OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

LEGO save the cities หยิบตัวต่อมาเติมแต่งเมืองให้สมบูรณ์

ตัวต่อเลโก้สีสันสดใส กลายเป็นปากกาไฮไลท์ให้ประชาชนและหน่วยงานรัฐหันมาใส่ใจสุขภาพของเมือง

หลังจากที่เลโก้ชิ้นแรกถูกแทรกลงไปในรอยแตกของผนังอาคารตามมุมต่าง ๆ ของโลกมานานนับ 10  ปี ศิลปินขี้เล่นชาวเยอรมัน  Jan Vormann ก็อยากชวนให้คนทั่วไปเข้าร่วมสนุกด้วยกันในโปรเจค “Dispatchwork”  เพื่อสร้างงานศิลปะใน public space ที่ทุกคนก็มีส่วนร่วมได้ด้วยของเล่นก้อนอิฐสีสันสดใสที่ใครๆ ก็คุ้นเคย

Dsign tip : Lego มาจากการนำสองคำในภาษาเดนมาร์กคือ Leg + Godt มีหมายความว่า Play Well ในภาษาอังกฤษ ช่วงแรกผลิตขึ้นจากไม้ (ค.ศ. 1930) ก่อนที่จะกลายเป็นตัวต่อพลาสติกครั้งแรก (ค.ศ. 1949) ที่เมืองบิลลุนด์ ประเทศเดนมาร์ก ของเล่นรูปทรงคล้ายก้อนอิฐ (Automatic Binding Bricks) ที่มีขนาดต่างๆ มีหลายสี มีปุ่มและร่องสำหรับประกอบเข้าหากันโดยไม่ต้องใช้กาว เพื่อให้ผู้เล่นนำไปสร้างสรรค์ต่อเป็นรูปร่างต่างๆ ได้ตามจินตนาการ ซึ่งปัจจุบันมีคอลเลคชั่นออกมาแล้วมากกว่า 6,000 ชุด

bocchignano, 2007

Jan Vormann เริ่มซ่อมแซมรอยแตกของผนังอาคารและกำแพงที่ทรุดโทรมด้วยของเล่น Lego อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2007 ในเมือง Bocchignano ประเทศอิตาลี  แล้วค่อย ๆ ขยายพื้นที่การแสดงศิลปะการปะติด-ปะ(ตัว)ต่อ มาจนถึงปัจจุบัน นับรวมแล้วเค้าออกเดินทางไปมากกว่า 40 เมืองในหลากหลายประเทศ เริ่มจากโซนทวีปยุโรป อเมริกากลาง สหรัฐอเมริกา และเอเชีย  

ถึงหลายคนจะมองว่า “Dispatchwork” เป็นผลงานศิลปะสนุกสนานตามประสาผู้ใหญ่ที่อยากทำอะไรเด็กๆ แต่ไอเดียเบื้องหลังโปรเจคนี้สร้างผลกระทบออกไปไกลกว่าที่ของเล่นตัวต่อชิ้นเล็กๆ ที่อยู่ในมือ

Vormann อธิบายว่า “Dispatchwork”  ตั้งใจให้ทุกคนรู้สึกอยากมีส่วนร่วมต่อพื้นที่สาธารณะของตัวเองมากขึ้น ด้วยเครื่องมือและแนวคิดการทำงานที่ดูสนุกสนานขี้เล่น เพราะบ่อยครั้งที่เราพบเห็นซากความเสียหาย รอยแตกร้าวในผนังอาคาร กำแพงสาธารณะแล้วก็มักจะคิดว่ามันไม่ใช่เรื่องของเรา แต่เป็นหน้าที่คนรัฐบาล หรือองค์กรส่วนกลางที่จะต้องรับผิดชอบดูแลอยู่ฝ่ายเดียว เมื่อเกิดความคิดเพิกเฉยต่อปัญหาบ่อยเข้า ความรู้สึกหวงแหนต่อเมืองที่เราอาศัยอยู่ก็จะพังทลายลงไม่ต่างจากซากอิฐปูนที่เห็นอยู่ตรงหน้า

เป็นที่มาของการหาวัสดุทุกคนน่าจะคุ้นเคย ใกล้ตัว หาได้ง่าย ให้ความรู้สึกสนุกสนาน มาเป็นตัวกลางในการในการสื่อสารข้อความว่าเราทุกคนสามารถมีส่วนร่วมเข้าไปซ่อมแซมเมืองของตัวเองได้โดยไม่ต้องไม่ต้องมีความรู้พื้นฐานอะไรให้มากมาย ไปมากกว่าความกล้าและอารมณ์ขันที่จะหยิบตัวต่อเลโก้สีสันสดใสออกมาต่อเติมส่วนที่สึกหรอของเมืองพวกเค้าเอง   

“โปรเจคนี้ผมตั้งใจอยากจะสร้างความทรงจำในวัยเด็กออกมาเป็นสิ่งของรูปธรรมที่สามารถจำต้องได้ชัดเจน  มีสีสันสดใส สนุกสนานเข้าถึงได้ง่าย เป็นที่รู้จักดีพอจะเชื่อมผู้คนต่างวัฒนธรรมให้เข้าใจในภาษาแบบเดียวกัน  ความสนุกที่ได้ต่อเลโก้เข้าไปตามร่องรอยผุพังจะช่วยละลายตัวเรากับสิ่งปลุกสร้างในเมืองเข้าหากัน กิจกรรมที่ทำให้เกิดการการมีส่วนร่วม ได้ซ่อมแซม ได้ช่วยเหลือแม้เพียงเล็กน้อย ก็จะกลายเป็นปุ๋ยชั้นดีให้ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับเมืองเติบโตขึ้นมาช้า ๆ  แถมมันยังค่อย ๆ ปลดปล่อยจินตนาการในวันเด็กของเราออกจากกล่องความทรงจำที่ถูกปิดไว้ให้เป็นอิสระอีกครั้ง ”

และเมื่อลงมือทำซ้ำอย่างต่อเนื่อง เกิดเป็นข่าวที่พูดถึงในสื่อหลักและโซเชียลมีเดียจนเสียงดังมากพอ  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้ชัดคือ ผู้ว่าการรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในหลาย ๆ เมืองก็เริ่มหันมาให้ความสำคัญการบูรณะสิ่งปลุกสร้างกันมากขึ้น  มีคำสั่งให้ออกตรวจสอบสุขภาพของอาคารในเมืองของตนเอง ทั้งในจุดที่ Jan Vormann เคยไปลงมือสร้าง lego เอาไว้ก็จะถูกแทนที่ด้วยอิฐ ปูนของจริงภายในเวลาไม่กี่วัน และตามในจุดอื่นๆ ของเมืองที่เคยถูกละเลย  

สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของศิลปินอารมณ์ดีที่กำลังเติมแต่งเมืองด้วยตัวต่อเลโก้  ได้ที่
IG janvormann
IG dispatchwork

 

ข้อมูลอ้างอิง archdaily