงานภาพของพ่อ ผ่านภาพวาดและสื่อผสม เพื่อแสดงออกถึงความรัก ความศรัทธา ความระลึกถึง ที่มีต่อพ่อหลวงรัชกาลที่ ๙

————————————-

 

2. นิทรรศการ บ้าน บ้าน จำลอง (BAAN BAAN Mockup)

เป็นนิทรรศการที่แสดงโครงการที่พักอาศัยในรูปแบบต่างๆ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งงานสร้างจริง (Built Project) งานที่ไม่ได้สร้าง (Unbuilt Project) และงานเชิงทดลอง (Experimental Project) ในรูปแบบที่เกี่ยวกับที่พักอาศัย  โดยเปิดโอกาสให้สถาปนิก สมาชิกสมาคมสถาปนิกสยามฯ จากทั่วประเทศ สามารถนำผลงานของตัวเองประเภทที่อยู่อาศัยส่งมาเพื่อร่วมแสดงใน นิทรรศการซึ่งจัดแสดงในรูปแบบของหุ่นจำลอง และรายละเอียดแนวความคิดในการออกแบบ ทั้งนี้ รูปแบบการจัดแสดงผลงาน โดยหุ่นจำลองมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนคนทั่วไปสามารถรับรู้และง่ายต่อการเข้าใจในผลงานสร้างสรรค์ของสถาปนิก

————————————-

3. นิทรรศการ บ้าน บ้าน ตัวอย่าง (BAAN BAAN Case Study)

เป็นคำถามที่เหล่าสถาปนิกมักพบเจออยู่บ่อยๆ “หลังนี้ค่าก่อสร้างเท่าไหร่” “ตารางเมตรละเท่าไหร่” ซึ่งดูเหมือนจะมีหลายปัจจัยที่ทำให้การตอบคำถามเหล่านี้นั้นต่างกันออกไป ซึ่งนิทรรศการส่วนนี้จะมาบอกให้เห็นภาพรวมของการออกแบบที่สัมพันธ์กับขนาด ราคา และเรื่องของวัสดุแบบคร่าวๆ จัดแสดงในรูปแบบ 3มิติ ที่น่าสนใจ ดูง่าย เข้าใจง่าย

พิเศษ…! ผู้ชมงานสามารถสแกน QR code ที่ติดไว้บริเวณผลงาน เพื่อรับแบบบ้านที่ถูกใจกลับบ้านได้ด้วย… ฟรี

————————————-

4. นิทรรศการ บ้าน บ้าน (BAAN BAAN Reconsidering Dwelling)

พูดถึงลักษณะสำคัญของที่อยู่อาศัย ซึ่งแบ่งออก เป็น 3 ส่วน คือ ในบ้าน ตัวบ้าน และนอกบ้าน โดยที่อยู่อาศัยต่างๆที่จะถูกนำมาเป็นกรณีศึกษาจะถูกแบ่งประเภทตามช่วงเวลาของตัวคนและสถาปัตยกรรม แบ่งได้เป็น

1.) Temporary User / Temporary Site ลักษณะการอยู่อาศัยแบบชั่วคราว ทั้งผู้ที่อยู่อาศัยและตัวสถาปัตยกรรม

2.) Temporary User / Permanent Site ลักษณะการอยู่อาศัยแบบวนเปลี่ยนผู้อาศัย แต่ตัวสถาปัตยกรรมนั้นมีความถาวร

3.) Permanent User / Permanent Site ลักษณะการอยู่อาศัยที่พบเห็นได้ทั่วไป ผู้อยู่อาศัยและตัวสถาปัตยกรรมนั้นมีความถาวรทั้งคู่

————————————-

5. นิทรรศการ บ้านไทยบ้านใคร (Traditional and Vernacular Thai House)

บ้านไทยบ้านใคร คือนิทรรศการที่จะทำให้เรากลับมาพิจารณาถึงรูปแบบของบ้านในแต่ละพื้นที่ แต่ละภาค แต่ละสังคมและวัฒนธรรม ทั้งหมดมีส่วนทำให้รูปแบบของบ้านแต่ละหลังหรือแต่ละพื้นที่นั้นต่างกัน นิทรรศการ “บ้านไทยบ้านใคร” จึงเน้น ให้ผ้คูนตระหนักถึง นิยามของ “บ้านใคร” ในมติขิอง “คน” เพราะคนคือมูลฐานของการก่อเกิด “บ้าน” และ “คน” คือต้นทางหนึ่ง ที่สำคัญที่สุด ในการทบทวนมมุมองที่เรามีต่อ “บ้าน” ให้เห็นว่า “บ้านใครๆ”นั้นมีแบบอย่างเช่นใด น่าสนใจอย่างไร และสำหรับ ตัวเราเอง “บ้านเรา” นั้นเพื่อใคร และควรเป็นอย่างไร

————————————-

6. นิทรรศการ บ้าน บ้าน รูปเล่าเรื่อง (BAAN BAAN Photo Essay)

