OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

Not only Tiles, it’s Shine. ข้ามขีดจำกัดกระเบื้อง สู่สถาปัตยกรรมสุดโมเดิร์น

สถาปนิกออกแบบบ้านหลังนี้ให้เป็นดั่งงานปฏิมากรรมชิ้นเอกที่สามารถอยู่อาศัยได้เสมือนการแกะสลักก้อนหินอ่อนคว้านเนื้อในให้เกิดพื้นที่ใช้สอย ตัดแต่งต่อเสริมให้เกิดรูปแบบของอาคารที่เรียบง่ายแต่แฝงด้วยรายละเอียดที่น่าทึ่ง

ที่มาแห่งบ้านลายหินอ่อน Marble House

บ้านลายหินอ่อนหลังนี้เริ่มต้นการออกแบบเพื่อตอบโจทย์ตัวตนและไลฟ์สไตล์ความเป็นอยู่ของเจ้าของบ้านด้วยความต้องการที่จะเติมแต่งไอเดียดีๆที่จะทำให้บ้านหลังนี้ มีความพิเศษมากขึ้นไปอีกขั้น

บ้านหลังนี้จึงเสมือนตัวแทนของความคิดนอกกรอบที่เกิดจากความหลงใหลในวัสดุและการออกแบบสถาปัตยกรรมของเจ้าของบ้านซึ่งถูกถ่ายทอดมายังสถาปนิกผู้ออกแบบนั่นก็คือกลุ่มสถาปนิกจาก OPENBOX ARCHITECTS นำโดย คุณหนุ่ยรติวัฒน์ และคุณปรางค์วรรณพรสุวรรณไตรย์ รับหน้าที่เป็นผู้ออกแบบงานสถาปัตยกรรมตกแต่งภายในรวมถึงงานแลนด์สเคปของบ้านหลังนี้ด้วย แรกเริ่มของการออกแบบบ้านหลังนี้นอกจากจะเป็นการวางฟังก์ชั่นการใช้งานให้เหมาะสมกับความต้องการแล้วยังต้องมีอีกโจทย์หนึ่งที่สำคัญคือการมองหาวัสดุที่จะเลือกใช้กับบ้านหลังนี้ ซึ่งต้องเป็นวัสดุที่มีความหมาย มีความเป็นเอกลักษณ์และยังก้าวข้ามสิ่งที่เรียกว่า กรอบ เดิมๆได้และใครจะเชื่อว่าจากโจทย์เรื่องวัสดุสถาปนิกจะเลือกใช้ กระเบื้อง เป็นวัสดุที่จะสื่อสารถึงความน่าอยู่ของบ้านหลังนี้ได้อย่างไม่น่าเชื่อใช่แล้วครับวัสดุภายนอกที่เห็นนี้ไม่ใช่หินอ่อนจริงๆแต่เป็นกระเบื้องลายหินอ่อน ที่มีขนาดของแผ่นใหญ่เป็นพิเศษและมีลายที่ดูเป็นธรรมชาติเมื่อมองจากภายนอกจึงเหมือนหินอ่อนจริงแต่มีความบางและดูเบาลอยกว่าหินอ่อนจริงๆมากสถาปัตยกรรมโครงสร้างเหล็กสีขาวดูเบาลอยนี้บอกกับทุกคนที่พบเห็นถึงการมีตัวตนอยู่ของวัสดุกลุ่มก้อนอาคารและมวลอากาศที่ถูกห้อมล้อมไว้เป็นพื้นที่ปิดล้อมที่แอบเปิดโล่งภายในพื้นที่ของตนเองเลือกที่จะมองในมุมที่พอใจและไม่ทำลายทัศนียภาพรอบข้างให้ดูด้อยแต่อย่างใดส่วนการตกแต่งภายในเนื่องจากสถาปนิกต้องการสร้างความต่อเนื่องให้ทุกส่วนของบ้านสถาปนิกจึงออกแบบวัสดุให้มีความต่อเนื่องกันทั้งภายนอกและภายในโดยกระเบื้องที่ใช้นั้นก็สามารถใช้ได้อย่างทนทานสีไม่ซีดจางง่ายๆทำให้รู้สึกเหมือนได้อยู่ภายนอกเมื่ออยู่ภายในและเมื่ออยู่ภายนอกก็เกิดความต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวกันทั้งหลังโดยผสานกับวัสดุชนิดอื่นที่เพิ่มความน่าอยู่ให้กับตัวบ้านมากขึ้นเช่นไม้และเหล็กเป็นต้น

พื้นที่ใช้สอยที่มาพร้อมกับรูปทรงเรียบง่าย

Marble House ตั้งอยู่บนที่ดิน 350 ตารางวามีพื้นที่ใช้สอบรวมประมาณ 1,400 ตารางเมตรผังของบ้านเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมเรียบง่ายแต่มีการเจาะคอร์ทกลางและช่องแสงขนาดย่อมสอดแทรกไปทั้งตัวบ้านทำเป็นพื้นที่สวนบ้างเป็นช่องแสงในห้องน้ำและห้องที่อยู่ชั้น 2 บ้างทั้งหมดก็เพื่อให้ตัวบ้านสามารถระบายอากาศหรือความร้อนได้ดีอีกทั้งแสงธรรมชาติยังสามารถเข้ามาภายในบ้านโดยที่ไม่นำพาความร้อนเข้ามาด้วยนั่นเองส่วนเรื่องของการจัดวางตัวบ้านลงบนพื้นที่ดินที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่จึงมีอิสระในการจัดวางค่อนข้างมากสถาปนิกจึงเลือกที่จะวางอาคารชิดที่ด้านใดด้านหนึ่งของพื้นที่ดินจึงเหลือพื้นที่สวนขนาดใหญ่ได้พื้นที่สีเขียวอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยและคงต้นไม้ใหญ่ซึ่งเป็นต้นไม้เดิมไว้และทำเป็นห้องพักผ่อนขนาดเล็กที่ใต้ต้นไม้สำหรับพักผ่อนหรือทำกิจกรรมต่างๆของครอบครัว

การก้าวข้ามขีดจำกัดของวัสดุ

นับว่าเป็นทั้งความคิดสร้างสรรค์และความท้าทายที่ทั้งสถาปนิกและเจ้าของบ้านเห็นเป็นเสียงเดียวกันที่จะใช้กระเบื้อง มาเป็นวัสดุหลักที่เริ่มต้นออกแบบบ้านหลังนี้เพราะไม่ใช่เพียงการปูกระเบื้องในห้องน้ำหรือห้องครัว แต่สำหรับบ้านหลังนี้คือการนำกระเบื้องมาห่อหุ้มตัวบ้านทั้งหมดเอาไว้ ถือเป็นงานที่ท้าทายไม่ใช่น้อยOPENBOX ARCHITECTSสถาปนิกผู้ออกแบบเลือกใช้กระเบื้องลายหินอ่อนแผ่นใหญ่ที่สุดมีขนาด 1 X 3 เมตรสีขาวลายดำและเทามาเป็นวัสดุที่จะนำมาห่อหุ้มตัวบ้านทั้งหมดไว้เพราะก่อนหน้านี้เราคิดว่ากระเบื้องนั้นเหมาะสำหรับการปูพื้นหรือผนังในห้องน้ำห้องครัวเท่านั้นแต่ในความเป็นจริงแล้วกระเบื้องสามารถนำมาปูหรือติดตั้งเป็นส่วนอื่นๆได้มากกว่านั้นTip : กระเบื้องที่ใช้กับบ้านหลังนี้เป็นกระเบื้องรุ่นพิเศษที่มีชื่อว่า XLIGHT นวัตกรรมกระเบื้องพอร์ซเลนแผ่นใหญ่แต่บางเพียง 3.5 มิลลิเมตร และมีน้ำหนักเบากว่ากระเบื้องทั่วไปเพียง 8 กิโลกรัมต่อตารางเมตรเท่านั้นด้านหลังแผ่นยังเสริมแรงด้วยตาข่ายไฟเบอร์กลาสซึ่งช่วยลดการโก้งดัดของแผ่นรวมถึงมีคุณสมบัติในการดูดซึมน้ำที่น้อยกว่าหินธรรมชาติจึงสกปรกและเกิดคราบเชื้อรายากนอกจากนี้ยังสามารถปูทับพื้นผิวกระเบื้องเดิมได้ตอบสนองกับงานออกแบบทั้งภายในและงานภายนอกอาคารสถาปนิกจึงตั้งใจออกแบบบ้านหลังนี้ให้เป็นดั่งงานปฏิมากรรมชิ้นเอกที่สามารถอยู่อาศัยได้เสมือนการแกะสลักก้อนหินอ่อนคว้านเนื้อในให้เกิดพื้นที่ใช้สอยตัดแต่งต่อเสริมให้เกิดรูปแบบของอาคารที่เรียบง่ายแต่แฝงด้วยรายละเอียดที่น่าทึ่งอีกทั้งภาพลักษณ์ของหินอ่อนยังตรงกับบุคลิคของเจ้าของบ้านคือมีความเรียบง่ายสบายๆแต่มีความเท่และทันสมัยอยู่ตลอดเวลาตัวบ้านชั้น 2 ทั้งหมดจึงห่อหุ้มด้วยกระเบื้องลายหินอ่อนนี้ส่วนที่ชั้นล่างนั้นเน้นการใช้บานกระจกใสและผนังสีเข้มเพราะเมื่อมองดูจากภายนอกนั้นจะเหมือนชั้น 2 ของตัวบ้านนั้นลอยอยู่ท่ามกลางสวนสวยและต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น 

