OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

หรือฟังก์ชันหลักของสถาปัตยกรรม คือการพูดคุยกับมนุษย์อย่างเข้าอกเข้าใจ : ศูนย์พึ่งพิงทางใจย่านกลางเมือง

ศูนย์พึ่งพิงทางใจย่านกลางเมือง
Place for Healing Life in the City

สังคมไทยนั้นผูกพันกับพุทธศาสนามาเป็นเวลานาน จนกระทั่ง พุทธศาสนาเข้ามาอยู่ในทุกๆบริบทของชีวิต ถือได้ว่ามีความผูกพันเป็น ส่วนหนึ่งของกันและกัน เชื่อมทั้งทางโลก และทางธรรม วัดจึงเป็นที่พึ่ง ให้กับผู้คน โดยที่เรายังคงพบเห็นวิถีชีวิตแบบนี้ได้ในสังคมชนบท ใน สังคมเมืองนั้นมีสังคม การงาน และชีวิตเป็นสิ่งยึดโยงให้ก้าวเดินไป แต่ สิ่งเหล่านี้เองเป็นสิ่งที่บั่นทอนจิตใจของคนในเมืองก่อให้เกิดโรคทาง วิญญาณ และปัจจัยที่ท˚าให้พุทธศาสนาเคลื่อนออกจากผู้คนนั้น ประกอบด้วยความต่างทางภาษา พื้นที่วัดในเมืองไม่รองรับกับวิถีชีวิต ยุคใหม่

ดังนั้นจากปัจจัยดังที่กล่าวมานั้นเองทำให้เกิดเป็นวิทยานิพนธ์ที่ ต้องการใช้หลักธรรมมานำเสนอให้คนเมืองเข้าใจในสื่อใหม่ เพื่อเกิด ความเข้าใจในชีวิตและกลับมาดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข โดยพื้นที่ ดังกล่าวจะเป็นพื้นที่สำหรับพึ่งพิงทางจิตใจแก่คนเมืองโดยการแทรกตัวไปในบริบทเมืองใหญ่ที่เต็มไปด้วยการพัฒนาทางโลกเป็นที่ก่อกำเนิดแห่งโรคทางใจกลับไม่มีพื้นที่ที่รองรับสำหรับผู้คนการเดินและความหมายของการเดินในชีวิตย่านกลางเมืองนั้นจะมีความหมายมากขึ้น เพราะการเรียนรู้ของโครงการนั้นจะเกิดจากการก้าวเดิน นั่นคือโครงการมีท่าทีในการสอดแทรกเข้าไปในบริบทของพื้นที่เมืองเพื่อช่วยผ่อนปรนจิตใจของผู้คนในย่านเมืองใหญ่ ซึ่งจะทำให้เกิดสมดุลในชีวิตขึ้น

ประเด็นแรกสำหรับการรักษาโรคทางวิญญาณนั่นคือต้องเข้าใจชีวิตก่อน ผ่านหลักไตรลักษณ์ นั่น คือ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา จากนั้นจึงให้เรียนรู้การใช้ชีวิตต่อไป ฉะนั้นแล้วการจะให้คนย่านกลางเมืองเข้าใจธรรมะนั้นต้องไล่ลำดับการรับ รู้ธรรมจากระดับหยาบไปสู่ระดับละเอียด ผ่านการเดินใน ชีวิตประจำวัน ในระดับหยาบเป็นการบอกธรรมะผ่านชาดกเพื่อให้เข้าใจ ได้ง่ายผ่านเรื่องราวโดยใช้หลักการ anamorphosis ให้รับรู้เรื่องราวผ่านการก้าวเดิน ตามหลักperspective คือในจุดรับรู้หนึ่งๆภาพปรากฏจะแจ่มชัดแต่เมื่อผ่านจุดนั้นไปภาพปรากฏจะยืดออก เมื่อวางจุดภาพต่อเนื่องกันจึงทำให้ระหว่างก้าวเดินเราจะรับรู้เรื่องราวบนผนังไปด้วย ในระดับกลางเป็นการบอกธรรมะผ่านศิลปะสมัยใหม่ในรูปแบบของปริศนาธรรม ในระดับละเอียดนั้นเป็นส่วนของพื้นที่ของการปฏิบัติ

การสื่อสารส่วนต้นนั้นเป็นการรับรู้ธรรมในระดับหยาบกล่าวคือการบอกธรรมมะผ่านเรื่องราวของชาดกที่เข้าใจได้โดยง่ายโดยการโปรเจกภาพเรื่องราวไปบนระนาบซี่ผนังขนาด 30 เซนติเมตร ห่างกัน 50เซนติเมตรในรูปแบบ anamorphosis ทำให้เกิดการรับรู้เรื่องราวผ่านการก้าวเดินผ่านซึ่งการเลือกรู้แบบซี่แนวตั้งเนื่องจากการไปอยู่ในพื้นที่สัญจรที่มีการสัญจรสองทางสวนกันนั้นเพราะต้องการให้เกิดการรับรู้ทั้งสองทาง หากเป็นผนังผืนเดียวจะเกิดการรับรู้เพียงแค่ด้านเดียวเท่านั้น ทั้งยังต้องการค่อยๆคลี่คลายการรับรู้โดยที่ส่วนแรกยังคงเชื่อมโยงกับโลกแห่งความวุ่นวายภายนอกอยู่แล้วจึงค่อยๆปิดสู่พื้นที่ภายในลำดับถัดไป

