OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

รู้จัก”สถาปัตยกรรมเขตร้อน”ที่ออกแบบสอดคล้องกับสภาพอากาศ

เดินทางเข้าสู่หน้าร้อนกันอย่างสมบูรณ์แบบแล้วสำหรับประเทศไทย แนวคิดงานออกแบบสถาปัตยกรรมให้สอดคล้องกับสภาพอากาศบ้านเรานั้นถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะนอกจากจะทำให้ผู้อยู่อาศัยแต่ละพื้นที่อยู่ได้แบบสบายๆ โดยเฉพาะหน้าร้อนที่อากาศอบอ้าวแล้ว ยังมีผลต่อในทุกฤดูกาลด้วย ซึ่ง “Tropical Architecture” ก็ถือเป็นผลงานออกแบบสำหรับผู้อยู่อาศัยในเขตร้อน รวมถึงประเทศไทยของเราด้วย วันนี้ Dsign Something จึงได้รวบรวมแบบบ้าน Tropical ทั้งไทยและเทศ มาให้ชมกัน

บ้านทิวสน…บ้านสไตล์โมเดิร์นทรอปิคอล ท่ามกลางสวนสวยและต้นสน
Architect:
 Polar Architect

Photograph: Chaovarith Poonphol

“บ้านทิวสน” เริ่มต้นจากการที่เจ้าของบ้านเป็นผู้หลงใหลในธรรมชาติและชื่นชอบการปลูกต้นไม้เป็นอย่างยิ่ง จึงมีแนวคิดที่ต้องการให้บ้านเป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติ แสงแดดและสายลมพัดผ่านเข้ามาได้เกือบทุกมุม ไม่ว่าจะนั่งตรงไหนก็สามารถสัมผัสได้ถึงสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่อยู่ใกล้ตัวตลอดเวลา สามารถมองเห็นต้นสนและสวนที่เจ้าของบ้านปลูกด้วยตนเอง อีกทั้งเลือกใช้วัสดุที่นำมาจากธรรมชาติ ถือว่าเป็นการสร้างความกลมกลืนระหว่างบ้านและธรรมชาติได้อย่างแนบเนียน

การตกแต่งบ้านทั้งในและนอกอาคารถูกออกแบบภายใต้แนวคิดสไตล์ “โมเดิร์นทรอปิคอล” โดยจะเห็นได้จากวัสดุที่เป็นไม้ อิฐ และการออกแบบชายคายื่น เพื่อบังแดดและระบายอากาศ อย่างแผงไม้ด้านหน้าและด้านข้างของอาคาร โดยสถาปนิกได้กำหนดองศาการยกขึ้นลงของแต่ละบานไว้จากการคำนวณมาเป็นอย่างดี และมี Facade ระแนงไม้ที่เป็น Double Skin ช่วยกรองแสงแดดและความร้อนเข้าสู่พื้นที่อยู่อาศัยอีกด้วย

อ่านบทความเต็มๆได้ที่… http://bit.ly/DSS_Tiwson

บ้านที่เปิดและปิดได้อย่างพอดี
Owner: ธาวิน เรืองสวัสดิ์ และ เนตรนิภา พรหมนารท
Architect: Jun Sekino Architect & Design
Photograph: จิณณวัตร บริหารกิจอนันต์

บ้านหลังนี้เป็นบ้านที่เลือกการเปิด-ปิด พื้นที่ได้อย่างพอดี ทั้งการเปิดเพื่อเชื่อมต่อความสัมพันธ์ครอบครัว และการปิดเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว อีกทั้งยังมีการประยุกต์ใช้ส่วนประกอบจากบ้านทรงไทย อย่างการสร้างพื้นที่คอร์ทตรงกลางบ้านที่เป็นดั่งใจกลางพื้นที่กิจกรรมของทุกคนในครอบครัว ซึ่งให้ความรู้สึกเหมือนพื้นที่ใต้ถุนเรือนไทย โดยเป็นพื้นที่กึ่งภายในภายนอกที่สามารถเปิดรับแสงแดดและระบายอากาศได้ดี

นอกจากนี้ยังมีการใช้ไม้รีไซเคิลจากบ้านเก่าได้อย่างน่าสนใจ ภายในบ้านโปร่ง โล่ง พื้นที่เชื่อมต่อกัน ไม่ว่าจะมองจากมุมไหนภายในบ้านก็สามารถมองเห็นอีกส่วนหนึ่งได้เสมอ ในขณะที่ภายนอกกลับดูมีความเป็นส่วนตัวให้กับผู้พักอาศัย ด้วยการออกแบบให้มีระแนงเหล็กปิดบังพื้นที่ระเบียงชั้น 2 ซึ่งองค์ประกอบทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของเจ้าของบ้านและเป็นบ้านที่อยู่แล้วสบายใจมากที่สุด

อ่านบทความเต็มๆได้ที่… http://bit.ly/2Oe9Lrn

House Flow บ้านริมคลอง
Owner:
 ขจร ธนะแพสย์และ Eugene Kroon

Architect: รศ.ดร.ต้นข้าว ปาณินท์ และ ธนาคาร โมกขะสมิต จาก Research Studio Panin 

บ้านสีขาวสไตล์โมเดิร์นทรอปิคอล 2 ชั้น ความโปร่งโล่ง เบาสบาย เหมือนไม่มีบานกระจกสักบานมากั้นระหว่างพื้นที่ภายในและภายนอกบ้าน มีเครื่องปรับอากาศเป็นลมจากธรรมชาติ ถึงแม้อากาศจะร้อน แต่ก็ออกแบบโดยคำนึงถึงทิศทางแดด ลม ฝน เป็นหลัก

พื้นที่ภายในบ้านมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่าง indoor และ outdoor มีเลเยอร์ของระเบียงและ façade สำหรับบังแดดและกันฝน จึงทำให้รู้สึกว่าตัวบ้านมีกลิ่นอายความเป็นทรอปิคอล ในเรื่องการออกแบบที่สอดคล้องกับสภาพอากาศ

อ่านบทความเต็มๆได้ที่… http://bit.ly/2BmvfzJ

สถาปัตยกรรมเบาสบาย ที่ทำการใหม่ของ Baansomtum HQ
Owner: สุวภัทร ชูดวง, พีรณัช ชูดวง
Architect: สุวภัทร ชูดวง
Photograph: จิณณวัตร บริหารกิจอนันต์

สถาปัตยกรรม Tropical หลังนี้ ไม่ใช่บ้าน แต่เป็นสำนักงานใหม่ของบ้านส้มตำ ที่ “โล่ง โปร่ง สบาย” ด้วยการออกแบบผ่านความตั้งใจและดีเทลมากมายที่ต้องผ่านการคิดมาครั้งแล้วครั้งเล่า โดยมีการใช้วัสดุและโครงสร้างที่เรียบง่ายอย่างเหล็กและไม้ คลุกเคล้ากับงานท้องถิ่นไทย เช่น การยกอาคารขึ้นสูง เพื่อให้มีพื้นที่ใต้ถุนช่วยให้ลมพัดผ่าน และระบายอากาศได้ดี

เรื่องของการยื่นยาวเกินออกมาจากแนวเส้นโครงสร้าง ไม่ว่าจะเป็นพื้น ชายคา จันทัน ทำให้เกิดมิติของอาคารที่มีหน้าที่ช่วยบังแดดฝน อีกนัยหนึ่งยังช่วยให้อาคารดูเบาลอย บวกกับความบางของเส้นโครงสร้างเหล็ก ทำให้สถาปัตยกรรมชิ้นนี้โปร่งเบาโดยไม่ต้องสงสัย นอกจากนี้ผู้ออกแบบยังตั้งใจออกแบบวัสดุให้ไม่เหลือเศษในการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นแผ่นไม้อัด ซีเมนท์บอร์ด หรือกระจก จะมีขนาด 1.2 x 2.4 เมตร เป็นพื้นฐานเดียวกันหมด หยิบจับขนาดพื้นฐานวัสดุมาวางเป็นสัดส่วนหลักของอาคาร

อ่านบทความเต็มๆได้ที่… http://bit.ly/Baansomtum_Hq

Think for Better Living สถาปัตยกรรมอยู่สบายแบบทรอปิคอลโมเดิร์น
Owner:
 วีระพล และธนพร เลิศรัตนชัย

