OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Alejandro Aravena เจ้าของรางวัลสถาปนิกชั้นนำระดับโลก Pritzker Prize 2016

ในวงการสายอาชีพต่างๆ มักจะมีการจัดอันดับผลงานที่โดดเด่นในสายงานของตนเอง เกิดเป็นพิธีการมอบรางวัลชื่นชมแด่บุคคลที่แสดงฝีมือในปีนั้นๆออกมาได้อย่างน่าสนใจ กับทัวร์นาเม้นฟุตบอลโลก เราจะมอบตำแหน่งผู้เล่นทรงคุณค่า MVP แก่นักเตะที่ฝากสุดยอดลีลาไว้ในสนาม กับแผ่นฟิล์มบนจอเงิน นักแสดงนำเยี่ยมยอดเท่านั้นถึงจะคู่ควรกับรางวัลการแสดงยอดเยี่ยมอย่างตุ๊กตาออสการ์สีทองสง่า และการประกาศผลรางวัลแบบนี้ก็เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน กับแวดวงอาชีพสถาปนิกนักออกแบบ

1

รางวัล  Pritzker Prize

2

(ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Pritzker_Architecture_Prize)

Pritzker Prize หรือ Pritzker Architecture Prize  คือรางวัลประจำปีที่มอบให้เพื่อเป็นเกียรติแก่สถาปนิกที่ยังมีชีวิตในปัจจุบัน  ผู้สร้างผลงานสถาปัตยกรรมเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ด้วยนวัตกรรมการสร้างสรรค์ที่ดีมีคุณภาพ  แสดงออกให้เห็นถึงวิสัยทัศน์การออกแบบที่ตอบสนองทั้งมนุษย์และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน ผ่านผลงานศิลปะที่เรียกว่า สถาปัตยกรรม  ในแต่ละปีจะมีที่ว่างสำหรับนักออกแบบเพียงคนเดียวที่จะถูกเอ่ยชื่อขึ้นต่อหลังประกาศรางวัล จากคณะกรรมการตัดสินดีไซเนอร์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆจากทั่วโลก

3

(ภาพจาก http://cargocollective.com/motocontinuo/pritzker-prize-winners-domus)

โดยตลอดระยะเวลานานมากกว่า 30 ปี  รางวัล  the Pritzker Prize เดินทางไปถึงมือเหล่าสถาปนิกที่เป็นบุคคลสร้างแรงบันดาลใจ จุดประกายไอเดียใหม่ๆ ให้แก่เหล่านักออกแบบคนอื่นๆ ในวงการ โดยไม่แบ่งแยกสัญชาติเชื้อชาติ ศาสนา หรืออุดมการณ์ส่วนตัว  เป็นของขวัญตอบแทนความมุ่งมั่นตั้งใจ การลงมือทำงานหนัก ช่วยเข้าไปหล่อเลี้ยงกำลังใจให้เพื่อนร่วมอาชีพคนอื่นพากเพียรสร้างผลผลิตทางสถาปัตยกรรมที่ดีออกมาด้วยเช่นกัน  และมีส่วนช่วยในการสรุปแนวทาง กระตุ้น trend การออกแบบสถาปัตยกรรมในแต่ละยุคสมัยมาโดยตลอด

 

Dtip : the Pritzker Prize ก่อตั้งครั้งแรกปี 1979  โดย Jay A. Pritzker และภรรยาของเค้า เป็นผู้สนับสนุนการมอบรางวัลร่วมกับ theมูลนิธิ Hyatt Foundation ดำเนินการจัดตั้งพิจารณาคัดเลือกบุคคลมายาวนาน จนได้รับการยกย่องเป็นรางวัลทางสถาปัตยกรรมชั้นนำชิ้นหนึ่งของโลก  เทียบชั้นได้ว่าคือ รางวัลโนเบลสาขาสถ​​าปัตยกรรมโลกเลยทีเดียวครับ

 

ผู้คว้าเหรียญรางวัลปีล่าสุด

4

(ภาพจาก http://www.emol.com/noticias/Tendencias/2016/01/16/768973/Alejandro-Aravena-y-el-Pritzker-2016-Imaginate-cuanto-te-puede-cambiar-la-vida-un-premio-como-este.html)

ผลการตัดสินรางวัลปีล่าสุดที่เพิ่งผ่านพ้นไป กับ Pritzker Prize 2016 เหรียญรางวัลได้ตกเป็นของ  Alejandro Aravena นักออกแบบคนแรกจากประเทศชิลีที่ได้รับรางวัลนี้  สถาปนิกละตินอเมริกาใต้วัย 48 ปีผู้นี้สร้างอาคารเกี่ยวกับบ้านพัก ที่อยู่อาศัย อาคารสาธารณะมาสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาการทำงาน  ผลงานชิ้นไฮไลท์คือการสร้างสถาปัตยกรรมเพื่อพัฒนาที่พักอาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยให้ได้รับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  มอบโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่คนด้อยโอกาส ลดความเลื่อมล้ำจากปัญหาปากท้องรวมทั้งการบรรเทาความเสียหายในเขตพื้นที่ภัยพิบัติธรรมชาติ  เป็นการสร้างแนวทางการให้คุณค่าของคำว่า  ” what is truly great design ความงามของดีไซน์ที่แท้จริงคืออะไร ”  ในความหมายใหม่สำหรับศตวรรษที่ 21 ยุคสมัยที่ไม่ได้อาศัยแค่เรื่องความสวยงามของอาคารเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

 

จากชิลีสู่เวทีดีไซน์โลก

5

(ภาพจาก https://architectsplanet.wordpress.com/2014/11/30/alejandro-aravena-my-architectural-philosophy/)

Alejandro Aravena เกิดเมื่อปี ค.ศ.1976 จบศึกษาจากมหาวิทยาลัย Catolica De Chile ประเทศชิลี เริ่มก่อตั้งสตูดิโอ  Alejandro Aravena Architects  รับทำงานออกแบบมาตั้งแต่ปี 1994 มี portfolio ผลงานส่วนใหญ่เป็นอาคารโครงการสาธารณะ เอกชน สถานศึกษา อยู่ในประเทศชิลีประเทศสหรัฐอเมริกา, เม็กซิโก, จีนและสวิตเซอร์แลนด์

 

เคยถูกเชิญไปเป็นอาจารย์พิเศษที่  มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  ก่อนที่จะร่วมกับเพื่อนสถาปนิกชาวชิลีก่อตั้ง  ELEMENTAL ขึ้นในปี 2001 มุ่งเน้นการทำงานเกี่ยวกับโครงการด้านประชาชนและสิ่งที่ส่งผลกระทบทางสังคมรวม ทั้งที่อยู่อาศัยพื้นฐาน พื้นที่สาธารณะ และการขนส่งมวลชนโดยมี Alejandro Aravena  ดำรงตำแหน่งเป็น  Executive Director สร้างผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล  ถูกเชิญไปบรรยาย แสดงผลงาน และได้รับเลือกเป็น Director of the Venice Architecture Biennale 2016  ควบคุมภาพรวมของงานแสดงนิทรรศการสถาปัตยกรรมระดับโลกปีล่าสุด

 

แนวคิดมุ่งเน้นเรื่องพื้นฐาน

6

(ภาพจาก http://www.archdaily.com/780617/2016-pritzker-prize-winner-alejandro-aravenas-work-in-15-images)

Alejandro มีวิสัยทัศน์การทำงานออกแบบเพื่อผู้คนในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความมุ่งมั่นในระยะยาวของเขาที่อยากจะแก้ปัญหาวิกฤตขาดแคลนที่อยู่อาศัยทั่วโลกและการต่อสู้เพื่อสภาพแวดล้อมของเมืองที่ดีขึ้นสำหรับทุกคน เขามีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ทั้งสถาปัตยกรรมและภาคประชาสังคม ว่าการออกแบบอาคารที่ดีไม่ใช่เพียงแค่ความสวยงามของรูปลักษณ์ หากแต่ต้องตอบสนองการใช้งานพื้นฐานได้อย่างแท้จริง พร้อมกับเป็นแรงขับเคลื่อนสังคมให้ก้าวไปข้างหน้าได้พร้อมๆกัน  เป็นการสละความเห็นแก่ตัวเอง หรือเพียงใครกลุ่มเล็กๆ แต่เลือกที่จะเติมเต็มสังคมมวลรวมและมนุษยธรรมให้มากขึ้น

 

ตัวอย่างผลงานของ  Alejandro Aravena ในอดีตถึงปัจจุบัน

UC MATHEMATICS SCHOOL ปี 1999  การรีโนเวทอาคารเดิมโรงเรียนสอนคณิตศาสตร์ในประเทศชิลี การต่อเติมใหม่ที่ควบรวมอาคารมีอยู่แล้วเดิม 2 หลังให้กลายเป็นชิ้นเดียวกัน เลือกเก็บวัสดุสังกะสีของอาคารเดิมไว้ เพื่อนำมาจัดวางใช้งานใหม่อีกครั้ง และทางเดินคอร์ดภายในให้ผู้ใช้งานได้มองเห็นพบปะกันได้

7 8 9 10

(ภาพจาก http://www.elementalchile.cl/en/projects/facultad-de-matematica/)

Siamese Towers ปี 2005  อาคารตึกแฝดประกอบด้วยห้องเรียนและสำนึกงาน สร้างพื้นที่ทางเดินไม้สำหรับอออกมาพูดคุย นั่งเล่นจากการทำงาน อยู่ด้านนอกอาคารกระจก

CP.ac-19

XCRIS.ac-17

CP.ac-20

XCRIS.ac-12

(ภาพจาก http://www.archdaily.com/1277/siamese-towers-alejandro-aravena/500ec4df28ba0d0cc70003a1-siamese-towers-alejandro-aravena-image)

Villa Verde Housing  ปี 2010 บ้านสำหรับคนที่ประสบปัญหาจากแผ่นดินไหวและสึนามิ ณ เมืองติดทะเลแห่งหนึ่งในประเทศชิลี  จากเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนที่อยู่อาศัยแบบเร่งด่วน เค้าจึงทำการออกแบบบ้านโครงสร้างไม้แบบง่าย ราคาถูก สร้างได้ไว โครงสร้างมีความยืดหยุ่นปรับเปลี่่ยนการใช้งานได้หลากหลาย เพื่อคืนคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ที่เคยประสบภัย

15 16 17

(ภาพจาก http://www.archdaily.com/447381/villa-verde-housing-elemental)

Ayélen School  ปี 2015 โรงเรียนในประเทศชิลี  สร้างคอร์ดสนามดินกลางแจ้งขนาดใหญ่ ให้เป็นพื้นที่กิจกรรมสำหรับเด็กๆ ใช้เสาคอนกรีตสูงยกหลังคาให้ลอยช่วยเพิ่มการเชื่อมพื้นที่ระหว่างภายใน-ภายนอก

18 19 20

(ภาพจาก http://www.elementalchile.cl/en/projects/colegio-ayelen/)

Innovation Center UC ปี 2015  ศูนย์กลางการเรียนรู้และนวัตกรรมของประเทศชิลี อาคารคอนกรีตที่ได้รับรางวัลสาขางานสถาปัตยกรรม London Design Museum 2015 มาหมาดๆ ดีไซน์การเจาะช่องเปิด สร้างพื้นที่ยื่นหดใน-นอกให้สัมพันธ์ระหว่างกัน  มีลูกเล่นเท่ๆ ให้กับอาคารทรงสี่เหลี่ยมธรรมดาด้วยการยื่นผนังออกไปในอากาศโดยไม่มีเสารองรับ

21 22 23 24

(ภาพจาก http://www.archdaily.com/549152/innovation-center-uc-anacleto-angelini-alejandro-aravena-elemental)

และโปรเจคสำคัญที่ทำให้ทั่วโลกให้ความสนใจคือ Quinta Monroy ปี 2003 โครงการบ้านพักอาศัยสำหรับคนไร้บ้านในชิลี  ออกแบบอาคารที่ตอบสนองความต้องการและประหยัดเงิน  มอบให้ 100 ครอบครัวให้มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง โดยการสร้างโครงสร้างให้ครึ่งนึง “half-built”  วางแปลนเอาไว้อย่างหลวมๆ แต่ก็เดินระบบไฟฟ้าประปาในส่วนสำคัญของบ้านเอาไว้ให้ก่อนคือ ห้องน้ำ ห้องครัว  ให้พร้อมใช้งาน เผื่อที่ว่างเหลือไว้ให้เจ้าของบ้านคนใหม่เข้ามาวางเฟอร์นิเจอร์ และต่อเติมการใช้งานของตัวเองได้ตามอิสระ

25 26

ARQ.ac-4
ARQ.ac-4

28

(ภาพจาก http://www.archdaily.com/10775/quinta-monroy-elemental)

สิ่งที่เราเรียนรู้ได้จากแนวคิดการทำงานของสถาปนิกเจ้าของรางวัล Pritzker Prize  ปีล่าสุดคือ  สถาปัตยกรรมที่ดีจะสามารถเข้าไปปรับปรุงชีวิตของผู้คน พัฒนาวิธีชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมให้ดีขึ้น  และนั่นก็นับเป็นอีกหนึ่งความงดงามนอกเหนือจากรูปฟอร์มภายนอกที่การออกแบบอย่างสร้างสรรค์โดยแท้จริง (truly great design) จะมอบให้กับมนุษย์ทุกคนได้

 

ข้อมูลอ้างอิง

http://www.archdaily.com/780073/archdaily-readers-tell-us-who-should-win-the-2016-pritzker-prize

http://www.archdaily.com/780203/alejandro-aravena-wins-2016-pritzker-prize

http://www.pritzkerprize.com/2016/announcement

https://en.wikipedia.org/wiki/Pritzker_Architecture_Prize

http://archinect.com/Alejandro_Aravena