ก่อนเข้าสู่บทความ เรามีอะไรอยากจะลองถามเพื่อเป็นความรู้ : ตึกอะไรมีแต่เสียงเพลง ?
เฉลย ตึก โป๊ะ ตึก ตึก ตะ โละ โป๊ะ ตึก โป๊ะ ตึก !
ย้อนกลับไปเมื่อปี ค.ศ. 1926 วงการเพลงเริ่มมีการตัดเอา animation ลงไปผสมผสานกับเสียงเพลง ออกมาเป็นหนังสั้นการ์ตูนเรียกว่า Screen song ช่วยดึงความสนใจจากผู้ชมให้หยุดสายตาอยู่กับบทเพลงมากขึ้น สร้างเนื้อเรื่องให้กับเนื้อเพลงเป็นหนังสั้นมีคนแสดงมาประกอบเข้ากับผลงานเพลงใหม่ เพิ่มมิติการรับฟังผ่านใบหูสู่การรับรู้ผ่านสายตา ผ่านไปไม่นานก็มีการทำ promotional clip หรือการอัดภาพและเสียงขณะเล่นคอนเสิร์ต,ออกรายการ เพื่อนำมาใช้โปรโมตเพลง ตัวอย่างเช่น เพลงระดับตำนาน Bohemian Rhapsody ของวง Queen ที่กลายเป็นที่กล่าวขวัญดังเป็นพลุแตกในปี ค.ศ. 1975
ก่อนจะเข้ามาสู่ยุครุ่งเรืองสุด ๆ ของมิวสิควิดีโอที่วัยรุ่นยุค 90s ต้องมาคอยเกาะขอบหน้าจอโทรทัศน์ รอสดับรับฟังเพลงโปรดภาษาต่างประเทศจากช่อง MTV ที่มีรูปแบบตื่นตาตื่นใจแตกต่างจากค่ายเพลงของไทยในอดีต เริ่มมีการเพิ่มเม็ดเงินลงทุนกับโปรดักชั่นการผลิตที่สวยงามสมจริง เนรมิตฉากหลังขึ้นในสตูดิโอและการออกค้นหาสถานที่จริงเจ๋งๆ เพื่อนำมาใช้ในการถ่ายทำ สิ่งที่น่าสนใจก็คือ มิวสิควิดีโอมีพลังพิเศษที่สามารถเชื่อมโยงสถาปัตยกรรมเข้ากับเสียงดนตรีให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ กลายเป็นภาพยนตร์ขนาดเล็กที่ทำให้คนทั่วไปรับรู้และมีปฏิสัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมในมิติที่แตกต่างออกไปจากเดิมด้วยเมโลดี้และความคิดสร้างสรรค์
และถ้าจะให้อธิบายเป็นตัวอักษรอย่างเดียวโดยไม่ต้องเสียบหูฟังก็คงจะยังไม่เข้าใจ งั้นเราลองมาดู 4 มิวสิควิดีโอแนะนำสาขาสถาปัตยกรรมยอดเยี่ยม พร้อมแล้วก็กดปุ่ม play ไปพร้อมกันได้เลยครับ
Chemical Brothers – Go
ล้ำสุด ๆ ทั้งแนวเพลงและมิวสิควิดีโอ กับกลุ่มนักเต้นหญิงทั้ง 7 ในชุดโทนดำเทานำสมัย ใส่เครื่องแบบเหมือนกัน เคลื่อนไหวพร้อมกัน แถมยังต่อเนื่องกันอย่างมีระบบตามจังหวะของดนตรี ภาพที่เห็นทั้งหมดนี้ได้รับการออกแบบท่าเต้นและชุดคอสตูมภายใต้แนวคิดจาก constructivism (ทฤษฎีสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเอง ) โดยเลียนแบบการเคลื่อนไหวของเครื่องจักร ถ่ายทำกันในย่าน Front-de-Seine เมือง Paris ที่มีแต่ตึกสมัยใหม่สไตล์ modern ใช้การตัดต่อและมุมมองกล้องหลากหลายมุมเพื่อเน้นย้ำรูปแบบการเคลื่อนไหวที่แปลกใหม่ มุมมองและรายละเอียดของภาพในมิวสิควิดีโอเพลง Go คือความพยายามในการสร้างความรู้สึกบางอย่างให้เกิดขึ้นในตัวสถาปัตยกรรม โฟกัสที่วิธีที่ท่าเต้นของเพลงที่แสดงให้เห็นถึงกลไกการเคลื่อนไหวมากกว่าการนำเสนอเนื้อเรื่อง เชื่อมโยงการเคลื่อนไหวของคนที่เลียนแบบจักรกลอยู่บนฉากหลังที่เป็นหอไอเฟลตัวแทนสถาปัตยกรรมยุค modernist
Omi Palome – Architecture
โครงสร้างอาคารคอนกรีตสไตล์ brutalist ในภาพเคลื่อนไหวสีขาวดำกลางกรุงลอนดอนคือคอนเซปง่ายๆ ของมิวสิควิดีโอเพลงนี้ ภาพของสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ในเพลง Architecture จะเป็นสถาปัตยกรรมบริสุทธิ์ “pure” architecture ที่โชว์ลักษณะโครงสร้าง วัสดุพื้นผิวอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งเมื่อผสมผสานกับดนตรีแนว post-punk rock ของวง ก็ยิ่งทำให้รับรู้ถึงความหนักแน่น เคร่งขรึม ร่วมสมัย สนุกสนานพอโยกย้ายศรีษะอย่างมีไสตล์ไปกับเสียงเพลงได้ไม่ยาก
Art Department – Walls
ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในสถานที่จริง animation MV เราก็มีมาเสนอ สำหรับเพลง Techno Songs ที่ฟังแล้วนึกถึงชายหาดไมอามี่บีชหน้าร้อนที่เปิดเหมาะเพลงเต้นแบบนี้อยู่ในปาร์ตี้ เปิดฉากแรกมาด้วยสถาปัตยกรรมคล้ายมหาพีระมิดที่ไม่มียอดแหลมแห่งเมโสโปเตเมีย Babylon of Ziggurats , องค์ประกอบและสีสันกึ่งย้อนยุคกึ่งล้ำสมัยผสมปนเปกันอยู่อย่างไม่น่าเชื่อ ทำให้เกิดสะภาพแวดล้อมแบบยูโทเปียที่โดดเด่นสะดุดตา สีชมพูและสีฟ้า turquoise เคลือบอยู่บนสถาปัตยกรรม – เฟอร์นิเจอร์อย่างสวยงาม ด้วยทำนองเพลงและรูปแบบสถาปัตยกรรมที่จะช่วยพาเราเดินทางเข้าไปสำรวจในดินแดนโลกสมมุติ
Cold Mailman – Time is of the Essence
มิวสิควิดีโอแบบ time-lapse ที่ใช้แสงไฟและสถาปัตยกรรมเป็นนักแสดงนำ ไอเดียง่าย ๆ โดยการเปิดและปิดไฟในอพาร์เมนต์แต่ละแห่งของเมือง oslo ประเทศ Norway คอยให้จังหวะเพื่อประกอบทำนองเพลง เลือกใช้แสงที่มีสีสันดูขี้เล่น สนุกสนาน เชื่อมโยงกับภูมิทัศน์ของเมืองให้เป็นพระเอกหลัก มากกว่าแค่การใช้อาคารเป็นพื้นหลังเหมือนเพลงอื่น ๆ
ก่อนจะหมดเวลาจัดรายการในวันนี้ เราขอแถมให้อีก 3 เพลงให้กับคุณผู้ฟัง
หวังว่าทุกคนจะสนุกไปกับเสียงเพลงและการใช้งานออกแบบอาคารเป็นส่วนหนึ่งของงานสร้างสรรค์แขนงอื่น ๆ เพราะจังหวะอยู่ในทุกสิ่ง ไม้เว้นแม้แต่สถาปัตยกรรม
อ้างอิง
archdaily