OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

ARCHSTUDIO สตูดิโอออกแบบสัญชาติจีนที่หลงใหลในชีวิต เรื่องเล่า และความทรงจำของอาคารหลังเก่า

หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่ต้องมนต์สะกดของอาคารโบราณหลงใหลในเรื่องเล่าและความทรงจำที่อัดแน่นอยู่ในสถาปัตยกรรมยุคเก่า บทสนทนานี้อยากชวนคุณมาอ่านความคิดเบื้องหลังการทำงานของ Han Wenqiang จาก ARCHSTUDIO สตูดิโอออกแบบสัญชาติจีนที่มุ่งสืบสานภูมิปัญญาแบบดั้งเดิม พร้อมกับการสร้างสรรค์กระบวนการคิดที่มุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืน ผ่านผลงานบูรณะอาคารเก่า และงานออกแบบสถาปัตยกรรมที่มุ่งขับเน้นอารมณ์ของธรรมชาติ ซึ่งกำลังโดดเด่นเป็นที่จับตามองในวงการสถาปัตยกรรมร่วมสมัย จนนิตยสารชื่อดังด้านสถาปัตยกรรมของอเมริกายกย่องให้เป็น 1 ใน 10 สตูดิโอระดับแนวหน้าของโลก

Han Wenqiang สถาปนิกผู้ก่อตั้ง ARCHSTUDIO

DsignSomething: อยากให้คุณช่วยเล่าถึงประวัติความเป็นมาของ ARCHSTUDIO

Han Wenqiang: ARCHSTUDIO ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2010 ในย่าน 798 อาร์ตโซน กรุงปักกิ่ง ด้วยความตั้งใจว่าเราจะทำงานออกแบบที่มุ่งสืบสานภูมิปัญญาแบบดั้งเดิม เพื่อที่จะแก้ปัญหาด้านการอยู่อาศัยพร้อมกับการสร้างสรรค์กระบวนการคิดที่มุ่งสู่อนาคต การทำงานของเราตั้งอยู่บนหลักคิดของ ‘ความสัมพันธ์แห่งการออกแบบ’ (design of relationships) โดยใช้ ‘พื้นที่’ เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงชีวิต ประวัติศาสตร์ และการสร้างสภาพแวดล้อมเข้าไว้ด้วยกัน เพราะเราอยากที่จะกระชับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมให้แนบชิดกันมากขึ้น

เมื่อปี 2015 เรายังได้รับเกียรติจากนิตยสารชื่อดังของอเมริกาอย่าง ‘Architectural Record’ ให้ติดอันดับ 1 ใน 10 สตูดิโอออกแบบชั้นแนวหน้าแห่งวงการสถาปัตย์อีกด้วย สำหรับผลงานที่โดดเด่นของเรามีทั้ง Waterside Buddhist Shrine (ศาลเจ้าริมน้ำ), Tangshan Organic Farm (ออร์แกนิคฟาร์มในเมืองถังชาน), Tea House in Hutong (คาเฟ่น้ำชาในย่านหูถง) Twisting Courtyard (ลานที่ออกแบบให้มีลูกเล่นโดยการบิด) และ Layering Courtyard (ลานที่มีการเล่นระดับ) ฯลฯ

Could you please briefly tell us about the background and strengths of ARCHSTUDIO?

Established in 2010 and based in 798 Art Zone, Beijing, ARCHSTUDIO advocates using traditional wisdom to solve practical problems and inspire future thinking. Based on the principle of “design of relationships”, we transform the physical space as a medium to realize the deep connection between body, nature, history and the artificial environment, to shorten the emotional distance between people and environment. In 2015, ARCHSTUDIO was honoured as one of the 10 Design Vanguards by the renowned American magazine Architectural Record. Our representative works mainly include Waterside Buddhist Shrine, Organic Farm, Tea House in Hutong, Twisting Courtyard, Layering Courtyard, etc.

