OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

ดื่มด่ำสเปซรสเข้มข้น ที่ Yellow Submarine Coffee Tank

In the town where I was born, Lived a man who sailed to sea. And he told us of his life, In the land of submarines.

So we sailed on to the sun,Till we found the sea of green. And we lived beneath the waves, In our yellow submarine ~~~~~

………………………..

1

คือท่อนอินโทรบทเพลง Yellow Submarine ของสี่สหายสี่เต่าทอง The Beatles วงดนตรีคลาสสิคระดับตำนานที่ดังขึ้นระหว่างทางกลับบ้านจากเขาใหญ่มุ่งตรงสู่กรุงเทพ   เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่เกิดบทสนทนาปรึกษากันระหว่างสถาปนิกหนุ่มคนหนึ่งกับมิตรคู่ใจ ว่าพวกเราจะตั้งชื่อให้กับโปรเจคอาคารหลังใหม่จะกำลังสร้างกันขึ้นมานี้ว่าอะไรดี    และคำตอบที่ไม่ได้คิดตระเตรียมไว้ล่วงหน้าที่ถูกเอ่ยขึ้นมาตามท่วงทำนองเพลงวิทยุที่บรรเลงอยู่คลออยู่เบาๆว่า   ” งั้น Yellow Submarine ก็แล้วกัน”

Yellow Submarine Coffee Tank

2

บนถนนธนะรัชต์กลางเขาใหญ่ที่มีร้านกาแฟคาเฟ่และที่พักสไตล์คันทรี่ชนบทแบบยุโรปตั้งอยู่เรียงรายกันไปตลอดทั้งเส้นถนน  มีอาคารร้านกาแฟสีดำขนาดกำลังพอดีมาแอบซ่อนตัวอยู่ในซอยเล็กจากถนนเส้นหลัก  แยกตัวเองออกมาจากบรรยากาศความจอแจวุ่นวายและความซ้ำซากของสถาปัตยกรรมพิมพ์นิยมที่พบเห็บได้จนเกร่อ เพื่อมาคอยต้อนรับแขกที่อยากมาพบเจอกับประสบการณ์รูปแบบใหม่ที่เขาใหญ่แห่งนี้ กับร้าน  Yellow Submarine Coffee Tank

เพราะอยากสร้างศักยภาพให้พื้นที่ คือจุดเริ่มต้น

3

Yellow Submarine Coffee Tank  เป็นร้านกาแฟขนาดพื้นที่ 100 ตารางเมตร ตั้งอยู่บนที่ดินของเจ้าของร้านเองผู้ซึ่งเป็นคนออกแบบร้านด้วย ร่วมกับเพื่อนในนาม 2NDFL (secondfloor architects)  ออกแบบร้านนี้ขึ้นมา โดยเดิมทีที่ดินนี้ตั้งใจซื้อไว้เพื่อปลูกเป็นป่าต้นยมหอม  เพื่อเก็บเกี่ยวผลจากต้นยมหอมไปขายสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง  แต่ไปๆมาๆ เมื่อเวลาผ่านไปก็ไม่ได้มาดูแลเกี่ยวผลผลิตอย่างที่เคยตั้งใจเอาไว้ ต้นไม้ก็เติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ  กลายเป็นป่าไม้สูงเต็มที่ดิน

4

คุณปลายก็เลยกลับมานั่งทบทวนกับเพื่อนๆ ว่าควรทำอะไรกับพื้นที่ตรงนี้ดี จะหาทางเพิ่มมูลค่าและสร้างศักยภาพให้กับมันได้ยังไง  ประกอบกับเมื่อช่วงปีที่ผ่านมาสถานที่ท่องเที่ยวในเขาใหญ่กำลังได้รับความนิยมพุ่งสูงขึ้นเป็นเท่าตัว  คำตอบของคำถามที่ว่าจะสร้างศักยภาพให้กับพื้นที่ผืนนี้ได้อย่างไรจึงค่อยๆ ปรากฏขึ้นมา  เป็นโปรแกรมพื้นที่สาธารณะอย่างที่พัก ร้านค้า ร้านอาหาร หรือพวกร้านกาแฟที่สามารถรองรับให้คนทั่วไปเข้ามาใช้งานได้  มองเห็นความงามของพื้นที่ได้

ผลงานชิ้นแรกของ  2NDFL (Second Floor Architects)

5

เมื่อได้ทิศทางความน่าจะเป็นของโปรแกรมสถาปัตยกรรมมาแล้วว่าจะลองทำเป็น ร้านกาแฟ  ซึ่งนับเป็นผลงานการออกแบบอาคารชิ้นแรกของ 2NDFL (secondfloor architects)   ประกอบด้วย คุณแบงค์ – ประเสริฐ อนันทยานนท์  คุณณัฏฐ์ – ณัฏฐ์ ละเอียดอ่อน และ คุณเสก – เสก สิมารักษ์ กระบวนการออกแบบโปรเจคชิ้นแรกที่มีหนึ่งในนักออกแบบเองเป็นเจ้าของจึงได้ฤกษ์ไฟเขียวออกตัวจากจุดสตาร์ทกัน

ปิดล้อมอยู่ในทรัพยากรที่มีค่าที่สุด

6

เราจะออกแบบยังไงร่วมกับต้นไม้ที่ถูกปลูกไว้แล้วในพื้นที่เมื่อ 10 ปีก่อน ?  เป็นจุดเริ่มของการสร้างคอนเซปดีไซน์ร้านกาแฟแห่งนี้   ต้นไม้ยมหอมและสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติถือเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในที่ดินแปลงนี้ มีอายุยาวนาน เติบโตขึ้นตามสภาพแบบธรรมชาติ สร้างบรรยากาศความร่มรื่นเขียวขจี สถาปัตยกรรมที่กำลังเกิดขึ้นมาจะมีปฎิสัมพันธ์กับทรัพยากรที่สำคัญในพื้นที่แปลงนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  สถาปนิกเรื่องใช้คอนเซป การปิดล้อม ในการออกแบบแทนการเปิดรับอย่างที่หลายคนคุ้นเคย เพราะไม่ต้องการให้มองเห็นวิวด้านนอกจากมุมเดิมๆ อีกต่อไป แต่อยากให้คนที่เข้ามาของในอาคารมองเห็นแค่ยอดปลายของต้นไม้ ได้ยินเสียงแรงลมปะทะกับกิ่งไม้โอนเอนไปมา ได้รู้สึกถึงลมเงาใต้ต้นไม้จากแสงแดด รับรู้ประสาทสัมผัสส่วนอื่นๆ ในธรรมชาติได้แม้จะไม่ได้มองเห็นในระดับสายตาปกติโดยตรง

87

และคราวนี้เมื่อมุมมองระดับสายตาถูกปิดกั้นห้อมล้อมอยู่รอบตัว มันก็จะทำให้คุณเพ่งความใส่ใจไปกับกาแฟที่อยู่ตรงหน้ามากขึ้น สนใจสภาพแวดล้อมอื่นๆที่ไม่ใช่แค่ตามองเห็นได้มากขึ้น ผู้คนที่เดินผ่านไปมา  ทิศทางเงาแดดที่ค่อยๆหันเหเปลี่ยนทิศ ตั้งใจรับฟังเสียงของนกร้องเจื้อยแจ้ว รู้สึกได้ถึงการมีอยู่ของพวกมันแม้จะไมได้เห็นจากสายตาของเราโดยตรง

มองภูเขาผ่านบานกระจก

9

 

ประเด็นทิศทางการมองวิวภูเขาก็เป็นอีกเรื่องที่นำมาใช้กับคอนเซปการออกแบบ  เกิดจากการตั้งคำถามว่าทำไมสถาปัตยกรรมที่เขาใหญ่ส่วนมาก   มักจะพูดถึงเรื่องของการเปิดวิว เปิดมุมมอง ไม่ว่าที่ไหนก็ใช้ลักษณะการออกแบบคล้ายคลึงและซ้ำๆกันเยอะจำนวนมาก  นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จากกรุงเทพก็มองเห็นภาพวิวของทิวเขาตลอดเส้นทางการเดินทางมาเขาใหญ่อยู่แล้ว เรายังต้องการมานั่งในร้านเพื่อเสพย์ภาพวิวของภูเขากันต่ออีกจริงๆ นะเหรอ ? ถ้าแบบนั้นแล้วคอนเซปการออกแบบจะสามารถลดความสนใจจากภาพวิวภูเขาแบบ panorama ในทางกว้างให้มาแหงนหน้ามองต้นไม้สูงสีเขียวในทางตั้ง  หันความสนใจมาอยู่กับความสมบูรณ์ของธรรมชาติที่พื้นที่มอบให้แทนคงจะน่าสนใจมากกว่า กลายมาเป็นอีกหนึ่ง main concept ในการดีไซน์

10

เพราะไม่ต้องการให้คนที่มาใช้งานมองเห็นภูเขาในแบบที่เคยเห็นมาแล้ว  จึงเป็นที่มาของกระจกเงาบานใหญ่หน้าอาคารที่สัมพันธ์กับตำแหน่งที่ตั้งตัวอาคารของร้าน  นั่นก็ด้วยเหตุผลที่ว่านี่คือตำแหน่งทำเลที่สามารถมองเห็นภูเขาฝั่งตรงข้ามได้ชัดเจนที่สุด แต่ต้องไม่ใช่การมองเห็นมุมกว้างในรูปแบบเดิมๆ กระจกเงาบานใหญ่ด้านหน้านี่จึงเข้ามาเป็นตัวช่วยสำหรับการดีไซน์ตรงส่วนนั้น     กระจกเงาทำหน้าที่เป็นฉากสะท้อนภาพภูเขาให้คนที่เพิ่งเดินผ่านประตูเข้ามาในร้าน  แค่อยากให้คนรับรู้ว่าตอนนี้ตัวเองอยู่ในบริเวณ area ของพื้นที่ภูเขาโดยจำเป็นต้องไปจ้องมองภูเขาโดยตรง  เป็นเพียงความระลึกถึงการมีอยู่ของมันผ่านบานกระจก ไม่ว่าจะด้วยวิธีการมองสะท้อนผ่านผิวกระจกเงา หรือมองผ่านแผ่นผิวกระจกสีเทาที่อีกด้านของบานกระจก

ทางเข้าตามลำดับ

1112

ถ้าสังเกตดีๆ เราก็จะเห็นว่าร้านกาแฟ Yellow Submarine ตั้งอยู่บนพื้นที่ slope ที่มีความลาดชันอยู่เล็กน้อย  แต่สถาปนิกออกแบบให้อาคารหลังนี้มีลักษณะรูปด้านเป็นเหมือนกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าเรียบตรงๆ ยาวๆ  เพื่อให้เป็นส่วนเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสถาปัตยกรรมกับพื้นที่ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น  ตั้งใจขับเน้นให้เรามองเห็นความลาดชันของ slope ในพื้นที่ตั้งอาคารให้ได้มากที่สุด

1314

 

กำแพงสูงสีดำจะทำหน้าที่ปกปิดไม่ให้คนภายนอกมองเห็นพื้นที่ภายในร้านว่าเป็นอย่างไร สร้างปริศนาและความใคร่รู้เอาไว้เหมือนเป็นหน้าปกหนังสือสีดำสนิทที่ไม่มีแม้แต่ชื่อเรียก จนเมื่อเรามาตามทางเดินช้าๆ ด้านหน้ามาถึงทางเข้าหลักก็จะมีบันไดยกความสูงของเราขึ้นมาอีกครั้ง กลับขึ้นยังตำแหน่งความสูงชั้นเดียวกับระดับของตัวร้าน  ตรงจุดนี้เองสู่ที่คุณจะได้รับมอบสิทธิ์การรับรู้บรรยากาศของร้านแบบเต็มตัว  พื้นที่ภายในร้านจะค่อยๆปรากฎตัวขึ้นมาอวดโฉมแก่สายตาของผู้มองเห็น  เป็นลำดับการพลิกเปิดอ่านเนื้อหาหนังสือหน้าปกสีดำที่ทำได้อย่างน่าประหลาดใจ

ประสบการณ์แบบใหม่ใน Space รสเข้มขึ้น

 

ด้วยความที่มีคอนเซปสถาปัตยกรรมที่แข็งแรงและแตกต่างอย่างชัดเจน ทำให้ร้าน  Yellow Submarine Coffee Tank โดดเด่นขึ้นมาจากร้านอื่นๆในเขาใหญ่  การสร้างประสบการณ์การรับรู้ธรรมชาติในแบบที่รู้สึกได้แม้มองไม่เห็นโดยตรงอย่างที่เคย  การปิดล้อมจากสถาปัตยกรรมเพื่อสร้างความสงบและความสนใจต่อสิ่งที่อยู่ภายในมากขึ้น เปลี่ยนมุมมองการมองเห็นภูเขาจากรูปแบบเดิมๆ ในมุมกว้าง รวมไปทั้งเมนูอาหารและส่วนตกแต่งเล็กน้อยๆต่างๆที่ก็ยังคงความเข้มข้นในรสชาติไว้ได้อย่างดี

15

 

ต้นไม้พร่าเลือน :  ภายในตั้งใจเลือกใช้กระดำสีดำเงาเพื่อสะท้อนภาพเลือนๆของต้นไม้ภายในร้อน ไม่ใช้สีแบบดำด้านที่ดูแข็งทึบตัน ช่วยลดความอึดอัดลงไป

16

ปิดบางส่วน เพื่อไปเปิดอีกส่วน  : เป็นโซนนั่งทานอาหารเดียวของร้านที่เป็นห้องติดแอร์ แต่ก็ยังคอนเซปเอาไว้แบบเคร่งขรึม ห้องทึบสำดำที่เปิดช่องแสงแค่เพียงครึ่งเดียวที่ด้านล่าง เพราะอยากให้มีแสงสว่างเข้ามาเท่าที่จำเป็น ลดการทำงานของโสตประสาทตา เพื่อไปเพิ่มประสิทธิภาพการรับรู้ให้กับประสาทสัมผัสส่วนอื่นขึ้นมาแทน

17

แสงธรรมชาติ : ในห้องน้ำที่ของร้านเลือกใช้หินกรวดและคอนกรีตปูนเปลือยรูปทรงเลขาคณิตแบบเรียบง่าย พร้อมกับช่องเปิดรับแสงธรรมชาติจากทางด้านบน

18

1 ในเมนูของหวานเฉพาะของทางร้าน  black honey toast

คลิปบรรยากาศภายในร้าน ความสัมพันธ์ของพื้นที่กับช่วงเวลาแบบ Time and space

พอเรารับรู้ถึงคอนเซปการออกแบบและรายละเอียดในการดีไซน์ ก็จะช่วยให้สารมารถดื่มด่ำอยู่กับบรรยากาศแวดล้อม ไปจนถึงการจัด Space ภายในร้านได้ออกรสชาติมากขึ้น

ร้านกาแฟรูปทรงกล่องสี่เหลี่ยมดำ หรือที่ใครหลายคนคิดว่าเป็นเรือดำน้ำกลางป่า เป็นนาวาสีนิลแห่งนี้ยังคงรอต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกคนเข้าไปลองสัมผัสกับประสบการ์และรสชาติอาหารกันได้
โดยร้าน  Yellow Submarine Coffee Tank เปิดเฉพาะ วันศุกร์-อาทิตย์ 9:00-19:00 น.

IMG_8851

19

ติดตามข้อมูลของร้านได้ที่
https://www.facebook.com/yellowsubmarinecoffee/?fref=ts