Architect: รักศักดิ์ สุคนธะตามร์ Green Dwell

เริ่มต้นด้วยการพิจารณาที่ตั้งของบ้าน ทิศทางแดด ลม ฝน ที่จะเกิดขึ้น รวมถึงมุมมองรอบข้างที่มีผลต่อการเปิดช่องเปิด และการออกแบบจัดวางพื้นที่การใช้งานของบ้าน แปลนบ้านเป็นรูปตัวยู (U) โดยหันขาตัวยูไปยังทิศของทะเลสาบของหมู่บ้าน โดยสถาปนิกมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมคือการปลูกต้นไม้ใหญ่บริเวณสวนกลางบ้าน 2-3 ต้น เพื่อกรองแสงแดดที่จะเข้าสู่ตัวบ้านในช่วงเวลาบ่ายแก่ๆ ซึ่งแสงแดดจะเฉียงมากและด้านดังกล่าวไม่มีอาคารอื่นมาช่วยบังแดด

สถาปนิกเลือกวางห้องต่างๆ ตามทิศทางและปริมาณการรับแดดในแต่ละวัน เช่น ตำแหน่งที่มีการโดนแดดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาจพิจารณาให้เป็นห้องที่ใช้งานในตอนกลางคืนเป็นหลัก เช่น ห้องนอน แต่ต้องช่วยลดปริมาณแสงแดดที่มากระทบดังกล่าวโดยการกรองแสงด้วยร่มเงาที่เกิดจากระแนง หรือ ต้นไม้ใหญ่ ซึ่งทำให้เมื่อตกดึกที่มีการใช้งาน ความร้อนก็ไม่สะสมอยู่มากนัก และเครื่องปรับอากาศก็ทำงานไม่หนักเกินไป

อ่านบทความเต็มๆได้ที่… http://bit.ly/Green-Dwell_

Perfect Combination : U38 House โลกส่วนตัว ในสถาปัตยกรรมเหล็ก
Owner:
คุณพงษ์ศักดิ์ ก่อเกียรติสันติ

Architect: OFFICE AT Co., Ltd.

บ้านหลังนี้มีพื้นที่ประมาณ 400 ตารางเมตร รวมพื้นที่ระเบียงและทางเดินแล้ว โดยเจ้าของบ้านต้องการให้เป็นบ้านที่โปร่งสบาย สามารถอยู่อาศัยได้โดยไม่ต้องเปิดเครื่องปรับอากาศตลอดเวลา รวมถึงการใช้งานภายในบ้าน ต้องเรียบง่าย ใช้ง่าย และไม่มีความซับซ้อนของพื้นที่ ใช้งานพื้นที่ทุกส่วนอย่างคุ้มค่าที่สุด

แม้จะเป็นบ้านเหล็กแต่ก็มีการออกแบบสภาพอากาศแบบร้อนชื้นของไทย โดยการวางตัวอาคารและออกแบบช่องเปิด รวมถึงผนังทึบที่สอดคล้องกัน โดยผนังด้านที่หันไปทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตก จะเป็นผนังทึบ ผนวกกับเป็นด้านที่วางชิดกับขอบเขตที่ดิน จึงไม่อนุญาตให้ทำเป็นช่องเปิดได้ แสงแดดที่มากระทบจะถูกกั้นด้วยตู้เก็บของที่วิ่งยาวตลอดแนวอีกชั้น ทำให้บ้านไม่ร้อน อีกทั้งตัวบ้านยังมีการเปิดช่องอากาศให้สามารถระบายความร้อนได้เป็นอย่างดี

อ่านบทความเต็มๆได้ที่… http://bit.ly/2o5DfxA

House 24 : บ้านทรอปิคอลที่สร้างประสบการณ์การเข้าถึงแบบใหม่ บนพื้นที่สามเหลี่ยม
Location:
สิงคโปร์