โปรเจ็กต์ Waterside Buddhist Shrine

DsignSomething: คุณคิดว่าอะไรคือเอกลักษณ์หรือความเชี่ยวชาญในการออกแบบของ ARCHSTUDIO

Han Wenqiang: ชีวิต ประวัติศาสต์ และธรรมชาติ ทั้ง 3 อย่างนี้คือคีย์สำคัญในงานออกแบบของเรา ซึ่งเราเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้คือองค์ประกอบที่จำเป็นมากหากคุณต้องการที่จะสร้างสภาพแวดล้อมให้จับใจผู้คน และทุกองค์ประกอบที่ว่ามานี้ได้สะท้อนผ่านผลงานด้านต่างๆ ของเรา ทั้งงานออกแบบภายใน งานบูรณะอาคารเก่า และงานสถาปัตยกรรมที่มุ่งขับเน้นอารมณ์ของธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น Hillside Dwelling (ที่พักเชิงเขา) ที่ให้ความสำคัญกับการออกแบบภายใน Qishe Courtyard (ลานชี่ฉี) ที่เป็นโปรเจกต์บูรณะอาคารเก่า และ Waterside Buddhist Shrine (ศาลเจ้าริมน้ำ) ที่เน้นให้ความสำคัญกับธรรมชาติ

What are the fields that ARCHSTUDIO specializes in?

Body, history and nature have always been the key words during our design practices, which we believe are also the three necessary elements for achieving the sentimental environment. They represent the three areas we focus on: interior design, renovation of old buildings, and architecture with a sense of nature. For example, Hillside Dwelling is more about the interior design, Qishe Courtyard is a project of renovation for an old building (pls check the images below); Waterside Buddhist Shrine is more about nature.

โปรเจ็กต์ Hillside Dwelling

DsignSomething: Qishe Courtyard ถือเป็นผลงานที่เป็นดั่งมาสเตอร์พีซของ ARCHSTUDIO ก็ว่าได้ อยากให้คุณช่วยเล่าถึงแนวคิดในการออกแบบ และจุดเด่นของโปรเจกต์นี้ได้ไหม

Han Wenqiang: Qishe Courtyard (ลานชี่ฉี) ที่หูถง (Hu Tong) ในกรุงปักกิ่ง คือโปรเจกต์ที่เราเข้าไปบูรณะอาคารเก่า ซึ่งเดิมทีมันคือ Siheyuan (อ่านว่า ‘ซี่เห่ยหยวน’ คือบ้านแบบดั้งเดิมของจีนที่มักสร้างสวนไว้ตรงกลางบ้าน) ที่มีสวนอยู่ 3 จุดด้วยกัน สิ่งที่เราทำกับโปรเจกต์นี้ก็คือ ปรับปรุงตัวอาคารเดิมที่รกร้างให้เป็นระเบียบ ซ่อมพื้นผิวอาคารทั้งหมด และเสริมโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมเพิ่มในบางจุด ความตั้งใจของเราคือการจำลองรูปลักษณ์ของ Siheyuan แบบดั้งเดิมเอาไว้ เพิ่มเติมเรื่องของการฝังระเบียงลงในตัวอาคารเดิม เพื่อเชื่อมอาคารทั้ง 7 หลังของบ้านเข้าไว้ด้วยกัน เพราะระเบียงมีความสำคัญมาก มันไม่ได้เป็นแค่เพียงสัญลักษณ์ของสถาปัตยกรรมจีนแบบโบราณเท่านั้น หากแต่ยังตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุค

สมัยปัจจุบันด้วย Qishe Courtyard จึงเป็นโปรเจกต์ที่เราสามารถใช้พื้นที่และวัสดุดั้งเดิมมาสร้างสรรค์รูปแบบการใช้ชีวิตที่ร่วมสมัยแถมยังมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว บนความสอดคล้องกลมกลืนของกลิ่นอายในยุคเก่าและยุคใหม่

We would like to talk about our project, Qishe Courtyard. It’s a small Siheyuan (a typology of traditional Chinese residence) with three courtyards, located in a hutong within a core old quarter of Beijing. As approaching the project, we neatened the houses, repaired all the building surfaces, and reinforced the architectural structures, to reproduce the appearance of the traditional Siheyuan. We embedded a veranda into the old Siheyuan to link up the seven separated pitched-roof houses. The veranda not only is a basic element of traditional Chinese architectures but also serves as the carrier of a contemporary lifestyle. We reused the original space and materials to create unique contemporary life scenes so that the old elements coexist harmoniously with the new elements.

