รู้จัก “เข็มเหล็ก“
เข็มเหล็ก คือฐานรากเสาเข็มสำเร็จรูปชนิดสั้น เป็นเทคโนโลยีจากประเทศเยอรมนี แต่ผลิตในประเทศไทย ภายใต้การออกแบบและลิขสิทธิ์โดย บริษัท เข็มเหล็ก จำกัด แต่เพียงผู้เดียว โดยเข็มเหล็ก ก็คือฐานรากชนิดสั้น และใช้หลักการเดียวกับฐานรากแผ่ กล่าวคือ เมื่อเกิดการทรุดตัวของดินขึ้น ตัวโครงสร้างบนดินก็จะลงไปพร้อมกับดินรอบข้างตัวอาคาร จึงทำให้ไม่เกิดโพรงดังเช่นที่เกิดในเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วไป เนื่องจากเสาเข็มตอกหรือเจาะในปัจจุบัน เรานิยมตอกไปจนถึงชั้นดินดาล และแน่นอนว่าบ้านจะไม่เกิดการทรุดตัวเพื่อโครงสร้างตั้งอยู่ชั้นหินแข็ง แต่ดินรอบข้างจะยังคงสามารถทรุดตัวได้ ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เกิดโพรงใต้บ้าน
ความต่างอีกข้อคือหลักการทำงานของฐานรากเข็มเหล็ก โดยฐานรากเข็มเหล็กจะใช้แรงยึดกับผิวหน้าดินในการทำให้อาคารแข็งแรง โดยใช้รูปทรงที่เป็นเกลียวเหมือนสกรูที่มีฟิน ในการเพิ่มการรับน้ำหนักได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังทำให้ดินโดยรอบแน่นขึ้น เนื่องมาจากหลักการของสกรู
อีกอย่างที่ลืมไม่ได้เลยคือเข็มเหล็กจะไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อหน้าดิน เพราะว่าเข็มเหล็กจะมี Plate (ใช้แทนฟุตติ้งในงานคอนกรีต) ในตัว ซึ่งต่างจากตัวของเสาเข็มตอกหรือเจาะที่ต้องเปิดหน้าดินเพื่อเทฟุตติ้งทุกครั้ง
เข็มเหล็ก เหมาะกับงานประเภทใด
เนื่องจากเข็มเหล็กเป็นฐานรากที่ใช้หน้าดินในการแบกรับน้ำหนัก โดยจะอาศัยแรงเสียดทานในการรับน้ำหนักของดินที่มาเกาะรอบตัวเสา ดังนั้นเสาเข็มชนิดสั้นนี้ จึงเหมาะและสะดวกสำหรับการก่อสร้างจำพวกโครงสร้างเบา เช่น งานต่อเติมบ้าน โรงจอดรถ ห้องเก็บของ จนไปถึงบ้านไม่เกิด2ชั้นเนื่องจากเข็มเหล็กเป็นฐานรากที่ใช้หน้าดินในการแบกรับน้ำหนัก โดยจะอาศัยแรงเสียดทานในการรับน้ำหนักของดินที่มาเกาะรอบตัวเสา ดังนั้นเสาเข็มชนิดสั้นนี้ จึงเหมาะและสะดวกสำหรับการก่อสร้างจำพวกโครงสร้างเบา เช่น งานต่อเติมบ้าน โรงจอดรถ ห้องเก็บของ จนไปถึงบ้านไม่เกิน 2 ชั้น
พื้นที่แคบแค่ไหน งานเข็มเหล็กจึงจะไม่สามารถทำงานได้
ส่วนพื้นที่ในการติดตั้งเข็มเหล็กนั้น หากทีมติดตั้งสามารถเข้าพื้นที่ได้ เข็มเหล็กก็สามารถติดตั้งได้ เนื่องจากเครื่องมือในการติดตั้ง (Hand Drive) มีขนาดเพียง 1 คนถือได้ เข็มเหล็กจึงสามารถเข้าติดตั้งได้ทุกพื้นที่ แม้ในพื้นที่แคบ
ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับเสาเข็มคอนกรีตที่ใช้การตอก
