OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

พูดคุยกับ “Wheel Go Round” ผู้อยู่เบื้องหลังโลกกว้างของมนุษย์ล้อ

เพราะเราอยากให้กลุ่มคนใช้วีลแชร์มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถไปไหนมาไหนได้ตามใจนึกโดยไม่ต้องกังวลถึงข้อจำกัดทางร่างกาย เหมือนดั่งคำห้อยท้ายชื่อเพจที่ว่า Freedom in wheel

9%e0%b8%84%e0%b8%b3%e0%b8%96%e0%b8%b2%e0%b8%a1

ก่อนอื่นเลย อยากให้ทุกคนลองตั้งคำถามกับตัวเองดูกันนะคะ

เราพบปัญหาอะไรบ้างมั้ยในการเดินทางไปไหนมาไหนในชีวิตประจำวัน ?

 

หากเราเป็นคนที่ใช้เท้าเป็นอวัยวะในการพาตัวเองไปยังที่ต่างๆได้อย่างสะดวก ปัญหาพื้นต่างระดับ 2-3 ซม. ก็คงไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับเรา และเราก็คงมองข้ามมันไปเหมือนที่เรากำลังจะเดินก้าวข้ามผ่านพื้นนั้นๆไปอย่างไม่มีอะไรเกิดขึ้นนั่นแหละ และมันคงจะดีไม่น้อยหากทุกคนใส่ใจปัญหาเหล่านี้

 

แต่บนความเพิกเฉยต่อสังคมก็ยังมีความใส่ใจอยู่เล็กๆ โดยเฉพาะทีมผู้ก่อตั้ง “Wheel Go Round” ที่รวมตัวกันขึ้นและใช้ประโยชน์จากพื้นที่เปิดกว้างบนโลกออนไลน์ ทำเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลการเข้าถึงของโรงแรม ร้านอาหาร และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ โดยจะเน้นไปที่สิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานของแต่ละสถานที่ เช่น ทางลาด ลิฟต์ ที่จอดรถ และห้องน้ำสำหรับคนใช้วีลแชร์ เพื่อให้คนใช้วีลแชร์ได้ออกมาทำกิจกรรมนอกบ้านได้อย่างคนปกติ โดยนำเสนอในรูปแบบเว็บเพจและเฟสบุ๊คเพจ ที่มีระบุตำแหน่งสถานที่บนแผนที่ เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลที่ชัดเจนถูกต้องพร้อมรูปภาพประกอบ

screen-shot-2559-10-12-at-10-30-19-pm

และในวันนี้เราก็ได้มีโอกาสมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีสายตาใส่ใจสังคม อันเป็นจุดเริ่มต้นของทีมงานคุณภาพในชื่อ “Wheel Go Round” ซึ่งประกอบไปด้วย ตูน-เภธรา ริมชลา , ลิป-ลิปดา จารุเธียร , ปิ่น-พร้อมพร เพ็ญศิริพันธุ์ , เจน-นันทรัตน์ สิระสุทธิรัตน์ และ เอ-นัฐวุฒิ วัชรียานุกูล เพื่อสร้างพื้นที่บนโลกออนไลน์ให้กลายเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับผู้ที่ใช้ชีวิตบนรถเข็นโดยเฉพาะ

 

“ถ้าปัญหามันไม่เกิดขึ้นกับคนใกล้ตัวเราก็คงไม่ได้ใส่ใจอะไร แต่พอมันเกิดกับคนใกล้ตัว ก็ทำให้เรามองสถานที่แต่ละแห่งเปลี่ยนไป และเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับการออกแบบมากขึ้น ว่าเค้าได้คิดเผื่อคนอื่นแล้วหรือยัง?” 

– Wheel Go Round

1509058_884279144938070_2578279810285293925_n

DSS : จุดเริ่มต้นของเพจนี้มาจากไหน ?

WGR : จุดเริ่มต้นของ Wheel Go Round มาจากหัวข้อวิจัยสมัยเรียนปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้ว

 

DSS : แล้วทำไมถึงเลือกหัวข้อนี้ล่ะ ?

WGR : เพราะเป็นประสบการณ์ตรงที่เกิดขึ้นกับคนในบ้าน ช่วงนั้นเป็นวันหยุดยาว จะพาญาติที่นั่งวีลแชร์ไปเที่ยวด้วย ก็ยืนยันกับทางโรงแรมว่ามีผู้ใช้วีลแชร์เข้าพักด้วยนะ มีห้องที่ซัพพอร์ตใช่มั้ย แต่พอไปถึงถึงกลับใช้งานไม่ได้ จึงทำให้คิดย้อนว่ามันก็เป็นปัญหาเหมือนกันใหญ่นะ

 

DSS : คนที่มีปัญหาทางร่างกายก็มีตั้งหลายแบบ แล้วทำไมถึงเน้นไปที่คนใช้วีลแชร์

WGR : เพราะเราคิดว่าการพิการทางการเคลื่อนไหวดูเป็นอะไรที่เอ็กซ์ตรีมสุดแล้ว จะไปไหนมาไหนก็ลำบาก จึงเลือกคนกลุ่มนี้เป็นตัวยืนพื้นในการรีวิวสถานที่ต่างๆ ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับคนกลุ่มนี้ และต่อยอดไปถึงกลุ่มคนแก่ที่ใช้รถเข็น

14291771_1285322264833754_3506173118954767897_n

DSS : แต่ละสถานที่ที่เลือกมารีวิวนี่ไปดูด้วยตัวเอง หรือมีใครแนะนำมามั้ย?

