OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

ขับเคลื่อนความสุขไปกับรถไฟในญี่ปุ่น การเดินทางที่มากกว่าการเดินทาง

ขณะที่ประเทศไทยกำลังวางพิจารณาแผนการลงทุนที่สำคัญ เน้นพัฒนาระบบขนส่งมวลมหาชนและเคลื่อนย้ายสินค้ากับรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ – เชียงใหม่ เพื่อประหยัดเวลาและลดต้นทุนราคาน้ำมันที่ผันผวน แต่ก็ยังคงต้องอยู่ในขั้นตอนการถกเถียงถึงความเหมาะสมกันต่อไป

ถัดออกไปยังประเทศที่ใช้เวลาในการบินไปประมาณ 6 ชั่วโมง ดินแดนเจ้าของรถไฟความเร็วสูงอย่างชินคันเซ็น เส้นทางบริการรถไฟที่ให้มีบริการประชาชนได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ผู้อ่านหลายท่านน่าจะนึกออกกันบ้างแล้ว คำตอบก็คือประเทศญี่ปุ่นนั่นเองครับ ครั้งนี้เรากำลังจะพาทุกคนมาสำรวจระบบการขนส่งเจ้าม้าเหล็กของญี่ปุ่นที่สามารถพาความเจริญไปสู่พื้นที่ส่วนต่างๆ ได้สำเร็จ ตั้งแต่ระดับภูมิภาคไปจนถึงระดับชุมชนเลยทีเดียว1(ภาพจาก http://www.spoon-tamago.com/2013/08/11/trains-trains-trains/)2

(ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Tsubame_(train))

เส้นทางรถไฟของประเทศญี่ปุ่นมีมากมายหลายหลายสาย แต่ละเส้นก็จะมีลักษณะเส้นทางแตกต่างกันออกไป ขับเคลื่อนไปด้วยรถไฟหลายรุ่นๆ แต่มีอยู่สายหนึ่ง ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นรถไฟสายความสุขของทุกคน คือ รถไฟความเร็วสูงที่เกาะคิวชู เกาะคิวชูเป็นหนึ่งในพื้นที่ของบริษัทรถไฟ คิวชู เรลเวย์ คอมปานี (เจอาร์ คิวชู) นำเสนอประสบการณ์การเดินทางที่นอกเหนือจากการขนส่งมวลชนทั่วไป แต่ยังทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความมั่งคั่งให้กับคนในท้องถิ่น โดยเลือกนักออกแบบ เอย์จิ มิโตโอกะ มาเติมเต็ม ด้วยการบริการที่ไม่ไช่แค่การคมนาคม เป็นการสร้างประสบการณ์การนั่งรถไฟให้เป็นส่วนหนึ่งของความสุขและความสนุกของการเดินทาง รถไฟสายความสุขนี้จึงถือกำเนิดขึ้นจาก “ความคิดสร้างสรรค์” นั่นเอง3

(ภาพจาก http://www.japan-guide.com/e/e2018_kyushu.html)

(รถไฟความเร็วสูง สายคิวชู หรือ Kyushu Shinkansen เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบเมื่อเดือน มีนาคม 2011 โดยให้บริการในเส้นทาง สถานีฮากาตะ เมืองฟุกุโอกะ ถึงสถานี คาโกชิมะ โดยตลอดเส้นทางใช้เวลาเดินรถ 2 ชั่วโมง มีสถานีที่จอดรับส่ง 11 สถานี ความเร็วสูงสุดที่ใช้ 260 กิโลเมตร/ชั่วโมง)4

(ภาพจาก http://www.japan-guide.com/e/e2018_kyushu.html)

เอย์จิ มิโตโอกะ นักออกแบบอิสระผู้ก่อตั้งสตูดิโอออกแบบ ดง ดีไซน์ แอสโซซิเอทส์ ร่วมงานกับเจอาร์คิวชูมานานกว่า 25 ปี การออกแบบของมิโตโอกะได้สร้างสรรค์การรถไฟคิวชูให้เปี่ยมไปด้วยเอกลักษณ์และประสิทธิภาพ  ให้สามารถกลับมาสร้างผลกำไรอีกครั้งจากภาวะขาดทุนของเจอาร์คิวชูในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ในปี 2530 ด้วยการทำงานออกแบบแนวคิดสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการของ เจอาร์ คิวชู ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบรถไฟขบวนต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในขบวนตู้โดยสาร เครื่องแบบพนักงาน สื่อกราฟิกประชาสัมพันธ์ และอาคารสถานีรถไฟ ที่เราจะขอยกตัวอย่างงานออกแบบที่น่าสนใจของเค้ามาให้ผู้อ่านชมกันครับ

56

(ภาพจาก http://www.kagoshima-kankou.com/for/whatsnew/2011/04/  และ  http://www.marumura.com/tale/?id=1626)

รถไฟชมวิวขบวนพิเศษสาย Ibusuki no Tamatebako

เป็นการนำเอารถไฟเก่ามาตกแต่งใหม่ โดยหยิบเอาตำนานของ อุราชิมะ ทาโร่ มาเป็นจุดขายของรถไฟสายท่องเที่ยวสายนี้  ตำนานโดยย่อคือ อุราชิมะ ทาโร่ เป็นเด็กหนุ่มชาวประมงที่มีจิตใจดี วันนึงเค้าได้ไปช่วยเต่าน้อยที่นอนหงายอยู่อยู่บนหาดทราย ให้พ้นจากเด็กเกเรที่กำลังแกล้งเต่าน้อยอยู่ ต่อมาเต้าตัวนั้นจึงขอตอบความมีน้ำใจด้วยการชวนอุราชิมะ ลงไปยังวังมังกรใต้น้ำ เค้าหลงความสวยงาม ช้ชีวิตอย่างมีความสุขอยู่ที่นั้นนาน –ปี ก่อนจะคิดกลับขึ้นฝั่ง พร้อมได้กล่องของขวัญที่กำชับมาว่าห้ามเปิดเด็ดขาด ก่อนจะขึ้นมาที่ฝั่งแล้วรู้ความจริงว่าตนเองหายไปจากโลกมนุษย์เป็นเวลา 300 ปีแล้ว ด้วยความเสียใจจึงเผลอเปิดกล่องของขวัญทำให้ตนเองชราลงในทันใด เพราะใบนั้นคือกล่องที่เก็บอายุของอุระชิมะ ทาโร่เอาไว้นั่นเอง

รถไฟถูกทาเป็น 2 สีครึ่งคัน สีดำหมายถึงอุราชิมะ ทาโร่ ตอนเป็นหนุ่มผมดำ ส่วนสีขาวหมายถึงอุราชิมะ ทาโร่ เมื่อเปิดกล่องของขวัญออกแล้วต้องกลายเป็นคนแก่ผมหงอกในทันที  และเมื่อลงจากรถจะมีเอฟเฟคควันพ่นออกมาตรงประตูรถไฟ เพื่อให้เหมือนกับตอนที่อุราชิมะ ทาโร่เปิดกล่องของขวัญออกมา

8 7

(ภาพจาก http://www.kagoshima-kankou.com/for/whatsnew/2011/04/)

รถไฟชมวิว Ibusuki no Tamatebako ขบวนพิเศษนี้  ภายในตกแต่งด้วยไม้สนซึ่งเป็นวัสดุท้องถิ่น มีที่นั่งที่หน้าเข้าหน้าต่างเพื่อชมวิวได้อย่างเต็มตา เมื่อขณะที่เริ่มเดินทางจะมีการเล่านิทานตำนานอุราชิมะ ทาโร่ ประกอบไปด้วย  รถสามารถบรรจุจำนวนคนได้ 60 ที่นั่ง วิ่งตามเส้นทาง 3 เที่ยวต่อวัน จาก Kagoshima Chuo Station ถึง Ibusuki Station หากท่านผู้อ่านสนใจจำเป็นต้องสั่งจองที่นั่งกันนะครับ

รถไฟชมวิวขบวนพิเศษสาย Aso Boy9

(ภาพจาก http://o2travel.pixnet.net/blog/post/172191282-%5B%E4%B9%9D%E5%B7%9E%E8%A7%80%E5%85%89%E5%88%97%E8%BB%8A%5D-%E5%B1%B1%E5%B2%B3%E9%90%B5%E9%81%93%EF%BC%8E%E9%98%BF%E8%98%87boy)10

(ภาพจาก http://wed0627.pixnet.net/blog/post/241417706-%E6%97%A5%E6%9C%AC%E4%B9%9D%E5%B7%9E%E8%A1%8Cday2—aso-boy-%E8%A7%80%E5%85%89%E5%88%97%E8%BB%8A%E5%8F%8A%E9%98%BF%E8%98%87%E7%81%AB%E5%B1%B1)

รถไฟขบวนนี้ตกแต่งลวดลายรูปน้องหมาที่ชื่อ “คุโระ” (Kuro) ภายในและภายนอก  ตั้งใจให้เป็นรถไฟสำหรับครอบครัว ใช้เส้นทางจากสถานีคุมะโมะโตะ (Kumamoto) ไปถึงสถานีอะโซะ (Aso) รวมเวลาเดินทางประมาณ 1ชั่วโมงครึ่ง เมื่อมาถึงรถไฟขบวนนี้สิ่งที่สังเกตได้ทันทีคือโบกี้หน้าสุดเราจะได้ชมวิวทิวทัศน์ที่เปิดโล่ง  ไม่มีคนขับรถไฟอยู่หน้าขบวนเพราะห้องของคนขับรถไฟอยู่ที่ชั้น 2  ทำให้ด้านหน้าขบวนเปิดโล่งกว้างเพื่อให้ผู้โดยสารนั่งชมวิวได้อย่างเต็มที่  12

11

(ภาพจาก http://www.malidebi.com/4059.html)

ส่วนขบวนโบกี้ต่อมาที่อยากให้ทุกคนได้ไปสัมผัสคงต้องเป็น “โบกี้ครอบครัว” โบกี้พิเศษอี้บุหนังสีขาวนุ่มสบายออกแบบพิเศษสำหรับเด็กและผู้ปกครองได้นั่งด้วยกัน ที่นั่งเด็กอยู่ติดริมหน้าต่างเพื่อให้เด็กๆได้ชมวิวสองข้างทางอย่างสะดวก  ภายในยังมีโซนของเล่น หนังสือนิทาน บ่อลูกบอลไม้ไซส์ยักษ์ของเด็กๆ และมีพี่พนักงานคอยดูแลอยู่ตลอดเวลา ทั้งเล่านิทาน เล่นเกม หรือทำกิจกรรมต่างๆ ผู้ปกครองสามารถฝากเด็กๆ ไว้ที่โซนนี้ได้เลยครับ  ภายในรถไฟสายนี้ยังประดับตกแต่งด้วยกรอบรูปเจ้าคุโระในท่าทางน่ารักๆแอบอยู่ในหลายจุดทั่วทั้งขบวน ที่จะทำให้คุณเพลิดเพลินกับการเดินถ่ายรูปเก็บเป็นที่ระลึกตามมุมจนนั่งไม่ติดเลยทีเดียว

ก่อนลงสถานีปลายทางจะมีของแถมแจกโปสการ์ดให้ประทับตราเจ้าคุโระ กลับบ้านเป็นของที่ระลึกฟรีๆ อีกด้วย แต่ถ้าต้องการของฝากที่เป็นลายน้องหมา ก็สามารถชอปปิ้งกันได้ที่มุมของที่ระลึกบนรถไฟ มีทั้ง เข็มกลัด สติ๊กเกอร์ ผ้าเช็ดหน้า โมเดลรถไฟ หรือจะเป็นอาหารอย่างข้าวกล่องก็มีให้ได้เลือกซื้อกันครับ ฯลฯ

13 14

(ภาพจาก http://www.kawaiikakkoiisugoi.com/2013/10/18/5-unique-trains-for-a-fun-ride/  และ  http://www.catwalktotravel.com/2014/07/)

สิ่งสำคัญของการสร้าง “รถไฟสายความสุข” ครั้งนี้คงไม่ใช่แค่เรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่ แต่เป็นการนำเอาทรัพย์สินในท้องถิ่นที่เรามีอยู่แล้ว ตำนานเรื่องเล่า วัฒนธรรม วัตถุดิบตามธรรมชาติเหล่านั้นมาผนวกกับวิสัยทัศน์ทางธุรกิจผ่านกระบวนการออกแบบอย่างสร่างสรรค์ มาใช้ในหลายๆมิติของการให้บริการรถไฟ สร้างโอกาสและแรงบันดาลใจใหม่ๆในท้องถิ่นของตัวเอง เพราะแค่ทำให้รถไฟมันวิ่งได้นั้นคงยังไม่พอ ต้องทำให้มีคุณค่าในตัวมันเองด้วย

หากชีวิตคือการเดินทางระยะไกล การเดินทางด้วยพาหนะที่ดีย่อมมีส่วนทำให้การเดินทางของเรามีความสุขไปด้วยเช่นกัน