นิทรรศการภาพถ่าย “บ้าน บ้าน รูป เล่า เรื่อง” เป็นพื้นที่ที่เปิดให้นิสิตนักศึกษา สถาปนิก รวมถึงบคุคลทั่วไป ร่วมตั้งคำถามความหมายของ “บ้าน” “ความเป็นบ้าน” และ “การอยู่อาศัย” นำเสนอเรื่องราวของการอยู่อาศัย โดยมี “คน” เป็นโจทย์สำคัญ ผ่านสื่อที่เป็นรูปภาพถ่ายเป็นหลัก

————————————-

7. นิทรรศการ คบหุ่นสร้างบ้าน (BAAN BAAN Technology)

นิทรรศการ คบหุ่นสร้างบ้าน นำเสนอเทคโนโลยีในปัจจุบันที่มีผลต่อการออกแบบและสร้างบ้าน ประกอบด้วยส่วนจัดแสดง 3 ส่วน ได้แก่

1) ซ่อม x สร้าง : เป็นพื้นที่ให้คนทั่วไป เข้ามาเรียนรู้กระบวนการการก่อสร้างและผลิต ในรูปแบบ digital \ Fabrication ซึ่งประกอบด้วย 3D scanner และ 3D printer ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น

2) มนษุย์ x หุ่นยนต์ : เมื่อหุ่นยนต์เริ่มถูกนำมาใช้แทนแรงงานมนุษย์ บทบาทของสถาปนิกและห่นุยนต์ในงานสถาปัตยกรรมจะเป็นอย่างไร?

3) โลก x เสมือน : สถาปัตยกรรมกับเทคโนโลยี Virtual Reality (VR) ผู้เข้าชม สามารถ เลือกเดินเที่ยวงานสถาปัตยกรรมฝีมือคนไทยที่ชื่นชอบ หรือเข้ามาร่วมเล่นเกมส์บ้านผีสิง สัญชาติไทยได้ที่นี่

————————————-

8. นิทรรศการ ARCASIA (ARCASIA Social Housing)

นิทรรศการนี้เป็นความร่วมมือของสมาชิก ARCASIA มีหัวข้อในการจัดแสดงคือ “ที่อยู่อาศัยเพื่อสังคม” (Social Housing)  ซึ่งจะแสดงให้เห็นแนวทางการพัฒนา และออกแบบอย่างสร้างสรรค์ของที่อยู่อาศัยในบริบทวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ในเอเชีย ในทุกมิติความสัมพันธ์

————————————-

9. นิทรรศการนิสิต นักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (Student Exhibition)

เป็นประจำทุกปี กับนิทรรศการแสดงศักยภาพและแนวทางการศึกษาของแต่ละสถาบันการศึกษา ทั้ง 35 สถาบัน โดยผลงานที่ นำมาจัดอาจเป็นผลงานวิทยานิพนธ์ ผลงานนักศกึษาแต่ละชั้นปี หรือผลงานที่ได้รับรางวัลต่างๆของนักศึกษาสถาบันนั้นๆ

————————————-

10. นิทรรศการประกวดแบบเชิงแนวความคิดระดับนานาชาติ (ASA International IDEAS Competition)

การประกวดออกแบบภายใต้หัวข้อ “บ้าน บ้าน / HOME•LY” ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างในแนวความคิดของที่อยู่อาศัยจากทั่วทุกมุมโลก และเข้าใจความหมายของคำว่าที่อยู่ที่แตกต่างกันออกไป

————————————-

11. นิทรรศการรางวัลสถาปัตยกรรมรุ่นใหม่ 2560 “บ้าน” (ASA Emerging Architecture Awards 2017 “House”)

รางวัล ถือเป็นคำชื่นชมอย่างเป็นทางการ ที่เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง ASA Emerging Architecture Awards 2017 ในปีนี้จึงมีกระบวนการคัดเลือกและตัดสินที่เข้มข้นขึ้น จากกรรมการที่เป็นสถาปนิกที่เป็นที่ยอมรับทั้งจากสถาปนิกไทย และสถาปนิกรับเชิญต่างประเทศ โดยนิทรรศการนี้จะแสดงผลงานผู้ที่ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้ายด้วย

————————————-

12. นิทรรศการบทบาทสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์

เป็นนิทรรศการที่แสดงให้เห็นบทบาทของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชปูถัมภ์ ทั้งจากส่วนกลาง และส่วนกรรมาธิการ สถาปนิกภูมิภาค ได้แก่ กรรมาธิการสถาปนิกล้านนา กรรมาธิการสถาปนิกอีสาน และกรรมาธิการสถาปนิกทักษิณ ที่ได้ร่วมกัน แสดงบทบาทและสร้างสรรค์โครงการต่างๆตลอดปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นโครงการเพื่อสาธารณะประโยชน์ และการแสดงบทบาทเป็นที่พึ่งแก่สังคมในการให้ข้อมูล และข้อเท็จจริงทางวิชาชีพสถาปัตยกรรมแก่ภาครัฐและเอกชน

————————————-

13. นิทรรศการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมและภาคีเครือข่าย (ASA Conservation & Network)

เป็นนิทรรศการสำหรับผู้ที่สนใจในด้านการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม โดยมีกรณีศึกษามานำเสนอใน 3 นิทรรศการย่อย