ลักษณะดังกล่าวนี้ก็จะปรากฏอยู่ในบริเวณทางเดินบน sky walk สีลมด้วยเช่นเดียวกัน  

ลำดับถัดมาจากระดับหยาบจะเป็นการรับรู้ธรรมในระดับกลาง ซึ่งในพื้นที่นี้ว่าด้วยเรื่องของการเกิดแก่เจ็บตายเป็นธรรมดาของโลก ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง เกิด-ดับ ในส่วนนี้จึงออกแบบพื้นที่โดยการยกระดับผนังกั้นขึ้นมาจนสูงเลยศีรษะบังวิสัยทัศน์โลกภายนอกเหลือเพียงผู้เข้ามาภายในกับพื้นที่ โดยที่โครงสร้างพื้นที่นี้เป็นเหล็กทั้งทางเดินและผนัง ในระหว่างก้าวเดินจึงจะเกิดเสียงจากการก้าวย่างของผู้นั้น และเสียงนั้นจะเกิดการสะท้อนไปมาภายในพื้นที่จนค่อยๆสลายหายไป แล้วเกิดใหม่ ดับไปเช่นนี้เรื่อยๆ แฝงหลักธรรมของการเกิดดับให้ผู้เข้าโครงการรับรู้ผ่านการก้าวเดิน

สำหรับโครงการในบริเวณนี้จะมีการรับรู้ธรรมถึงเพียงระดับกลาง โดยที่ในส่วนใจกลางโครงการ จะเป็นพื้นที่สีเขียวจากพืชชนิดไม้เลื้อยตามโครงสร้างผนังตะแกรงเหล็กโดยระดับของผนังพืชนี้จะสูงเลยระดับศีรษะแต่จะไม่มีหลังคาคลุมทำให้กลายเป็นการเชื่อมพื้นที่สีเขียวกับท้องฟ้าโดยระดับความสูงจะตัดมุมมองระดับตึกรอบข้างออกไป

การเข้าสู่โครงการบริเวณสวนลุมพินีนั้น สามารถเข้าได้สองทางโดยที่ทางที่หนึ่งนั้นเชื่อมมาจาก sky walk สีลม ผ่านเรื่องราวพกพรหมชาดก ก่อนที่จะเข้าสู่ตัวโครงการจะเป็นการบอกเล่าเรื่องราวกุมภการชาดกผ่านระแนงด้านข้างเช่นเดียวกับที่ sky walkเพียงแต่ในที่นี้จะมีอยู่บนผนังเพียงด้านเดียวคือฝั่งเมือง ส่วนอีกด้านนั้นจะเปิดมุมมองให้เห็นอาคารของโครงการกับแนวต้นได้ภายในสวนลุมพินีก่อนจะเข้าสู่โครงการ ซึ่งโครงการนี้จะมีทางเข้าอยู่ในชั้น 2 โดยลดระดับมาจากระดับ sky walk 2 เมตร

ทางเข้าอีกทางหนึ่ง จะเข้ามาจากสวนลุมพินีโดยยกระดับขึ้นมาเข้าสู่โครงการในชั้นที่2 และมีระนาบผนังด้านข้างกั้นระดับสายตาแล้วค่อยๆลดระดับลงเหลือ 1 เมตร เพื่อค่อยๆปรับมุมมองก่อนเข้าสู่โครงการ

ส่วนแรกเมื่อเข้าสู่โครงการจะเป็นการรับรู้ธรรมในระดับหยาบโดยส่วนนี้จะเป็นการแนวทางของการดำเนินชีวิต หลังจากผ่านส่วนที่บอกเล่าเรื่องราวธรรมชาติของชีวิต โดยเป็นนิทรรศการทศชาติชาดกซึ่งจะเป็นภาพแบบ anamorphosis  การทำหน้าที่ฉายแสงของโครงสร้าง ระนาบโครงสร้าง จะเฉียงทำมุมตามองศาของวัน 1 ในเดือนต่างๆตามเนื้อเรื่องของทศชาติ ทำให้ในเดือนนั้นแสงจะฉายลงมาในช่องทศชาติเรื่องนั้นทางตรงทำให้เรื่องนั้นจะเด่นออกมาจากเรื่องอื่นๆ ซึ่งทศชาติเรื่องนั้นเองจะเป็นเนื้อหาของโครงการในเดือนนั้นๆ ในส่วนถัดๆไป และพื้นที่จะค่อยๆปิดการรับรู้จากโลกภายนอก