WGR : ก็มีทั้งสองอย่างนะ ทั้งไปรีวิวเองหรือมีแฟนเพจแนะนำมา ถ้ารีวิวเอง ก็เอาจากความชอบส่วนตัวของเพื่อนในกลุ่มแต่ละคนที่ชอบเดินทางไปเที่ยว หรือพาครอบครัวไปทานข้าวในที่ต่างๆ ซึ่งมันก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย เพราะไหนๆ เราก็ไปอยู่แล้วไง ก็แค่ถ่ายรูป นำข้อมูลมารีวิวว่าที่นั้นๆ มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อกลุ่มคนใช้วีลแชร์หรือไม่ ส่วนที่ที่แฟนเพจส่งข้อมูลมาให้ นั่นก็ถือว่าเป็นฟีตแบคที่ดีนะ แสดงให้เห็นว่าพวกเค้าก็ใส่ใจเรื่องพวกนี้เหมือนกันนะ และก็เชื่อว่าความร่วมมือเล็กๆน้อยๆนี้จะเป็นกำลังสำคัญที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ของสังคมในวันข้างหน้า

 

DSS : แล้วเอาเกณฑ์อะไรมาตัดสินว่าต้องกว้างเท่านี้หรือต้องมีขนาดเท่านี้นะ?

WGR : จริงๆ ก็มีเกณฑ์ประเมินที่ได้มาจากอาจารย์คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ นะ แต่ถ้าจะตัดสินตามเกณฑ์แบบเป๊ะๆ เลยก็คงยากเกินไป จึงใช้วิธีกะประมาณเอา อย่างทางลาดก็จะใช้วิธีลองเดินดู ถ้าเราเดินแล้วยังรู้สึกว่าชัน คนพิการก็ยิ่งใช้งานไม่ได้เลย

 

DSS : พูดเรื่องการเข้าถึง การเข้าถึงที่แท้จริงนั้นต้องเป็นอย่างไงบ้าง?

WGR : การเข้าถึงจริงๆ แล้วแบ่งได้ 2 แบบนะ คือ เข้าถึงได้ด้วยตัวเองเลย เพราะมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย และเข้าถึงได้ด้วยเครื่องช่วยอำนวยความสะดวก ทั้งสิ่งของ อย่าง ลิฟต์ยกวีลแชร์ และคนช่วย พอเข้ามาแล้วก็ต้องไปได้ทั่วทั้งตึกนะ ถึงจะเรียกว่าเข้าถึงอย่างแท้จริง แต่ส่วนใหญ่กลุ่มคนใช้วีลแชร์ก็อยากให้เป็นอย่างแรกมากกว่า เพราะเค้าอยากไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง จะได้ไม่รู้สึกเป็นภาระของใคร

13708211_1237650726267575_774010257577054571_o

DSS : จากที่ไปสำรวจมาคิดว่าสถานที่แบบไหนที่เข้าถึงได้ง่ายที่สุด และที่ไหนเข้าถึงได้ยากที่สุด?

WGR : สถานที่ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับคนพิการส่วนใหญ่จะเป็นในห้างนะ แต่วัด สถานที่ที่เป็นที่พึ่งทางใจของใครหลายๆคน ที่ซึ่งคนธรรมดาเข้าถึงได้ง่าย แต่กลับกลายเป็นที่ที่คนใช้วีลแชร์เข้าถึงได้ยากที่สุด

 

DSS : คิดว่าส่งอำนวยความสะดวกอะไร ที่ทุกๆ อาคารควรมีมากที่สุด ?

WGR : คิดว่าเป็นทางลาดนะ เพราะทุกตึกมีบันไดอย่างแน่นอน แต่ไม่ค่อยมีทางลาดให้บริการ แล้วคนใช้วีลแชร์จะเข้าตึกได้ยังไงล่ะ รองลงมาก็คงเป็นพวกที่จอดรถที่ต้องมีพื้นที่ข้างรถไว้สำหรับให้กางรถเข็นได้

 

DSS : สุดท้ายล่ะ อยากจะฝากอะไรกับคนอ่านที่มาจนถึงข้อสุดท้ายมั้ย?

WGR : อยากให้อนาคตไม่ต้องมีเพจนี้แล้ว อยากให้เป็นเรื่องธรรมดาทั่วไปที่ทุกคนในสังคมพึงระลึกได้เอง เหมือนอย่างสังคมเมืองนอกที่ทุกๆ คนมองว่าคนใช้วีลแชร์ว่าไม่ใช่กลุ่มคนที่แตกต่างจากตัวเรา

 

แม้ปัจจุบันพวกเขาจะจบการศึกษามานานแล้ว แต่เพจ Wheel Go Round ยังคงอยู่ คอยทำหน้าที่เป็นเป็นตัวกลางนำเสนอข้อมูลระหว่างสถานที่กับกลุ่มคนใช้วีลแชร์ และคาดหวังว่าคงมีสักวันที่สังคมไทยเราไม่ต้องพึ่งเพจนี้อีกต่อไป

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจากเฟสบุ้ค Wheel Go Round – Freedom in wheel