โปรเจ็กต์ Qishe Courtyard

DsignSomething: ในมุมมองของคุณ อะไรคือการผสมผสานที่ลงตัวระหว่างองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมแบบยุคเก่ากับสถาปัตยกรรมแบบสมัยใหม่

Han Wenqiang: ผมอยากให้ทำความเข้าใจกันก่อนว่าเรากำลังออกแบบพื้นที่ที่มีอารมณ์ความรู้สึก ดังนั้นการบูรณะอาคารเก่าจึงไม่ควรทำเพียงแค่ปลุกความทรงจำเก่าๆ ขึ้นมาเท่านั้น แต่ควรที่จะสร้างความทรงจำใหม่ๆ เข้าไปด้วย ผมเชื่อว่าความทรงจำทั้งสองแบบนี้ไม่อาจแยกขาดจากกันหรือแบบใดแบบหนึ่งจะมาทดแทนกันได้ง่ายๆ งานออกแบบร่วมสมัยจึงเกี่ยวพันใกล้ชิดกับมิติทางประวัติศาสตร์และความทรงจำ เรานำเอาลักษณะเฉพาะของงานออกแบบยุคเก่ากลับมาตีความใหม่และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมัน เพื่อให้อาคารเก่าได้กลับมามีชีวิต สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ และสื่อสารทำงานร่วมกับทรัพยากรของเมืองยุคใหม่ ซึ่งผมเชื่อว่านี่คือการออกแบบที่จะนำไปสู่การสร้างอนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้น

As you can see, several design works created by ARCHSTUDIO often portray values of Chinese old cultures in an interesting way; for example, Layering Courtyard, Qishe Courtyard, Twisting Courtyard, what are your opinions towards this perfect combination between the old and new architectural elements?

A sentient space should not only evoke memories but also create new ones. The new and the old are neither rigid separation nor simple functional replacement but should be more closely related to history through contemporary design. We want to reinterpret and transform the characteristics of traditional spatial relations, inspire the vitality of old buildings, interact with the historical environment and new urban resources, create new experiences for old buildings to realize a more sustainable future.

โปรเจ็กต์ Layering Courtyard

DsignSomething: คุณเริ่มสนใจในสถาปัตยกรรมแบบโบราณตั้งแต่เมื่อไหร่

Han Wenqiang: ผมเริ่มสนใจในสถาปัตยกรรมแบบโบราณตั้งแต่สมัยเรียนอยู่มหาวิทยาลัย เพราะตอนนั้นมีโอกาสได้เดินทางไปที่มณฑลชานซี ที่นั่นเป็นแหล่งรวมของโบราณสถานต่างๆ มากมาย ทั้งวัดโบราณ เจดีย์ไม้ เมืองโบราณ และอุโมงค์ ฯลฯ เมื่อได้เห็นถึงความน่าเกรงขามของขนาดและการออกแบบห้องโถงใหญ่ของวัดชานหัว (อาคารสมัยราชวงศ์เหลียว) ผมก็รู้สึกประหลาดใจและตกหลุมรักเป็นอย่างมาก แล้วผมก็ใช้เวลาตลอดทั้งบ่ายอยู่ที่นั่น สำหรับผมอาคารโบราณคือสิ่งที่สะท้อนยุคสมัยและมีเสน่ห์เฉพาะตัว ผมจึงสนใจนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

When did your interest in antique architecture begin to grow?

It was my junior year, and I went to Shanxi to visit the ancient buildings, including temples, wooden towers, ancient cities, grottoes and so on, I was shocked when I felt the awe-inspiring in size and design of the main hall of the Shanhua Temple (Liao Dynasty building). I loved it so much that I stayed there the whole afternoon. In my opinion, historical buildings have a charming contemporary quality, that is what I am interested in.

