OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

ก้าวข้ามขีดจำกัด แผ่นพื้น เฌอร่าบอร์ด บทพิสูจน์ผ่านงานวิ่งมาราธอน ณ สะพานข้ามแม่น้ำแคว

“ข้อจำกัด” สร้างสถานการณ์ที่ช่วยพิสูจน์ความจริงหลายๆอย่างได้เสมอ เช่นเดียวกับการ “ก้าว” ข้ามขีดจำกัดของตนเอง และการไปให้ถึงเส้นชัยโดยมีข้อจำกัดเรื่องเวลา ระยะทาง และแรงต้านทานที่ต่างเข้ามาพร้อมกัน เพื่อให้ได้คำตอบที่เป็นข้อยืนยัน ว่าเราสามารถทำได้สำเร็จ อย่างงดงาม…

ทีม Dsign Something ได้รับเกียรติเดินทางไปชมงานติดตั้งพื้น ซึ่งจะเป็นพื้นทางวิ่ง ทางเดิน สำหรับงานวิ่งมาราธอนที่มีชื่อว่า FB River Kwai Half Marathon Thailand Championship 2017 งานวิ่งที่จัดขั้นเป็นปีที่ 2 แล้ว ซึ่งครั้งนี้ก็ทำการจัดขึ้นที่จังหวัดกาญจนบุรี และไฮไลท์หลักในการวิ่ง คือการวิ่งผ่าน สะพานข้ามแม่น้ำแคว ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นทางสำหรับรถไฟ และผู้คนได้เดินสัญจรยามที่ไม่มีรถไฟวิ่งเท่านั้น แต่ครั้งนี้จะทำการปูพื้นใหม่ให้ราบเรียบทั้งหมด ให้เหมาะสำหรับการวิ่งมาราธอนนี้

ประวัติสะพานข้ามแม่น้ำแคว

สะพานข้ามแม่น้ำแคว เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง เป็นสะพานที่สำคัญที่สุดของเส้นทางรถไฟสายมรณะ สร้างขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ ทหารอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ฮอลันดา และนิวซีแลนด์ประมาณ 61,700 คน สมทบด้วยกรรมกรชาวจีน ญวน ชวา มลายู ไทย พม่า และอินเดีย อีกจำนวนมาก มาก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นเส้นทางผ่านไปสู่ประเทศพม่า ซึ่งเส้นทางช่วงหนึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่ จึงต้องมีการสร้างสะพานขึ้น การสร้างสะพานและทางรถไฟสายนี้ เต็มไปด้วยความยากลำบาก ความทารุณของสงครามและโรคภัย ตลอดจนการขาดแคลนอาหาร ทำให้เชลยศึกหลายหมื่นคนต้องเสียชีวิตลง

สะพานข้ามแม่น้ำแควใช้เวลาสร้างเพียง 1 เดือน โดยนำเหล็กจากมลายูมาประกอบเป็นชิ้น ๆ ตอนกลางทำเป็นสะพานเหล็ก 11 ช่วง หัวและโครงสะพานเป็นไม้ มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2487 ได้ถูกทิ้งระเบิดหลายครั้งจนสะพานหักท่อนกลาง ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง รัฐบาลไทยได้ซ่อมแซมใหม่ด้วยเหล็กรูปเหลี่ยม เมื่อปี พ.ศ. 2489 จนสามารถใช้งานได้ ปัจจุบัน มีการยกย่องให้เป็น สัญลักษณ์แห่งสันติภาพ

ข้อจำกัดเรื่องเวลา

เนื่องจากสะพานข้ามแม่น้ำแควนี้ เป็นเส้นทางรถไฟที่มีการใช้งานทุกวัน โดยรถไฟขบวนแรกของวันจะเป็นเวลาประมาณ 10.00 น. ส่วนรถไฟขบวนสุดท้ายของวัน จะผ่านเวลาประมาณ 18.00 น. โดยการใช้งานในการวิ่งมาราธอนจริง คือช่วงเวลา 05.00 น. – 08.00 น. ซึ่งเท่ากับว่าทีมงานจะมีเวลาติดตั้งและรื้อถอน เพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น 