นิทรรศการส่วนถัดมาจากนิทรรศการทศชาติชาดก จะเป็นการรับรู้ธรรมระดับกลางผ่านปริศนาธรรมในรูปแบบของงานศิลปะ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับชาดกในแต่ละเดือน ทางเชื่อมจะค่อยๆปิดการเชื่อมโยงโลกภายนอกสู่ชั้นใต้ดิน

ส่วนแรกหลังจากลงมาสู่ชั้นใต้ดินจะเจอกับศิลปะเปิดเรื่องก่อน โดยชิ้นงานจะค่อยๆเผยจากการเดินตามทางซึ่งมีระนาบผนัง ทำหน้าที่บังและเผยตัวตนของชิ้นงานจนมาสู่ตำแหน่งทางเข้าที่จะเปิดมุมมองทั้งหมดมุ่งตรงสู่ชิ้นงานที่ตั้งอยู่ตรงกลาง

ต่อเข้ามาภายในเป็นส่วนจัดแสดงศิลปะ 2 มิติ ซึ่งผนังจะมีมุมมองที่เหลื่อมกั้นทั้งผนัง เพดาน เกิดการหายและปรากฏของชิ้นงานในมุมมองต่างๆ อีกทั้งการให้แสงเป็นการให้แสงทางอ้อมทำให้เกิดแสงสลัวในพื้นที่จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าไปใกล้ชินงานเพื่อพินิจวิเคราะห์ทำความเข้าใจ และส่วนในสุดจะมีช่องแสงเข้ามาโดยตรงเป็นจุดนำสายตาไปสู่นิทรรศการส่วนต่อไป

นิทรรศการในส่วนนี้จะอยู่ในระดับของชั้น 1 เชื่อมขึ้นต่อมาจากนิทรรศการชั้นใต้ดิน โดยส่วนนี้จะเป็นศิลปะประเภท 3 มิติ และมีการเปิดมุมมองของพื้นที่และความสว่างมากขึ้นจากช่องเปิดที่เกิดจากระนาบที่เฉียงตามองศามุมมองที่เกิดจากการก้าวเดินผ่านพื้นที่ ทำให้ในแต่ละจุดจะมีมุมมองเชื่อมโยงไปสู่ภายนอกในทุกๆก้าวเดินแต่ไม่เปิดทั้งหมด ซึ่งมุมมองภายนอกนั้นจะเป็นแนวของต้นไม้ภายในสวนลุมพินี

ส่วนต่อมาเป็นพื้นที่เรียนรู้ธรรมในระดับละเอียด คือส่วนของการฟังธรรม และปฏิบัติธรรม โดยในส่วนนี้จะจัดสภาพแวดล้อมให้เกิดความสัปปายะเพื่อเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติ และออกแบบมุมมองให้ไม่กระทบซึ่งกันและกันในแต่ละส่วนทั้งยังออกแบบให้มุมมองทั้งหมดนั้นเห็นสภาวะแวดล้อมของธรรมชาติโดยที่ไม่มีมุมมองไหนเห็นพื้นที่ของเมืองภายนอก

ส่วนฟังธรรมนั้นถูกยกระดับขึ้นมาทำให้เมื่อมาใช้พื้นที่นี้จะสามารถมองไปเห็นสระน้ำเชื่อมไปสู่ธรรมชาติที่เป็นฉากหลัง อีกทั้งพื้นที่นี้ยังเชื่อมกับพื้นที่ส่วนนิทรรศการทศชาติชาดกด้านบนทำให้เมื่อมีกิจกรรมด้านล่าง เสียงจากด้านล่างจะส่งไปถึงด้านบนได้ด้วย

ส่วนปฏิบัติจะอยู่อีกฝั่งของทางเดินกลางอยู่รอบๆสระน้ำของโครงการโดยพื้นที่นั่งสมาธิและพื้นที่เดินจงกลมนั้นจะถูกลดระดับลงและพื้นที่สวนจะถูกยกขึ้นทำให้ระดับสายตานั้นจะอยู่ในพื้นที่สวนและเนินดินที่ถูกยกจะบังสายตากับพื้นที่ภายนอกทำให้เห็นเพียงธรรมชาติในพื้นที่

ภาพรวมโครงการจะใช้เส้นโค้งที่ไม่เท่ากันและไม่ใช้ทรงกลม เพราะต้องการบิดการรับรู้ถึงระนาบโค้งและการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คงที่ไม่แน่นอน และในทุกๆส่วนจะแฝงไปด้วยนัยยะของหลักอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถึงการมีอยู่และไม่มีอยู่ การปรากฏและเลือนหาย

คลิปอธิบายงานจากผู้ออกแบบ

ชื่อ-นามสกุล : พงศธร เงินงาม (Pongsathorn Ngurnngam)

รหัสนักศึกษา : 581710046 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

E-MAIL : Pongsathorn987@gmail.com