มีคนเคยกล่าวไว้ว่า การออกแบบสถาปัตยกรรมคือ “การแก้ปัญหา” และการแก้ปัญหาที่ดี ย่อมเกิดจากการมองปัญหาได้อย่างตรงจุดและแม่นยำด้วยเช่นกัน… หลายครั้งเรายังพบว่า “การตีความ” ในการออกแบบ ก็เป็นจุดเริ่มต้นในการวางแนวทางของทุกสิ่ง เพราะหากเราตีความว่าสิ่งใดคือปัญหา หรือสิ่งใดที่ควรให้คุณค่าผิดไป คลาดเคลื่อนไป เราก็มักจะเกิดการหลงทางตั้งแต่ต้นของการออกแบบ
เราได้รวบรวมอาคารที่เคยผ่านสายตาใน Dsign Something มาแล้ว และเราค่อนข้างแนะนำ
ว่าอาคารเหล่านี้ มีวิธีการคิดและตีความความหมาย ปัญหา และความต้องการของเจ้าของบ้านได้อย่างน่าสนใจ จะมีอาคารใดบ้างลองไปชมกัน
1 บ้านขนาดเล็กที่เลือกเก็บต้นไม้สูงต้นเดียวของบ้านเอาไว้ และเลือกที่จะออกแบบตัวบ้านให้โค้งเพื่อหลบต้นไม้ได้อย่างนอบน้อม ด้วยความคิดที่ว่า ต้นไม้ต้นนี้เป็นสิ่งที่มาก่อน เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในที่ดิน การออกแบบที่เคารพสิ่งที่มีอยู่เดิม เป็นสิ่งที่เจ้าของบ้านและสถาปนิกเห็นตรงกัน
เจ้าของ – ปิยะบุตร ซุ่นทรัพย์, สุนัดดา รัตนนัย
ออกแบบ – กาจวิศว์ ริเริ่มวนิชย์ จาก Physicalist
อ่านบทความเต็มๆได้ที่ http://bit.ly/2OCsn4W
2 อาคารที่พักสำหรับผู้มาปฏิบัติธรรม ที่มองว่าตัวอาคารควรแสดงตัวตนให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และพยายามดึงธรรมชาติและความสงบนิ่งของต้นไม้สายลมแสงแดดโดยรอบ เข้ามาภายในพื้นที่อาคารมากที่สุด โดยที่ยังต้องใช้งานได้สะดวกสบายอยู่นั่นเอง
อาคารที่พักสำหรับผู้ที่มาปฏิบัติธรรม วัดป่าวชิรบรรพต จังหวัดชลบุรี
ออกแบบ – สุริยะ อัมพันศิริรัตน์ จาก Walllasia
อ่านบทความเต็มๆได้ที่ http://bit.ly/2KpxVSK
3 บ้านรีโนเวทที่มองข้ามข้อจำกัดของทาวน์เฮ้าส์แบบเดิมๆ แถมยังคิดว่านี่คือสิ่งที่ท้าทายที่กระตุ้นต่อมการแก้ปัญหาของผู้ที่เป็นทั้งผู้ออกแบบและเจ้าของบ้านได้เป็นอย่างดี
เจ้าของ – ณฤชา, พิชญ์สินียา คูวัฒนาภาศิริ
ออกแบบ – ณฤชา คูวัฒนาภาศิริ จาก Ilikedesignstudio
อ่านบทความเต็มๆได้ที่ http://bit.ly/2puOTWC
4 บ้านขนาดกลางที่ตั้งอยู่บนพื้นที่เปิดโล่งขนาดใหญ่ แต่กลับมีการตีความเรื่องพื้นที่และความเป็นส่วนตัวได้อย่างน่าสนใจ โดยทั้งหมดได้อิงมาจากพฤิตกรรมและความเคยชินของเจ้าของบ้าน ที่เคยอาศัยอยู่ในบ้านแบบตึกแถวมาก่อน สถาปนิกเลือกที่จะไม่ทำบ้านที่เปิดโล่งเกินไป และตีความเรื่องความเป็นส่วนตัวในมุมมองที่เราคาดไม่ถึง
เจ้าของ – ชำนาญ ชัชวาลยางกูร
ออกแบบ – ธีรชัย ลี้สุรพลานนท์
อ่านบทความเต็มๆได้ที่ http://bit.ly/2Ictfdq
5 บ้านขนาดเล็กอีกหลังที่เล่นกับเรื่องความรู้สึกได้อย่างแปลกใหม่ โดยสถาปนิกสร้างบ้านหลังนี้ให้ครอบครัวในพื้นที่สวนยางพาราที่รายล้อมไปด้วยต้นยางพารา สถาปนิกตีความเรื่องเส้น เรื่องกริด และเรื่องของช่วงเสาให้สัมพันธ์กับระยะของต้นยางพาราได้น่าสนใจ เกิดพื้นที่ที่เชื่อมต่อทางสายตาและความรู้สึก
เจ้าของ,ออกแบบ – รักษ์ชัย นรธีร์ดิลก
อ่านบทความเต็มๆได้ที่ http://bit.ly/2HroXD2
6 โรงแรมขนาดย่อมในเมืองฉะเชิงเทรา ที่ตีความเรื่องวัสดุอย่างเหล็กสนิมในมุมที่หลายคนไม่เคยเห็น กับการออกแบบตัวอาคารที่แคบยาว และสามารถตอบโจทย์เรื่องฟังก์ขันและความงามได้
OUI J’AIME
เจ้าของ – ตั้ง เซ่ง จั้ว
ออกแบบ – สุริยะ อัมพันศิริรัตน์ และ ขยาย นุ้ยจันทร์ จาก Walllasia + Kyai&Suriya Architecture
ตกแต่งภายใน – วิชชาธร ประเสริฐสุข จาก Storage Studio
อ่านบทความเต็มๆได้ที่ http://bit.ly/2tPCSNG
7 บ้านพักในชนบทซึ่งมีหน้าตาโมเดิร์นแต่แฝงด้วยกลิ่นอายของความลูกทุ่ง เป็นการตีความสถาปัตยกรรมแบบบ้านๆ ออกมาให้ดูเข้ากับยุคสมัยมากขึ้น ลูกทุ่งใช่ว่าจะเท่ไม่ได้ บ้านๆ ใช่ว่าจะดูดีไม่ได้ ทั้งหลังคา ชานบ้าน ถูกแปลงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้บ้านหลังนี้ดูแตกต่าง
ออกแบบ – ทวิชากร เหล่าไชยยงค์
จาก S PACE STUDIO
อ่านบทความเต็มๆได้ที่ http://bit.ly/2LmYELP
8 โฮสเทลที่เกิดจากการรีโนเวทอาคารเรือนไทยไม้เก่า ให้ตอบรับกับความต้องการและไลฟ์สไตล์ของคนได้อย่างน่าสนใจ โดยผู้ออกแบบนั้นมองว่า ภาพลักษณ์ของเรือนไทยนั้นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าควรเก็บไว้ แต่ต้องการการออกแบบและปรับเปลี่ยนรูปแบบบางอย่างเพื่อให้เข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น เข้าใจง่ายขึ้น เป็นมิตรมากขึ้นนั่นเอง
บุษบา อยุธยา
ออกแบบ – Tidtang Studio
อ่านบทความเต็มๆได้ที่ http://bit.ly/2HB0I19