1)  นิทรรศการรางวัลอนุรักษ์ ที่รวบรวมอาคารบ้านเรือนเก่าที่มีคุณค่าทางศิลปะสถาปัตยกรรม

2)  นิทรรศการผลงานการสำรวจรังวัดมรดกสถาปัตยกรรมด้วยวิธี Vernadoc ในแนวคิดบ้านไพร่ + ฟ้า ได้แก่ บ้านไม้ โบราณ ชุมชนป้อมมหากาฬ เรือนร้านค้าชุมชนท่าวัง และพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ซึ่งเป็นผลงานของอาสาสมัครจากทั้ง ประเทศไทยและต่างประเทศ

3)  นิทรรศการภาคีเครือข่าย อาทิ สถาบันสถาปนิกสยาม อิโคโมสไทย ตลอดจนนักวิชาการ และช่างฝีมืออิสระที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์

————————————-

14. นิทรรศการ เออบ้าน เออเบิ้น (URBA(A)N)

นิทรรศการ เออบ้าน เออเบิ้น มีแนวคิดให้ผู้เข้าชมได้รู้สึกมีส่วนร่วมในนิทรรศการ แบ่งเนื้อหาในนิทรรศการเป็น 2 ส่วน ส่วนของ เนื้อหาหลักจะเป็นการออกแบบโดยการใช้กระบวนการมีส่วนร่วม (participatory design framework) เป็นส่วนสำคัญ เพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานของกลุ่มสถาปนิกเพื่อสังคมและเมือง ที่ทำงานโดยการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมเป็นหลัก เนื้อหาส่วนนี้ จะเป็นการให้ข้อมูลพื้นฐานของการทำงานของสถาปนิกชุมชนผ่านทางเครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการทำงาน รวมทั้งการจำลอง การมีส่วนร่วมผ่านจอกราฟฟิค Interactive ส่วนเนื้อหาสนับสนุนจะเป็นการแนะนำโครงการตัวอย่างของกลุ่มสถาปนิกสังคม และเมืองที่กำลังดำเนินการเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์รวมทั้งมีกิจกรรมให้ผู้เข้าชมนิทรรศการ ได้มีส่วนร่วมผ่านโครงการตัวอย่าง

————————————-

15. นิทรรศการชนิ้ส่วนของบ้าน (Dwelling Elements)

ประตู หน้าต่าง กำแพง บันได โต๊ะ เก้าอี้ หรือชิ้นส่วนของบ้าน เป็นองค์ประกอบสถาปัตยกรรมที่ใกล้ชิดกับผู้อยู่อาศัยเป็นอย่างมาก นิทรรศการ “ชิ้นส่วนของบ้าน (Dwelling elements)” ต้องการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของชิ้นส่วนบ้านที่ถูกออกแบบอย่างสัมพันธ์กับผู้อยู่และบริบทอย่างมีนัยสำคัญ ด้วยการจัดแสดงชิ้นส่วนที่มีความเฉพาะในบริบทที่แตกต่างกันออกไป โดยเปิดโอกาสให้นักออกแบบ 12 ทีมได้ทบทวน (Reconsidering) หน้าที่ของชิ้นส่วนเหล่านั้นใหม่อีกครั้งว่า ชิ้นส่วนของบ้านที่ดีจะมี หน้าตาเป็นอย่างไร และสร้างออกมาเป็นชิ้นส่วนของจริงในขนาดจริงสำหรับจัดแสดง นอกจากนี้ผลงานบางส่วนยังถูกแสดงออก มาภายใต้แนวคิดของ Universal Design อีกด้วย

————————————-

16. นิทรรศการบริบทรอบบ้าน (Dwelling Surroundings)

นิทรรศการพูดถึงบริบทที่อยู่รอบๆบ้าน เริ่มต้นจากภายในรั้วบ้านตลอดจนพื้นที่สวนนอกบ้าน พื้นที่ชุมชนรอบบ้าน ซึ่งมี องค์ประกอบและความสัมพันธ์เชิงสังคมของการอาศัยในชีวิตประจำวันที่แสดงออกถึงความเป็นสาธารณะมากขึ้น บริเวณพื้นที่ นิทรรศการแสดงถึงความเป็นไปได้ในการออกแบบพื้นที่บริบทรอบบ้าน ประกอบไปด้วย พื้นสวน พื้นที่ตลาด และพื้นที่กิจกรรมสาธารณะ เช่น การจัดเวิร์คช็อป ลานกิจกรรมและเปลี่ยนความคิด เป็นต้น

————————————-

งานสถาปนิก 60 ปีนี้จะจัดขึ้นในวันที่ 2 – 7 พ.ค. 2560 นี้ ที่ชาเลนเจอร์ฮอลล์ เมืองทองธานี ใครว่าง แนะนำว่างานปีนี้ แตกต่างจริงๆ ไม่ควรพลาดครับ

ขอมูลเพิ่มเติม https://www.facebook.com/ASAArchitectExposition/

Discover more from Design Makes A Better Life.

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading