เราทุกคนต้องเคยผ่านตากับเหล่าขบวนการเรนเจอร์ 5 สี เหล่าฮีโร่ที่ออกจัดการเหล่าร้าย ช่วยกันผดุงความยุติธรรมที่ออกอากาศทางทีวี หรือเหล่าตัวการ์ตูนผ่านลายหลากสไตล์ผ่านลายเส้นสุดเอกลักษณ์ที่ตีพิมพ์ลงในหน้ากระดาษขนาดพกพา ให้เราได้คิดฝันอยากมีความสามารถพิเศษอย่างตัวละครในเรื่องเหล่านั้นมาแล้ว เรากำลังพูดถึง การ์ตูนจากประเทศญี่ปุ่น หรือ Manga (อ่านว่า มังงะ) ที่ไม่ใช่แค่ได้รับความนิยมในบ้านเรานะครับ แต่ขยายอิทธิพลไปทั่วโลก โดยเฉพาะในญี่ปุ่นเองที่การ์ตูนไม่ใช่แค่เรื่องไร้สาระขั้นเวลา แต่กลายเป็นวัฒนธรรมการ์ตูนที่หยั่งรากลึกลงในสังคมและมีอิทธิพลต่อการรับรู้ของชาวญี่ปุ่นอย่างเข้มข้น มีหลักฐานยืนยันเป็นตัวเลขมูลค่าอุตสาหกรรมการ์ตูนซึ่งมีค่าสูงถึง 4 ล้านล้านเยนต่อปีเลยละครับ (ภาพจาก http://edition.cnn.com/2014/05/12/world/asia/osaka-mascot-cull/)
(ภาพจาก http://www.tofugu.com/2011/08/31/japans-wackiest-town-mascots/)
ปัจจุบันวัฒนธรรมการ์ตูนไม่ได้หยุดอยู่แค่ในแผ่นกระดาษอีกต่อไป เมื่อมันถูกนำมาใช้ในมิติที่ของโลกความจริงมากขึ้น เช่นการสร้างตัวการ์ตูนมาสคอต (Mascots)มาใช้เป็นพรีเซนเตอร์สินค้าที่สร้างความแปลกใหม่ได้อย่างดี ในช่วงเวลา4-5 ปีที่ผ่านมาประเทศญี่ปุ่นให้ความสนใจหันมาใช้ตัวการ์ตูนมาสคอตเป็นพรีเซนเตอร์สินค้าและโปรโมทการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก การสร้างสรรค์คาแรคเตอร์ตัวการ์ตูนน่ารักๆ จากสัตว์หรือสิ่งของที่อาจดึงเอาของดีในท้องถิ่นมาใช้ เป็นทูตทางวัฒนธรรมเผยแพร่ของดีท้องถิ่นของตนเอง ซึ่งก็ได้รับการตอบรับที่ดีจากคนทั่วไปเป็นอย่างมาก อาจเพราะด้วยคาแรคเตอร์ที่เน้นความน่ารัก ทำให้เข้าถึงผู้คนได้ง่าย นำไปสู่การสร้างความผูกพันกับตัวมาสคอตนั้นๆ เกิดเป็นความรู้ที่ดีต่อแบรนด์หรือสินค้านั้นๆตามไปด้วยนั้นเอง
(ภาพจาก http://www.dangdd.com/)
การใช้ตัวมาสคอตมาช่วยสร้างแบรนด์น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมการ์ตูนเป็นส่วนสำคัญครับ เพราะวัฒนธรรมความนิยมในการ์ตูนทำให้คนญี่ปุ่นยอมรับตัวละครมาสคอตที่สร้างจากจินตนาการเหล่านี้ได้ง่ายยิ่งกว่าการใช้ตัวบุคคลจริงๆ เสียอีก มีงานวิจัยที่บ่งชี้ว่า คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะเลือกซื้อสินค้าหรือการบริการเพราะมีตัวคาแรคเตอร์ที่พวกเค้าชื่นชอบอยู่ในนั้นด้วย ทำให้หลายๆแบรนด์มียอดขายพุ่งขึ้นแบบก้าวกระโดดเลยทีเดียวจากความคลั่งในตัวมาสคอตเอง และเมื่อเทียบกับการใช้พรีเซนเตอร์คนจริงๆ การ์ตูนมาสคอตมีข้อได้เปรียบตรงที่พวกเค้าจะไม่มีวันแก่ เจ็บ หรือตาย เรียกได้ว่าอยู่อย่างเป็นอมตะในภาพลักษณ์เดิมอยู่ตลอด ทำให้ตัวการ์ตูนมาสคอตเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ที่สามารถใช้งานได้นานตามที่ต้องการได้ครับ