ออกแบบโครงสร้างพิเศษ เพื่อความรวดเร็วและแข็งแรงที่มากกว่า

หลังจากที่เราได้พูดคุยกับทีมผู้ออกแบบโครงสร้างของการวางแผ่นพื้นครั้งนี้ ก็พบว่าทีมงานได้ออกแบบโครงสร้างพิเศษสำหรับพื้นนี้ ซึ่งมีความยาวกว่า 450 เมตร โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนที่ 1 เป็นส่วนของพื้นทางเดินด้านข้าง ที่มีการติดตั้งไว้ก่อนหน้าวันงานประมาณ 1 เดือน โดยจะเป็นโครงเหล็กกล่องที่ตั้งขายกระดับขึ้นมาจากพื้นสะพาน 15 เซนติเมตร กว้างประมาณ 60 เซนติเมตร ยาว 120 เซนติเมตรต่อแผ่น เพื่อรองรับ แผ่นพื้น เฌอร่าบอร์ด หนา 20 มิลลิเมตร (แผ่นพื้นหนา 20 มิลลิเมตร คือความหนาของแผ่นพื้น เฌอร่าบอร์ด ที่มากที่สุด และแข็งแรงที่สุด) ยึดแผ่นพื้นด้วยสกรู ติดตั้งรอส่วนที่ 2 ซึ่งจะมาติดตั้งในวันที่ 9 ธันวาคม (วันก่อนหน้างานวิ่ง 1 วัน) 

ส่วนที่ 2 เป็นส่วนกลางของทางรถไฟหรือทางวิ่งนี้ ออกแบบให้มีการเว้นช่องว่างไว้ประมาณ 180 เซนติเมตร คือระยะของช่องว่างที่รถไฟยังสามารถวิ่งผ่านได้นั่นเอง และทำการเสริมโครงเหล็กที่ช่องว่างตรงกลาง เพื่อเพิ่มการรับน้ำหนักที่จะถ่ายจากแผ่นพื้น ลงสู่โครงสร้างของสะพานต่อไป ซึ่งโครงสร้างนี้ ทีมงานได้ออกแบบและยกมาติดตั้งไว้ก่อนหน้าวันงานเรียบร้อยแล้ว เป็นโครงเหล็กที่ไม่เป็นอันตรายต่อการเดินรถไฟ เพราะไม่มีส่วนใดยื่นเกินขึ้นมา แถมยังเป็นการออกแบบโครงให้มีขาล็อคกับโครงสร้างสะพาน สามารถถอดประกอบได้ โดยไม่ต้องใช้การยิงสกรูหรือขันน็อตใดๆเข้ากับตัวสะพานเลย

ติดตั้งง่ายและรวดเร็ว

เมื่อรถไฟขบวนสุดท้ายวิ่งผ่านสะพานข้ามแม่น้ำแควนี้ไป ทีมงานของเฌอร่าก็ได้เวลาเริ่มงาน โดยค่ำวันที่ 9 ธันวาคม 2560 หากใครได้ไปที่สะพานข้ามแม่น้ำแคว ก็จะเห็นทีมงานและช่างผู้เชี่ยวชาญกำลังทำงานกันอย่างขะมักเขม้น ซึ่งงานที่เหลือสุดท้ายนี้ คือการวางแผ่นพื้น เฌอร่าบอร์ด หนา 20 มิลลิเมตร ลงในช่องว่างที่เดิมเคยเป็นรางรถไฟ ให้กลายเป็นพื้นที่ราบเรียบ