DsignSomething: คุณคิดว่าการขยายตัวของเมืองส่งผลกระทบต่อสถาปัตยกรรมโบราณหรือเปล่า

Han Wenqiang: แน่นอนว่าเมื่อสังคมพัฒนาขึ้น สถาปัตยกรรมโบราณก็ต้องวิวัฒน์ไปพร้อมกับพัฒนาการของสังคมวัฒนธรรมด้วย เมื่อเมืองเกิดการขยายตัว ก็ย่อมส่งผลให้เกิดการรื้อถอนทำลายอาคารเก่า และการบูรณะอาคารโบราณที่กินพื้นที่กว้างมากๆ ก็อาจจะกลายเป็นเรื่องที่ไม่ตอบโจทย์กับยุคสมัยใหม่ก็ได้ นี่คือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นปกติ แต่ถ้าถามว่าการขยายตัวของเมืองจะส่งผลกระทบต่อสถาปัตยกรรมแบบโบราณมากน้อยแค่ไหน ผมคิดว่าขึ้นอยู่กับมุมมองของคนด้วย เดี๋ยวนี้หลายคนเริ่มหันมาตระหนักถึงคุณค่าและให้ความเคารพมันในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ดังนั้น ผมจึงมองว่าแนวโน้มของนโยบายเกี่ยวกับการออกแบบเมืองในอนาคตจะมุ่งไปสู่การรักษาสมดุลในหลายๆ มิติ ทั้งเรื่องความอยู่ดีมีสุขของผู้คน การส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา รวมถึงการสืบสานทางวัฒนธรรม

In your opinion, how do urban sprawls affect antique architectures?

The idea of antique architectures will evolve with the development of social culture. With the expansion of cities, the demolition or reconstruction of large areas for traditional buildings may become a thing of the past. It is a phenomenon, but how it affects antique architectures depends on our attitudes. More and more people have realized the value of historic buildings and regarded them as cultural heritages. In my opinion, urban policies in the future will focus more on maintaining a balance among ensuring people’s wellbeing, promoting development, and inheriting culture.

DsignSomething: เรามีโอกาสที่จะหาวิธีฟื้นฟูเมืองเก่าที่กำลังทยอยสูญหายไปได้บ้างมั้ย

Han Wenqiang: การฟื้นฟูชีวิตให้เมืองเก่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย ทั้งเรื่องนโยบายจากภาครัฐ เศรษฐกิจ ประชากร รวมถึงปัจจัยด้านการคมนาคม ฯลฯ ดังนั้นการออกแบบจึงเป็นเพียงแค่ปัจจัยหนึ่งเท่านั้น เมื่ออาคารหรือสถาปัตยกรรมคือพื้นที่ที่ผู้คนอยู่อาศัย ใช้ชีวิต และทำงาน หัวใจสำคัญที่สุดในการที่จะรักษาและชุบชีวิตชีวิตเมืองเก่าจึงคือการทำพื้นที่นั้นๆ ให้เอื้อต่อผู้อยู่อาศัยและทำให้เขาได้ใช้ชีวิตอย่างที่ใจต้องการ

Is there any way to revive old towns that are currently fading out?

The revival of old towns involves many factors, such as policy, economy, population, transportation, etc. It is not simply about design. Architecture buildings are spaces where people live and work. To maintain vitality, the most important point is to make people stay and give them the life they want.

โปรเจ็กต์ Twisting Courtyard

DsignSomething: ในอนาคตสถาปัตยกรรมจีนโบราณจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด

Han Wenqiang: สถาปัตยกรรมโบราณคือแหล่มขุมทรัพย์ทางประวัติศาสตร์ของจีน ซึ่งในช่วงเวลาต่างๆ ที่ผ่านมามันก็ได้ถูกปรับเปลี่ยนและพัฒนาต่อยอดมาเรื่อยๆ และสิ่งใดก็ตามที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาแบบสากล ไม่ยึดติดกับความเป็นเชื้อชาติหรือภูมิภาคใดๆ ย่อมมีโอกาสที่จะได้การยอมรับจากผู้คนมากขึ้นเพราะว่ามันมีประโยชน์ต่อชีวิตของเราจริงๆ ดังนั้น ผมจึงมองว่าในอนาคตสถาปัตยกรรมแบบโบราณจะถูกออกแบบให้รองรับความแตกต่างหลากหลาย อยู่สบาย และเป็นอาคารที่สามารถพัฒนาปรับปรุงต่อไปได้อีกเรื่อยๆ

What will be the future of old Chinese architecture?

Ancient buildings are the source of Chinese history, and they have been changing and developing at different times. Only those with universal wisdom that transcends nations and regions can be accepted by more people and benefit us. Therefore, I think in the future the old architectures must be more diverse, pleasant, developing and self-improving.