Architect: Park+Associates Architects
Photograph: Edward Hendricks

“House 24” บ้านสไตล์ทรอปิคอล สร้างบนพื้นที่สามเหลี่ยม มีคอร์ทยาดที่ล้อมรอบไปด้วยระแนงไม้ที่ทุกชิ้นทำด้วยมืออย่างปราณีต สื่อความหมายถึงสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่สวยงาม และเผยให้เห็นถึงสัจจะรายละเอียดที่น่าค้นหาของตัววัสดุเอง โดยการเรียงตัวในรูปแบบที่มีการเว้นระยะห่างนี้ เมื่อแสงธรรมชาติพาดผ่านเข้ามาจะทำให้เกิดจังหวะของแสงและเงา ซึ่งนอกจากจะสร้างความงดงามและสัมผัสกับธรรมชาติได้อย่างใกล้ชิดแล้ว ลมยังสามารถไหลผ่านเข้าสู่พื้นที่ภายในทำให้บ้านไม่ร้อนอบอ้าวจนเกินไปเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของประเทศสิงคโปร์ด้วย

นอกจากนี้ยังมีระแนงไม้ที่ปิดล้อมด้านบนมีการเว้นช่องว่างเพื่อให้ต้นไม้เติบโตขึ้นไปอย่างเป็นธรรมชาติ และมองถึงการวางตัวบ้านที่ต้องตอบรับการใช้งานพื้นที่ และมีความเป็นส่วนตัว ในขณะที่สามารถเปิดรับวิวทิวทัศน์ที่รายล้อมไปด้วยความเขียวชะอุ่มของต้นไม้ใบหญ้าโดยรอบ

อ่านบทความเต็มๆได้ที่… http://bit.ly/Dwell_House24

H House บ้านที่ต้อนรับสภาพอากาศในเขตร้อนชื้น และงานศิลปะที่สถาปัตยกรรมและธรรมชาติร่วมกันสรรสร้าง
Location: 
โฮจิมินห์, เวียดนาม

Architect: VACO Design
Photograph: Quang Dam

“H House” บ้านที่เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อมในเขตร้อนชื้นอย่างประเทศเวียดนาม โดยการต้อนรับการพัดผ่านของลมเพื่อระบายอากาศ ยินดีให้แดดส่องสะท้อนเข้ามาในปริมาณที่พอดี การใช้วัสดุอินทรีย์ และบรรยากาศความเขียวขจีของต้นไม้ใบหญ้าที่ได้รับแรงบันดาลใจจากหน่วยความทรงจำของสถาปนิก VACO Design ผู้เกิดและเติบโตในไซ่ง่อน ประเทศเวียดนาม สร้างสรรค์ให้บ้านหลังนี้มีเอกลักษณ์และลักษณะร่วมสมัยในแบบฉบับสถาปัตยกรรมเวียดนามได้อย่างน่าสนใจ

แสงและเงาที่พาดผ่านเข้ามาภายในบ้าน ทำให้เกิดรูปแบบงานศิลปะแบบใหม่โดยฝีมือของสถาปัตยกรรมและธรรมชาติ โดยความน่าสนใจอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบความสวยงามที่เกิดขึ้นแต่ะพื้นที่ ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน

อ่านบทความเต็มๆได้ที่… http://bit.ly/H_House_Vietnam

Stepping Park House
ปลอดโปร่งอย่างมีระดับ เท่ากับขยับเข้าใกล้ธรรมชาติ
Location: โฮจิมินห์, เวียดนาม

Architect: VTN Architect
Photographs: Hiroyuki Ok

“Stepping Park House” เป็นอีกหนึ่งผลงานล่าสุดในโปรเจ็กต์ House for Trees ในประเทศเขตร้อนชื้นอย่างเวียดนาม ที่ดึงธรรมชาติที่มีอยู่รอบตัวอย่างสวนสาธารณะมาจัดสรรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า สถาปัตยกรรมเพื่อช่วยแก้ปัญหาการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น พร้อมแบ่งปันสิ่งแวดล้อมในเวลาเดียวกัน

ภายในมีต้นไม้ และมี Green façade หรือผนังเปลือกอาคารที่ขนาบทั้งสองข้างของบ้านด้วยไม้เลื้อยจะช่วยลดความร้อนจากแสงแดดและให้ความร่มรื่น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของที่อยู่อาศัยในเขตร้อนชื้น

อ่านบทความเต็มๆได้ที่… http://bit.ly/2Cnzxpk