Tip : แผ่นพื้น เฌอร่าบอร์ด หนา 20 เป็นแผ่นพื้นสำเร็จรูป ที่หนาที่สุดในการนำมาทำเป็นแผ่นพื้น โดยปกตินั้นแผ่นพื้น เฌอร่าบอร์ด สามารถรับน้ำหนักได้มากเกินการใช้งานทั่วไปอยู่แล้ว ซึ่งการนำมาใช้งานเป็นทางวิ่งมาราธอนนั้น ก็ยังคงอยู่ในขอบเขตความสามารถของการรับน้ำหนักได้สบายๆ โดยความแข็งแรงของพื้นนั้น ก็ขึ้นอยู่กับโครงสร้างที่รับพื้นนั้นๆด้วย โดยโครงดังกล่าว ทีมออกแบบได้คำนวณมาแล้ว และให้โครงเคร่าห่างกันทุกๆ 60 เซนติเมตร ซึ่งเป็นระยะมาตรฐานของการติดตั้งแผ่นพื้น เฌอร่าบอร์ด

ทีมงานทำการปูแผ่นพื้น เฌอร่าบอร์ด ตลอดความยาวของสะพานกว่า 450 เมตร เสร็จสิ้นภายในเวลา 2 ชั่วโมง หลังจากนั้นเป็นการตรวจเช็คความเรียบร้อยของแผ่นพื้น รอยต่อ และทดลองเดิน วิ่ง เพื่อความมั่นใจ หากพบเจอจุดที่ยังไม่สมบูรณ์ก็จะทำการแก้ไขกันทันที โดยรวมความกว้างทางเดินเมื่อปูแผ่นพื้น เฌอร่าบอร์ด แล้วอยู่ที่ประมาณ 3 เมตร

ทำการติดสติ๊กเกอร์ตกแต่งอีกเล็กน้อยถือว่าเป็นอันเสร็จสิ้น

นอกจากแผ่นพื้นแล้ว ยังมีไม้รั้ว เฌอร่า ด้วย

นอกจากแผ่นพื้น เฌอร่าบอร์ด ที่นำมาทำเป็นพื้นทางเดินแล้ว ยังมี ไม้รั้ว เฌอร่า ที่นำมาทำเป็นรั้วกันตกในบริเวณเชิงสะพาน ซึ่งเดิมนั้น ไม่มีราวกันตกแต่อย่างใด แต่เพราะเมื่อมีการใช้งานที่มากขึ้น จำนวนคนมากขึ้น พื้นที่บริเวณนี้จึงต้องกั้นขอบเขตและกันตก โดยทีมงานเฌอร่าได้ทำโครงสร้างขึ้นมารับไม้รั้ว เฌอร่า นี้โดยเฉพาะ ออกแบบให้ติดตั้งไม้รั้วแนวตั้ง เว้นช่องว่าง 15 เซนติเมตรตลอดเแนว ทั้งดูสวยงามและยังสามารถใช้งานพื้นที่ได้อย่างปลอดภัยด้วย

คุณสมบัติ ที่เอื้อต่อการใช้งานทุกรูปแบบ

นอกจากความแข็งแรง ทนทานในการรับน้ำหนัก ของแผ่นพื้น เฌอร่าบอร์ด แล้ว เรื่องของความทนทานต่อสภาพอากาศ ยังเป็นจุดเด่นของวัสดุนี้ พิสูจน์ได้จากการติดตั้งพื้นทางเดินด้านข้างก่อนหน้างานวิ่งเป็นเวลานับเดือน สภาพของแผ่นพื้นนั้นยังคงอยู่ในสภาพดี ไม่มีร่องรอยของการบิด บวม หรือชำรุดใดๆ แสดงให้เห็นว่าแผ่นพื้น เฌอร่าบอร์ด นั้นสามารถใช้งานได้ทั้งภายในและภายนอกอาคารได้อย่างหายห่วง อีกทั้งยังไม่ต้องบำรุงรักษามากด้วย