อีกบทบาทของ Han Wenqiang คือการเป็นอาจารย์สอนวิชาบูรณะอาคารเก่าที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์สถาบัน CAFA (สถาบันทัศนศิลป์แห่งชาติ)

DsignSomething: คุณคาดหวังในการสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อมุมมองของผู้คนและวงการออกแบบมากน้อยแค่ไหน และจะมีวิธีดึงดูดความสนใจจากผู้คนได้อย่างไร

Han Wenqiang: การเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุดของตึกรามบ้านช่องไม่ใช่คำตอบที่เหมาะสมในยุคที่กำลังเผชิญกับวิกฤตต่างๆ นานาอย่างเช่นในปัจจุบัน ที่โลกประสบปัญหาจากวิกฤตด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างหนักหน่วง แต่การบูรณะจะเป็นหนทางที่ดีในการปรับปรุงพัฒนาตัวอาคารเดิม นอกจากนี้เทคโนโลยีและฟังก์ชันใหม่ๆ จะช่วยให้เราสร้างสภาพแวดล้อมของเมืองในอนาคตบนความยั่งยืนมากขึ้น

ในแง่ของการทำงาน เราอยากจะสร้างพื้นที่ที่มีความเข้าอกเข้าใจต่อบริบทต่างๆ รอบตัวแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ และหวังว่าผลงานของเราจะสร้างผลกระทบในแง่บวก ทั้งในมิติของวัฒนธรรม การบริโภค รวมถึงมีคุณูปการต่อเมืองมากขึ้น นอกจากนี้ ด้วยความที่ผมเป็นอาจารย์สอนวิชาบูรณะอาคารเก่าที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์สถาบัน CAFA (สถาบันทัศนศิลป์แห่งชาติ) ทุกๆ ปีผมจะพานักศึกษาไปศึกษาทำความรู้จักกับถนนหนทางในย่านหูถง กรุงปักกิ่ง และนำงานวิจัยที่ได้จากการสื่อสารทำงานร่วมกับผู้อยู่อาศัยและหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกลับไปจัดแสดงให้กับท้องถิ่นนั้นๆ ด้วย

To what extent do you expect to trigger changes in people’s perspectives and designs? How will you draw people’s attention to this?

Nowadays, under the condition of an energy crisis and ecological crisis, the infinite expansion for buildings is no longer appropriate. Renovation is a good way to achieve the self- upgrading for the buildings. With new technologies and new functions of the buildings, we can also create a more sustainable future in the existing urban environment.

We hope to create more perceptive spaces by continuous practices and our works can have more positive effects in terms of culture, consumption and contribution to the city. Meanwhile, I am teaching the subject of old building renovation in School of Architecture of the CAFA (Central Academy of Fine Arts), so every year I would lead the students to the streets of hutong in Beijing to learn and our research results would be exhibited in the local area, by which we communicated with residents and relevant government departments.

DsignSomething: ในยุคหลังวิกฤตโควิด-19 อุตสาหกรรมด้านสถาปัตยกรรมของจีนจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

Han Wenqiang: จริงๆ การเปลี่ยนแปลงได้เริ่มต้นตั้งแต่ก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 แล้ว เนื่องจากเมืองชะลอการขยายตัวลง อุตสาหกรรมสถาปัตยกรรมของจีนจึงเกิดการเปลี่ยนแปลง จากเดิมที่เน้นเรื่องการเพิ่มจำนวนของสิ่งปลูกสร้างไปสู่การเน้นในมิติของประโยชน์ใช้สอย ซึ่งหมายความว่าเราต้องการอาคารที่มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น ทั้งในแง่วัฒนธรรม ประโยชน์ใช้สอย และสิ่งแวดล้อม ฯลฯ และผมคิดว่าโรคระบาดที่สังคมกำลังเผชิญได้เร่งกระบวนการที่ว่านี้ให้เร็วยิ่งขึ้น

In the post-COVID-19 period, to what extent do you think the Chinese architectural industry will shift?

It has already shifted before the COVID-19 outbreak when the pace of urbanization slowed down, Chinese architecture industry began to shift from incremental construction to stock utilization. It means that there is an increased demand for building qualities, such as its cultural attributes, consumer attributes, ecological attributes, etc., and I think the epidemic has accelerated the process.