เมื่อการเลือกใช้ตัวการ์ตูนมาสคอตประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวกำลังได้รับความนิยมสูงมากขึ้นเรื่อยๆในประเทศญี่ปุ่น เราเลยจะมาแนะนำทุกท่านให้รู้จักกับเจ้ามาสคอตน่ารักๆที่มีชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้ดาราคนจริงๆในดินแดนปลาดิบกันครับ
(ภาพจาก https://www.pinterest.com/pin/158681586845596468/)
(ภาพจาก https://www.pinterest.com/pin/158681586845444478/)
คุมะมง
เจ้าหมีคุมะมง (Kuma-mon) มาจากคำว่า “คุมะโมโตะมง” ที่หมายถึง “ชาวคุมะโมโตะ” เป็นตุ๊กตาหมีเพศชาย ซึ่งสร้างโดยรัฐบาลท้องถิ่นของจังหวัดคุมะโมะโตะบนเกาะคิวชู ปรากฎตัวครั้งแรกในปี พ.ศ. 2010 และเปิดตัวอย่างเป็นทางการพร้อมกับการเปิดเส้นทางการเดินรถไฟชิงกันเซ็งสายคิวชู ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2011 เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาค ออกเดินสายไปตามภูมิภาคต่างๆ ทั้งคันไซ คันโต เพื่อโปรโมทของดีของอร่อยของคุมาโมโตะ จากนั้นไม่นานคุมะมงก็ได้รับความนิยมไปทั่วประเทศญี่ปุ่นอย่างรวดเร็ว มีสินค้าเกี่ยวกับคุมะมงวางขายไปทั่วทุกสารทิศ ไม่เว้นแม้แต่ในเมืองหลวงของญี่ปุ่นอย่างโตเกียว เริ่มตั้งแต่พวงกุญแจ กล่องดินสอ ตุ๊กตา ขนมของฝากต่างๆ หรือแม้แต่คัสตาร์ดเค้กคุมะมง ขนมชื่อดังจากจังหวัดคุมะโมะโตะก็มีจำหน่าย ในปีเดียวกันนั้นเองเจ้าหมีคุมะมงได้รับคะแนนโหวตจากชาวญี่ปุ่นทั่วประเทศในการประกวดตุ๊กตาสัญลักษณ์ Yuru Kyara Grand Prix 2011 จากจำนวนมาสคอตกว่า 350 ตัวที่แต่ละท้องถิ่นส่งเข้าประกวด จนได้รับรางวัลชนะเลิศประจำปีนั้นมาครองในที่สุด
(ภาพจาก http://www.gtn9.com/work_show.aspx?id=284E9B6E7477BBB4)
คลิปลีลาการเต้นน่ารักๆ ของเจ้าหมีคุมะมง กับท่าเต้นประจำตัวที่เรียกว่า “คุมะมงไทโซ” หรือท่ากายบริหารคุมะมง ท่าทางโยกย้ายน่ารักๆในจังหวะเพลงสนุกสนานที่อยากให้คนทำตามได้ง่ายๆครับ
(ภาพจาก https://www.pinterest.com/pin/158681586845444458/)
ฟุนัชชี่
(ภาพจาก http://girlschannel.net/topics/69653/)
ตุ๊กตามาสคอตส่วนใหญ่ที่เราคุ้นเคยจะทำท่าทางน่ารักๆ โบกไม้โบกมือ หรือเข้ามามอบโอบกอดให้กับคนที่อยากจะใกล้ชิดหรืออดหมั่นเขี้ยวในความน่ารัดของพวกเค้าไม่ได้ แต่สิ่งที่เหมือนกันอีกอย่างหนึ่งคือ มาสคอตมักจะพูดไม่ได้ เพราะอาจจะต้องเปลี่ยนคนที่มาสวมชุดตัวการ์ตูนตัวนั้นไปเรื่อยๆ และการจะให้คนที่ต้องสวมชุดหนักหลายกี่โลพูด สนทนากับคนทั่วไปที่พบเห็น เปล่งเสียงให้ดังออกมาจากชุดคลุมขนาดใหญ่แบบนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แต่มันเป็นข้อยกเว้นสำหรับเจ้าฟุนัชชี่ มาสคอตพูดได้ตัวนี้ !
