OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา กับโรงเรียนต้นแบบ ณ อำเภอฝาง เชียงใหม่

“สถาปัตยกรรมช่วยชี้นำให้ความรู้สึกนึกคิดของคนให้เปลี่ยนแปลงไปได้มากน้อยเพียงใด” คือสิ่งที่สถาปนิกทุกคนต้องการหาคำตอบ เช่นเดียวกับโครงการโรงเรียนต้นแบบ ณ อำเภอฝาง เชียงใหม่ แห่งนี้ ที่เป็นผลงานการศึกษาและออกแบบของ ปพิชญา ลิ้มทะวงศ์ จากรั้วสถาปัตย์ เชียงใหม่ ที่อยากเห็นความเท่าเทียมเกิดขึ้นในสังคมโดยเฉพาะแวดวงการศึกษา เพื่อความยั่งยืนผ่านการออกแบบของเธอ

โรงเรียนต้นแบบเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา อำเภอฝาง
Fang’s Education Equality Best Practice School

โครงการปรับปรุงโรงเรียนรัฐบาล เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของประเทศไทย โดยใช้แนวคิดของการเรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learning)

จากสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยกล่าวถึงความแตกต่างทางการศึกษาระหว่างเด็กที่อาศัยในเขตพื้นที่ชนบท และเด็กที่อาศัยในเขตพื้นที่เมือง ซึ่งพบว่า ความห่างไกลของภูมิลำเนาส่งผลทำให้เกิดความขาดแคลนปัจจัยทางการศึกษา จึงเป็นสาเหตุให้เกิดค่านิยมการย้ายถิ่นฐานเข้ามาเรียนในเมืองที่สูงขึ้น โดยเฉพาะระดับชั้นมัธยมศึกษา และทำให้การเกษตรกรรมที่อยู่ในพื้นที่ชนบทได้ถูกลดความสำคัญลง ทั้งที่รายได้หลักของประเทศไทยส่วนใหญ่มาจากภาคการเกษตร ส่งผลให้ผู้ที่ประกอบอาชีพดังกล่าวลดน้อยลง รายได้ที่ได้รับก็น้อยลงด้วยเช่นกัน ซึ่งปัญหาทางการเงินก็ได้ส่งผลต่อปัจจัยทางการศึกษาอีก เป็นวัฏจักรต่อเนื่องกันไป

คุณภาพของการศึกษาวัดจากกอะไร? จริงหรือที่เด็กในเขตพื้นที่เมืองเท่านั้นที่จะได้รับการศึกษาที่ดี? ผู้ศึกษาจึงได้ทำการวิจัยเพื่อตอบสมมุติฐานว่า ความเท่าเทียมทางการศึกษาสามารถเกิดขึ้นได้ หากรู้จักการสร้างคุณค่าของพื้นที่นั้นๆ รูปแบบการศึกษาจึงควรอ้างอิงมาจากบริบท และศักยภาพเชิงพื้นที่เช่นกัน

ผู้ศึกษาได้เลือกพื้นที่ตั้งโครงการที่ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่เนื่องจากมีรายได้ต่อครัวเรือนน้อยมากที่สุดในประเทศ อีกทั้งประชากรส่วนใหญ่เป็นคนกลุ่มน้อยมากที่สุด ทำให้มีความเป็นได้ในการเกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษามากที่สุดด้วยเช่นกัน ผู้ศึกษาจึงสนใจแนวคิดการพัฒนาโรงเรียนภาครัฐในสังกัด สพฐ. ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อลดช่องว่างทางความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ภายใต้แนวคิดการพัฒนาการศึกษารูปแบบใหม่ในศตวรรษที่ 21 จึงเกิดเป็นโครงการ “โรงเรียนต้นแบบเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา อำเภอฝาง” ขึ้น

โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learning) ไปปรับใช้กับหลักสูตรการเรียนการสอน และสภาพแวดล้อมที่เชื่อมโยง กับบริบท วิถีชีวิตของพื้นที่ศึกษา และสภาพเศรษฐกิจ สังคมและภูมิศาสตร์ของประเทศไทย จนได้เป็นแนวคิดการออกแบบ 3 รูปแบบ ได้แก่ พื้นที่แห่งการรับรู้ (sense of place), พื้นที่เพื่อการยืดหยุ่น (flexible space) และพื้นที่ร่วมสาธารณะ (public gathering space) โดยเลือกเข้าไปปรับปรุง และเพิ่มส่วนใหม่ ๆ ให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ จากโรงเรียนของภาครัฐที่มีที่ตั้งที่สอดคล้องกับแนวทาง มาใช้เป็นต้นแบบการพัฒนาโครงการต่อไป

การออกแบบตามแนวคิดของ lifelong learning อาศัยบริบท และศักยภาพเชิงพื้นที่ มาออกแบบร่วมกับแนวคิดการสร้างพื้นที่ 3 รูปแบบ โดยวางสัดส่วนพื้นที่ตามพัฒนาการของเด็กแต่ละวัยในสัดส่วนที่เหมาะสม ภายใต้รูปแบบการเรียนและลักษณะการออกแบบที่ว่างตามการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นจริง โรงเรียนจึงให้ความสำคัญกับการออกแบบพื้นที่เชิงสังคมและพื้นที่ทำกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นภายในโรงเรียน เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากคนในชุมชนและสิ่งแวดล้อมภายนอกโรงเรียน รวมถึงการเรียนแบบบูรณาการที่ฝึกฝนให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะและจินตนาการรอบด้าน แนวคิดดังกล่าวส่งผลต่อการสร้างคุณค่า ทั้งในระดับของผู้เรียน เจ้าหน้าที่ ครู ชุมชน และผู้ปกครอง ที่เกิดการเชื่อมโยงและส่งผ่านซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่อง

ชื่อ-นามสกุล : ปพิชญา ลิ้มทะวงศ์ Papitchaya Limthawong

E-MAIL :  papitchaya.toktak@gmail.com

ชื่องาน : โรงเรียนต้นแบบเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา อำเภอฝาง

Fang’s Education Equality Best Practice School

Discover more from Design Makes A Better Life.

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading