เมื่อถึงฤดูล่าฝันคว้าตำแหน่งงาน แต่ยังไม่รู้จะเริ่มที่ตรงไหน งั้นลองมาศึกษา 5 สูตรไม่ลับช่วยอัพพลังให้ใบสมัครงานกันดูก่อน
นอกจากจะเป็นพื้นที่จัดแสดงความสามารถ ตัวอย่างผลงานและประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์ที่ผ่านมาในพื้นที่ขนาดประมาณ A4 แล้ว portfolio ก็ยังทำหน้าที่เป็นเครื่องมือที่จะช่วยสะท้อนถึงตัวตน บุคลิกภาพ ทัศนะคติ ที่จะทำให้เราแตกต่างจากกอง portfolio สมัครงานอีกนับสิบใน inbox mail ของฝ่ายบุคคล และถ้าหากคุณยังไม่มั่นใจหรืออยากจะปรับปรุงจดหมายแนะนำตัวให้น่าสนใจยิ่งขึ้น เราก็มีข้อแนะนำง่าย ๆ เพื่อมาอัพเกรดเสริมพลัง portfolio ให้กลายเป็นสายแท๊งที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
1) คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ
ในขั้นแรกที่คุณกำลังรวบรวมเนื้อหาผลงานเพื่อนำมาจัดระเบียบให้ได้เนื้อหาที่ดีที่สุด หมายรวมถึงสเกตแบบร่าง พิมพ์เขียว ไดอะแกรมคอนเซป ภาพ perspective แต่จงคำนึงไว้เสมอว่า คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ ไม่จำเป็นต้องใส่ผลงานที่ทำมาทุกชิ้น แต่จงคัดสรรผลงานที่บ่งบอกความสามารถและสไตล์ของคุณได้ดีที่สุด เลือกใส่เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับขอบข่ายงานที่กำลังสมัครอยู่ เพื่อแสดงความเข้าใจและใส่ใจในบทบาทหน้าที่ตาม requirement ของบริษัท
สำหรับน้อง ๆ จบใหม่ที่หน่วยวัดประสบการณ์ทำงานยังเป็นศูนย์ เป็นนักศึกษาเพิ่งจะเริ่มก้าวผ่านจากรั้วมหาลัยเข้าสู่ประตูบานใหญ่แห่งวัยทำงาน ก็ควรจะรวบรวมผลงานที่เคยทำมาทั้งหมดสมัยเรียนเอาไว้ใส่ใน Portfolio ด้วย แบ่งเป็นหมวดหมู่ของกิจกรรม,ผลงานทางวิชาการ,การเข้าร่วมสัมมนา workshop ฝึกอบรม,รางวัลการแข่งขัน หรือความสามารถด้านอื่น ๆ เช่น ถ่ายรูป drawing painting ดนตรี กีฬา ลงไปเพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ของคุณเอง
https://issuu.com/danielid/docs/portfolio_2012_issuu
2) สร้างความประทับใจตั้งแต่หน้า CV (Curriculum Vitae)
เริ่มตั้งแต่เลือกภาพถ่ายที่ดูเหมาะสมกับบุคลิกของตัวเอง เป็นทางการแต่ไม่ต้องจริงจังเหมือนรูปติดบัตรประชาชน หรือดูซุกซนขนาดแลบลิ้นพร้อมชูสองนิ้วแบบรูปโปรไฟล์เฟสบุค ใส่ข้อมูลประวัติความเป็นมา การศึกษาเท่าที่จำเป็นและสัมพันธ์กับงานที่ทำ อย่าลืมพูดถึงทักษะทางด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการออกแบบและสถาปัตยกรรมที่คุณสามารถใช้งานได้ ทักษะด้านภาษา งานอดิเรก ความสนใจพิเศษ เพื่อให้พวกเค้าเข้าใจภาพรวมของคุณได้ง่ายที่สุด