(ภาพจาก http://www.appbank.net/2013/07/06/iphone-news/632140.php)
ในตอนแรกนั้นฟุนัชชี่เป็นเหมือนมาสคอตทั่วไปที่ไม่สามารถพูดได้ จนวันนึงฟุนัชชี่รับบทบาทเป็นเจ้าของร้านขายผลิตภัณฑ์เด็กแห่งหนึ่ง มีลูกค้าถามฟุนัชชี่ว่า “คุณคือเจ้าของร้านครับ คุณชื่ออะไรครับ?” ในตอนนั้นไม่มีผู้ช่วยที่คอยพูดแนะนำลูกค้าอยู่เลยและสถานการณ์ก็บีบบังคับให้ฟุนัชชี่ต้องตอบไปว่า “ฟุนัชชิ-นัชชี่” (ชื่อฟุนัชชี่)หลังจากนั้นฟุนัชชี่ก็เป็นที่รู้จักในฐานะมาสคอตที่พูดได้ ถูกเชิญไปออกงานออกรายการทีวีมากมาย
(ภาพจาก http://news.mynavi.jp/news/2014/04/22/367/)
ฟุนัชชี่พูดได้ตัวนี้บอกเราว่าตัวเขาเองคือมาสคอต “ภูติสาลี่น้อย” (นัชชี่ = นะชิ แปลว่าสาลี่ ) ” มีพ่อและแม่เป็นต้นสาลี่ธรรมดา เจ้าฟุนัชชี่มีพี่น้องทั้งหมด 274 ลูก (จำนวน 274 ในภาษญี่ปุ่นอ่านว่า ฟุนะชิ ซึ่งออกเสียงคล้ายฟุนัชชี่นั้นเอง) และชื่อจริงของฟุนัชชี่คือ “ฟุนาดิอูส ที่ 4″ ฟุนัชชี่เป็นมาสคอตของเมืองฟุนะบะชิ จังหวัดชิบะอย่างไม่เป็นทางการ เพราะไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาโดยหน่วยงานของทางราชการเหมือนเจ้าคุมะมง แต่ถูกสร้างจากบุคลทั่วไปในท้องถิ่นที่สร้างคาแรคเตอร์นี้ขึ้นมาเพื่อเป็นตัวแทนของเมืองฟุนะบะชิ และได้นำเสนอคาแรคเตอร์นี้ให้กับทางจังหวัด แต่กลับถูกปฏิเสธและไม่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนใดๆ ถึงอย่างนั้นฟุนัชชี่ก็ไม่ล้มเลิกความตั้งใจ เค้ายังคงใส่ชุดมาสคอตรับงานเล็กๆน้อยๆ พยายามด้วยตนเองอย่างสุดความสามารถ เพื่อโปรโมทเมืองฟุนะบะชิต่อไป จนประสบความสำเร็จอย่างมากเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศญี่ปุ่น
(ภาพจาก http://girlschannel.net/topics/43076/)
การเลือกใช้ตัวการ์ตูนมาสคอตน่ารักๆเพื่อโปรโมตการท่องเที่ยวเหล่านี้เป็นตัวอย่างชั้นดีที่แสดงให้เราเห็นถึงพลังแห่งการออกแบบที่มีพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมรองรับอยู่อย่างเข้มแข็ง ซึ่งหากสังคมไทยเคารพรากฐานทางสังคมของตัวเองกันมากขึ้น ไม่ไปหยิบยกของที่ต่างประเทศมีหรือลอกเลียนแบบเค้ามา เราก็จะสามารถพัฒนาทรัพยากรทางวัฒนธรรมเหล่านี้ขึ้นมาได้ และย่อมจะเป็นประโยชน์แก่ท้องถิ่นของเราเองได้อย่างแน่นอน