ปัจจุบันของกระเบื้องที่เราอาจไม่คุ้นเคยอีกต่อไปด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิตกระเบื้องจึงสามารถผลิตกระเบื้องพอร์ซเลนที่มีขนาดใหญ่แต่น้ำหนักเบาได้เป็นการเพิ่มขอบเขตและจินตนาการในการนำไปใช้ได้อย่างไร้ขีดจำกัดโดยสำหรับบ้าน Mable House หลังนี้ติดตั้งกระเบื้องด้วยระบบแห้งหรือDry Processคือระบบที่ติดยึดด้วยการยึดน็อตและสกรูเข้ากับโครงสร้างเหล็กที่ต้องออกแบบด้วยสถาปนิกและวิศวกรมาเป็นอย่างดีเพื่อความแข็งแรงในการติดตั้งและใช้งานได้อย่างสวยงามปลอดภัยซึ่งโดยส่วนใหญ่การติดตั้งแบบ Dry Process จะใช้กับการติดตั้งผนังหินจริงหรือผนังอลูมิเนียมคอมโพสิตแต่ปัจจุบันกระเบื้องนั้นสามารถใช้การติดตั้งดังกล่าวได้แล้วโดยประโยชน์อีกข้อหนึ่งของการติดตั้งแบบนี้คือความแข็งแรงทนทานแม้ใช้งานไปนานเพียงใดก็ไม่หลุดร่อนออกมาเหมือนการติดตั้งระบบเปียกหรือ Wet Process นั่นเองอีกทั้งยังมีรายละเอียดในการติดตั้งที่จะทำให้เกิดช่องอากาศระหว่างกระเบื้องและผนังจริงเกิดเป็น Ventilated Facade System ไปด้วยในตัว

Tip : Ventilated Facade Systemหรือระบบผนังระบายอากาศ นอกเหนือจากการป้องกันน้ำฝนเข้าสู่อาคาร (rain screen) ซึ่งเป็นประโยชน์หลักของวัสดุที่มาใช้เป็น Facade ช่องอากาศระหว่างวัสดุและผนังโครงสร้างของอาคารซึ่งมีอากาศไหลเวียนอันเนื่องจากการเคลื่อนตัวของอากาศร้อนและการแทนที่ด้วยอากาศที่เย็นกว่านั้นยังทำหน้าที่เสมือนฉนวนช่วยลดความร้อนเข้าสู่อาคารทำให้อาคารมีการใช้พลังงานที่ลดลงช่วยลดเสียงรบกวนจากภายนอกและยังช่วยให้ความชื้นระเหยจากผนังอาคารได้อย่างรวดเร็วด้วย

นอกจากข้อดีข้างต้น กระเบื้องพอร์ซเลนXLIGHT ยังมีข้อดีเรื่องการทนไฟทนสนิมทนความเย็นทนสารเคมีกันน้ำทำความสะอาดง่ายและวัสดุนี้ยังสามารถรีไซเคิลได้ด้วย 

ขีดจำกัดมีไว้ก้าวข้าม

บ้านหลังนี้เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความกล้าที่จะก้าวออกจากกรอบก้าวข้ามขีดจำกัดของสิ่งที่ตนเองเป็นทั้งเรื่องรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่ต่างออกไปจากบ้านที่เคยมีสร้างพื้นที่เปิดโล่งที่เป็นส่วนตัวสร้างพื้นที่ปิดล้อมที่ไม่อึดอัดรวมถึงสร้างบรรยากาศที่ดูเท่แต่เรียบง่ายน่าใช้งาน และส่วนของวัสดุอย่างกระเบื้องที่ได้ทำลายขีดจำกัดความสามารถของตัวเองแล้วแสดงให้เห็นว่าวัสดุหนึ่งๆนั้นสามารถทำอะไรได้มากกว่าที่เคยเพียงแต่ต้องการการออกแบบที่เหมาะสมและได้ผู้ที่รู้เรื่องวัสดุนั้นๆมาเป็นผู้ออกแบบหรือให้คำแนะนำลองหาความสามารถด้านอื่นๆของคุณดูแล้วจะรู้ว่าการก้าวข้ามขีดจำกัดตนเองไม่ยากอย่างที่คิดขอขอบคุณOPENBOX ARCHITECTSออกแบบสถาปัตยกรรมตกแต่งภายในแลนด์สเคป

บุญถาวร Facade Technology – ที่ปรึกษาจัดจำหน่ายและติดตั้งงาน Facade