แผ่นพื้นที่มีน้ำหนักเบา ไม่เป็นภาระต่อโครงสร้างสะพาน

เป็นอีกคำถามที่ผุดขึ้นระหว่างดูการติดตั้ง ว่าแผ่นพื้นรวมถึงโครงเคร่าเหล็กที่เพิ่มเติมขึ้นเหล่านี้ จะเป็นภาระต่อโครงสร้างเดิมของสะพานหรือไม่ แต่เมื่อสอบถามผู้ออกแบบก็ทราบว่า น้ำหนักของแผ่นพื้น เฌอร่าบอร์ด นั้นมีน้ำหนักเบามาก เมื่อเทียบกับความสามารถในการรับน้ำหนักแล้ว ถือว่ามีความสามารถในการรับน้ำหนักโดยที่มีน้ำหนักต่อแผ่นที่เบา จึงไม่เป็นการเพิ่มภาระหรือเพิ่มน้ำหนักให้สะพานเดิมนั่นเอง

การก้าวข้าม ขีดจำกัดของตนเอง

กิจกรรมวิ่งเริ่มต้นขึ้นด้วยความคึกครื้น และจบลงด้วยความน่าภาคภูมิใจ ความภูมิใจที่ได้ก้าวข้ามความสามารถของตนเอง เข้าเส้นชัยแห่งความสำเร็จที่เราทุกคนต่างร่วมกันแสดงความยินดีแก่กัน การวิ่งในครั้งนี้ จึงไม่ใช่เพียงการออกกำลังกาย หรือการได้เข้าเส้นชัยเท่านั้น แต่เป็นการที่ผู้ร่วมวิ่งทุกคนได้รู้และเข้าใจความสามารถของตนเองอย่างชัดแจ้ง และเราก็จะรู้ว่า ไม่ว่าเส้นทางไกลเพียงใดก็สามารถสำเร็จได้ หากเราตั้งใจและหมั่นฝึกซ้อม

เช่นเดียวกับวัสดุที่นำมาใช้ปูพื้นในงานวิ่งครั้งนี้ คือ แผ่นพื้น เฌอร่าบอร์ด ที่ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถที่เกินตัว และหลากหลาย เปิดความคิดให้ผู้ที่พบเห็นได้เข้าใจการใช้งานของวัสดุนี้มากขึ้นไปอีกขั้น

บทพิสูจน์สุดท้ายคือการรื้อถอน

ผู้เข้าแข่งขันคนสุดท้ายวิ่งผ่านสะพานเมื่อตอนประมาณ 8.00 น. ทีมงานจะต้องทำการรื้อถอนทางเดินส่วนกลางให้ทันเวลา 10.00 น. ซึ่งเป็นเวลาของรถไฟขนวบแรกที่จะผ่านมา โดยมีการแบ่งทีมงานออกเป็น 2 ชุด โดยเริ่มยกเก็บแผ่นพื้นจากทั้ง 2 ฝั่งของสะพาน โดยใช้ 2 คน ในการยก 1 แผ่น ขนกลับไปยังปลายสะพานซึ่งมีรถขนสินค้ารออยู่ 

และเพียง 1 ชั่วโมงเศษ สะพานข้ามแม่น้ำแควที่เราคุ้นเคยก็กลับมาเหมือนเดิมอีกครั้ง นักท่องเที่ยวต่างพากันเดินชมความงามของสะพานและธรรมชาติรอบตัว เป็นภาวะปกติที่สามารถใช้งานได้ทั้งผู้คนและรถไฟที่กำลังจะมาถึง

งานวิ่งมาราธอนนี้ แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติของวัสดุที่นำมาทำเป็นพื้นทางวิ่งได้เป็นอย่างดี ว่าสามารถใช้งานได้หลากหลาย ตอบรับกับกิจกรรมต่างๆ และสามารถรักษาโครงสร้างเดิม หรือโครงสร้างสะพานข้ามน้ำแควไว้อย่างสมบูรณ์ ด้วยความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา รวมถึงความรวดเร็วในติดตั้ง แผ่นพื้น เฌอร่าบอร์ด ที่แม้แต่การใช้งานสุดโหดอย่างการวิ่งมาราธอน ยังสามารถรองรับได้ กับการใช้งานทั่วไปก็คงไม่มีเรื่องอะไรให้ต้องกังวลอีกต่อไปครับ

ต้องการข้อมูลสินค้าเพิ่มเติม คลิกได้ที่ www.sherasolution.com