เวลา : เข็มเหล็กจะใช้เวลาน้อยกว่าเข็มตอกหรือเจาะประมาณ 5 เท่า เนื่องจากฐานรากเข็มเหล็กใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที/ต้น ในขณะที่เสาเข็มคอนกรีตทั่วไปพอตอกเสร็จแล้ว ยังต้องเปิดหน้าดินเพื่อทำฟุตติ้ง และยังต้องรอเวลาการเซ็ทตัวของคอนกรีตด้วย
ความหลากหลาย : เนื่องจากตัวเข็มเหล็กสามารถที่จะนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยการสกรูออก จึงสามารถนำไปประยุกต์กับหลายๆงานก่อสร้าง อาทิเช่น งานชั่วคร่าว เช่น พวกนั่งร้านหรือกำแพงกันดิน
กำลัง : เข็มเหล็กมีความยาวตั้งแต่ 60 เซนติเมตร จนถึง 350 เซนติเมตร แต่สามารถรับน้ำหนักได้มากถึง 20 ตันต่อต้น เนื่องจาก ตัว fin ช่วยในการยึดเกาะดิน ในขณะที่หมุนลงไปในดิน ทำให้ดินเบียดกัน และเข้าไปยึดระหว่าง fin ช่วยเพิ่มในเรื่องของการรับน้ำหนัก
ความทนทาน : เข็มเหล็กทำมาจากเหล็กกล้า (SS400) โดยการกระบวนการชุบเคลือบสังกะสี (Hot Dip Galvanized) ที่อุณหภูมิ 450 c ซึ่งตัวสังกะสีเอง จะทำตัวเป็นผู้เสียสละที่ปกป้องเนื้อเหล็ก ซึ่งช่วยเพิ่มอายุการใช้งานให้ยาวนานมากกว่า 50 ปี
ความสะดวก : เข็มเหล็กสามารถเข้าไปติดตั้งได้ในพื้นที่แคบ และใช้คนน้อยในการติดตั้ง
ผลกระทบต่อพื้นที่รอบข้าง : การติดตั้งเข็มเหล็ก จะไม่เกิดแรงสั่นสะเทือน และเงียบ ซึ่งจะไม่รบกวนเพื่อนบ้าน เพราะไม่ต้องตอกเสาเข็ม แต่ใช้วิธีหมุนเสาเข็มลงไปในดินแทน
สภาพดินมีผลต่อการเลือกใช้งานเข็มเหล็กหรือไม่ อย่างไร
ในกรณีที่เป็นดินถมใหม่ไม่เกิน 3 ปี เราจะมีการทดสอบ KPT (Kunzelstab Penetration test) ซึ่งเป็นวิธีการหยั่งทดสอบชั้นดินในสนาม ผลของการทดสอบสามารถใช้ประเมินค่ากำลัง ความหนาแน่น ความหนาของชั้นดินได้ ซึ่งถ้าเกิดสภาพดินอ่อน เราก็สามารถที่จะปรับไปใช้เข็มในรุ่นที่ใหญ่กว่าหรือยาวกว่า หรือแม้กระทั่งเพิ่มจำนวนเข็มเหล็กได้ ซึ่งทางเรามีวิศวกรคอยดูแลในเรื่องนี้ แต่โดยปกติแล้วดินชั้นแรกๆจะเป็นชั้นที่มีความแข็งแรงอยู่แล้วซึ่งความลึกจะอยู่ที่ 1-3 เมตร และหลังจากนั้นจะเป็นดินเลนซึ่งดินจะอ่อนมากๆ นั่นเป็นเหตุผลที่ทางบริษัทเราใช้เข็มเหล็กที่มีความยาวตั้งแต่ 60 ซม. จนถึง 3.5 เมตร
โดยหากสนใจเข็มเหล็ก เบื้องต้นจะมีทีมงานทางขอข้อมูลเบื้องต้น เช่น ใช้ฐานรากเข็มเหล็กเพื่อรองรับโครงสร้างอะไร พื้นที่เท่าไหร่ ใช้วัสดุอะไร ดินเดิมหรือดินถมกี่ปี เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้กับฝ่ายคำนวณและออกแบบ เพื่อทำการเลือกรุ่นเข็มและทำราคาเสนอ และดำเนินการก่อสร้างตามขั้นตอนของบริษัทต่อไป
ติดต่อเข็มเหล็ก
Call 020263140
kemrex@kemrex.com
http://www.kemrex.com
http://www.facebook.com/Kemrexfanpage