OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

ลองเช็คดูสิว่า คุณเป็นสถาปนิกสายไหน?

อย่างที่รู้กันดีว่า การทำงานของสถาปนิกประกอบไปด้วยขั้นตอนมากมายสารพัดอย่างกว่าจะออกมาเป็นสถาปัตยกรรมอย่างที่เห็น เริ่มตั้งแต่การคิดไอเดีย ร่างแบบ วางแปลนฟังก์ชัน หรือแม้แต่งานก่อสร้าง ซึ่งเชื่อเลยว่าสถาปนิกแต่ละคนก็คงมีขั้นตอนที่ชื่นชอบแตกต่างกันไป บางขั้นตอนเราอาจจะถนัด ทำได้ดีและอินกับมันมากเป็นพิเศษ ส่วนบางขั้นตอนก็ไม่ชอบเอาซะเลย จนต้องมีเซ็ง หรือปวดหัวกับมันไปบ้าง

Dsign Something จึงชวนมาลองเช็คกันเล่นๆ ดูว่าเราเป็นสถาปนิกสายไหน ไม่จำเป็นต้องเป็นข้อใดข้อหนึ่ง เพียงแต่อยากให้สำรวจดูก่อนว่าลักษณะการทำงานของเราคล้ายคลึงรูปแบบใด สำหรับบางคนอาจจะมีความชื่นชอบหรือมีสกิลของหลายๆ ข้อผสมกันอยุ่ก็เป็นได้

1.สายโครงสร้าง

สำหรับสายนี้ คงพูดได้ว่า อาจจะต้องถึกสักนิดหนึ่ง เพราะอาจจะชื่นชอบการได้ลงหน้างานไซต์จริงมากกว่างานที่นั่งทำกับโต๊ะ อยู่แต่ในออฟฟิศ หรืออินกับการออกแบบโครงสร้างเช่น เสา คาน ในงานสถาปัตยกรรมมากกว่าขั้นตอนอื่นๆ จะออกแบบอะไร ก็มักจะคิดถึงโครงการก่อนหรือชอบให้งานโชว์โครงสร้างที่มองเห็นได้ชัดๆ นั่นเอง

2.สาย conceptual

คนสายนี้อาจมีคนไม่เข้าใจเขามากนัก แต่ก็เป็นอีกสายหนึ่งที่มักสร้างผลงานแปลกใหม่มาให้เราเห็นกันอยู่บ่อยๆ เนื่องจากชื่นชอบสร้างสรรค์ไอเดียจากนามธรรมให้กลายเป็นรูปธรรม หรือถนัดสร้างเรื่องราวแนวคิดให้งานสถาปัตยกรรมเหล่านั้นพิเศษ มีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งสายนี้มักจะเริ่มงานจากมโนภาพที่เกิดขึ้นในหัว สร้างสรรค์จนเกิดเป็นงานออกแบบอันแตกต่างและน่าสนใจ

3.สายเน้นฟอร์ม

สายนี้อาจจะอินกับรูปร่าง เส้นสายมากเป็นพิเศษ ชอบงานที่โดดเด่นด้วยฟอร์มที่หวือหวาอันเป็นเอกลักษณ์
ซึ่งอาจจะคิดงานจากรูปลักษณ์ภายนอกที่เห็นเด่นชัดที่สุดก่อน และให้ความสำคัญกับเปลือกหรือรูปทรงของอาคารเป็นอันดับแรกๆ ซึ่งสำหรับสถาปนิกสายนี้ก็ต้องให้ความสำคัญกับฟังก์ชันด้วยเช่นกัน ไม่อย่างนั้นอาคารที่ถูกออกแบบมาอาจจะดูสวยแต่ใช้งานไม่ดีก็เป็นได้

4.สายมินิมอล

สายมินิมอลผู้ยึดคติ ‘less is more’ สถาปนิกสายนี้มักจะชอบงานที่มองผิวเผินอาจจะดูเรียบง่ายมากๆ แต่แท้จริงแล้วมีรายละเอียดที่ซ่อนอยู่อย่างแนบเนียน ชอบมู้ดแอนด์โทนของความคลีน สะอาดตา น้อยแต่มากเรียบแต่โก้ที่แท้จริง ซึ่งไม่เพียงแต่การทำงานเท่านั้น สถาปนิกสายนี้ยังอินกับวิถีชีวิตแห่งความเรียบง่าย ทั้งการแต่งตัว รวมถึงของใช้ในชีวิตประจำวันอีกด้วย


5.สายฟังก์ชัน

ในการออกแบบสถาปัตยกรรม แน่นอนว่าไม่ว่าสถาปนิกสายไหน ย่อมต้องคิดและใส่ใจในเรื่องของฟังก์ชันเช่นเดียวกัน แต่สำหรับสถาปนิกสายนี้อาจจะใส่ใจกับมันมากเป็นพิเศษ โดยเริ่มออกแบบจากการคิดฟังก์ชันมาก่อนอย่างอื่น มักชอบที่จะวางแผนและแก้ไขปัญหาจากข้อจำกัดหลายอย่างที่มาจากโจทย์และความต้องการของผู้ใช้งานหรือผู้อยู่อาศัย


6.สายเขียว (รักธรรมชาติ)

สายเขียวในที่นี้ คือ ความรักและหลงใหลในธรรมชาติ งานออกแบบของสถาปนิกสายนี้จึงมักมีการนำธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในงานออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นแสง ลม หรือพื้นที่สีเขียว และมักชื่นชอบงานที่สถาปัตยกรรมและธรรมชาติถูกร้อยเรียงเป็นเรื่องราวเดียวกัน


7.สายวัสดุ

‘วัสดุ’ องค์ประกอบที่มีผลอย่างมากในงานออกแบบ สถาปนิกสายนี้จึงใส่ใจกับวัสดุมากเป็นพิเศษ มักจะเป็นนักทดลองใช้วัสดุใหม่ๆ หรือนำวัสดุเดิมที่มีอยู่มาสร้างสรรค์เป็นรูปแบบใหม่ที่แตกต่าง จนทำให้งานชิ้นนั้นๆ โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์


8. สาย
Details

สำหรับสายนี้ คงพูดได้ว่าอาจจะเป็นคนละเอียดสักนิดหนึ่ง ซึ่งอาจจะชื่นชอบขั้นตอนของการออกแบบ การคิดองค์ประกอบ (elements) ต่างๆในงานออกแบบ มักจะมองเห็นรายละเอียดเล็กๆ ที่ซุกซ่อนอยู่ได้มากกว่าคนอื่นๆ และชอบการลงลึกละเอียดไปที่งานส่วนใดส่วนหนึ่งมากกว่าการมองภาพรวม