3) นำเสนอ portfolio online ด้วยไฟล์ PDF
ข้อดีของยุคดิจิตอล 4.0 คือความสามารถในการจัดการแก้ไข ปรับปรุงเอกสารได้แบบรวดเร็วทันใจ มี template portfolio online ไว้ช่วยอำนวยความสะดวก แต่อย่าลืมแปลงไฟล์เป็น PDF เพราะอุปกรณ์ทุกเครื่องสามารถดาวน์โหลดได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าไปอ่าน นอกจากนี้คุณยังสามารถควบคุมรูปแบบและการจัดเรียงลำดับได้อย่างสมบูรณ์ และต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าขนาดไฟล์ของคุณมีขนาดความจุไม่เกิน 5MB เพื่อให้สามารถส่งไปพร้อมกับ email ได้ทุกฉบับ
4) Less is more พอดิบพอดี
มันไม่ได้เป็นแค่คำเท่ ๆ ที่เอาไว้ใช้อธิบายคอนเซปทางสถาปัตยกรรม เพราะมันสามารถนำมาปรับใช้กับ portfolio ไปด้วยได้ แนะนำให้เก็บผลงานของคุณให้เรียบง่าย สั้นกระชับที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ งานนำเสนอที่ใส่ข้อความยาว ๆ มีแนวโน้มที่จะทำให้ผู้อ่านรู้สึกสับสนและหันเหความสนใจจากจุดเนื้อหาหลักที่ต้องการจะนำเสนอ โดยปกติแล้วบริษัทจะใช้เวลาแค่ประมาณ 1-2 เพื่อตรวจสอบเนื้อหาคร่าว ๆ ใน portfolio ดังนั้นจึงควรทำให้พวกเค้าได้รับประโยชน์สูงสุดจากประวัติการทำงานและประสบการณ์ของคุณ ขั้นตอนการออกแบบ วิธีก้ปัญหา รุปผลงานในขั้นสุดท้าย ด้วยข้อความเนื้อหากะทัดรัดกับรูปภาพคุณภาพสูง ยิงให้ตรงเป้า เข้าให้ตรงจุด ทำให้พวกเค้าเข้าใจผลงานได้โดยง่าย
แทนที่จะวิเคราะห์ขั้นตอนการออกแบบทุกขั้นตอนอย่างละเอียด ลองตั้งชื่อภาพด้วยข้อความกำกับสั้น ๆ ที่จะช่วยอธิบายไดไปพร้อมกับภาพ
ออกแบบ template ให้แน่ใจว่าจะไม่รบกวนเนื้อหา แนะนำว่าให้ใช้สีที่เป็นกลางเพื่อผลักดันเนื้อหา (ภาพสเกต,แบบแปลน,ภาพperspective) ให้โดดเด่นยิ่งขึ้น เลือกสีพื้นหลังที่ดูสะอาด ไม่ใช้สีที่ดูน่าเบื่อที่จะช่วยดึงความสนใจให้กับเนื้อหาและรูปภาพ สีขาวหรือสีเทาอ่อนยังเป็นเป็นตัวเลือกที่ดีอยู่เสมอ กะเกณฑ์สัดส่วนเนื้อหา ข้อความ รูปภาพให้พอดีกับทุกอย่างที่ปรากฎอยู่ในหน้ากระดาษ ไม่จำเป็นต้องเขียนอธิบายเป็นตัวอักษรให้มากความเพราะกลัวเนื้อหาจะตกหล่น มุ่งความสนใจไปที่ใจความหลักที่ต้องการจะสื่อสาร โปรดพึงคิดเสมอว่าคุณภาพคือสิ่งที่สำคัญกว่าปริมาณ
5) หมั่นอัพเดตผลงานอยู่เสมอ
Portfolio เป็นเอกสารที่มีชีวิตจึงควรมีการพัฒนาอัพเดทความเคลื่อนไหว ในระยะเวลาทุก ๆ 6 เดือนหรือปีละครั้งเป็นอย่างน้อย เพราะหากทิ้งไว้นานอาจจะทำให้เอกสารผลงานหลงลืมหรือสูญหาย เหมือนกับนักออกแบบที่หมั่นอัพเกรดความสามารถเวอร์ชั่นใหม่ของตนเองอยู่เสมอ
อ้างอิงจาก
arch2o.com