OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

5 Top Retail Shop ดีไซน์เจ๋งจากทั่วโลก

เมื่อความสวยงามของการค้า ไม่ได้หยุดอยู่แค่ที่สินค้าที่นำมาจำหน่าย เพราะรูปแบบร้านค้าและภาพลักษณ์ที่ต้องการสื่อสารถึงผู้บริโภคก็ถือเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน

การออกแบบตกแต่งภายในช้อปร้านค้าจึงเป็นหัวข้อที่ผู้ประกอบการทั่วโลกนำมาปักหมุดขึ้นกระดาน เปิดโอกาสให้นักออกแบบเข้าไปฝากฝีมือการออกแบบร้านให้มีจุดดึงดูดความสนใจจากผู้คนที่ผ่านไปมากันมากขึ้น และนอกจากความงามที่เตะตา มองในภาพรวมของร้าน ก็สามารถสื่อสารภาพลักษณ์ของแบรนด์นั้นๆได้ตรงจุดทีเดียว

1) Camper Pop-up Store

ออกแบบโดย Diébédo Francis Kéré

234

Pop-up Store ของแบรนด์รองเท้า Camper นี้ส่วนหนึ่งของนิทรรศการ ‘Life On Foot’ ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ภายในร้านมีทั้งส่วนพื้นที่ต้อนรับให้ความรู้เกี่ยวกับ Model รองเท้าตามประวัติศาสตร์ย้อนหลังของแบรนด์ Camper รายละเอียดชิ้นส่วนการออกแบบโซนรับทำรองเท้าสั่งตัด และรวบรวมรองเท้ารุ่นต่างๆของแบรนด์เอาไว้ทั้งรุ่นใหม่ล่าสุดและรุ่นหายาก

5 6

ออกแบบร้านช้อปอยู่ในโดมทรงครึ่งวงกลม สร้างชั้นวางรองเท้าด้วยวัสดุไม้โครงสร้างเบาอ้อมรอบคนที่เข้าไปใช้งานและสร้างชั้นวางเป็นเลเยอร์ซ้อนชั้น เพื่อจัดแสดงสินค้ารองเท้าของ Camper ไปด้วยในตัว

 

2) Pigment Arts Store

ออกแบบโดย Kengo Kuma

7 8 9

แบรนด์ผลิตภัณฑ์สี Terrada ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นเปิดตัวร้านขายสี Pigment Arts Store เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อระหว่างศิลปินในท้องถิ่นกับผู้บริโภค โดย Kengo Kuma ออกแบบฝ้าเพดานไม้ไผ่ให้ดูนุ่มนวล ลื่นไหล บิดระนาบให้เกิดพื้นที่ผิวโค้งเหมือนเป็นคลื่นสีน้ำที่ไหลมาผสมกันได้

10 11

รวบรวมเฉดสีหมึกมากกว่า 4,000 เฉด ไว้ในขวดเพื่อกระตุ้นแรงบันดาลใจให้เหล่าศิลปินรุ่นใหม่ที่เข้ามาใช้งานอยากเรียนรู้สืบทอดเทคนิคศิลปะพื้นเมืองของญี่ปุ่น รวมทั้งจัดพื้นที่โซนกิจกรรม Workshop ศิลปะโดยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญและตัวแทนจากผู้ผลิตโดยตรง เพื่อส่งมอบความรู้และเทคนิคการใช้งานสีสันให้แก่ผู้คนที่สนใจ

 

3) Miu Miu Store

ออกแบบโดย Herzog & De Meuron

12 1314

มาที่อีกหนึ่งร้านในกรุงโตเกียวเช่นกันครับ คราวนี้เป็นสินค้าไฮแฟชั่นสัญชาติอิตาเลี่ยนกับแบรนด์ Miu Miu ที่เดินทางมาเปิดช้อปให้ลูกค้าแดนปลาดิบได้ยลโฉมกัน มองจากถนนฝั่งตรงข้าม เราจะเห็น Display หน้าร้านเพียงน้อยนิดที่โดนปกปิดเอาไว้ด้วยแผ่นเปลือก Façade สีขาว เชื้อเชิญคนที่เดินเท้าอยู่ข้างนอก.ให้เกิดความสงสัย อยากแวะเดินเข้าไปใกล้เพื่อสัมผัสบรรยากาศการตกแต่งและสินค้าด้านในร้าน

1516

ภายนอกผิวอาคารรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าทั้ง 2 ชั้น เลือกใช้สีขาวให้ดูเรียบง่าย สะอาดตา ทั้งทางด้านหน้าและด้านข้าง แต่เมื่อเดินผ่านประตูเข้าไปภายในร้านเราก็จะเจอบรรยากาศการตกแต่งภายในที่ต่างออกไปสิ้นเชิง สถาปนิกผู้ออกแบบต้อการสื่อสารความรู้สึกแปลกใหม่และสื่อสารความเป็นเอเชียด้วยแพทเทิร์นลายดอกไม้ในสีโทนร้อน ส้มสดและเขียวอ่อน ควบคู่ไปกับวัสดุโลหะที่เป็นพระเอกของร้าน แผ่น Clading ทองแดง ถูกนำมาใช้เป็นวัสดุตกแต่งผนัง ฝ้า เฟอร์นิเจอร์  ขาเก้าอี้ ราวบันได จัดวางที่นั่ง โซฟาตัวใหญ่ เน้นการสร้างความรู้สึกสะดวกสบายเหมือนอยู่บ้าน พร้อมกับเป็นส่วนตัวจากแผ่น Façade ยักษ์ที่ปิดมุมมองฝั่งถนนได้ไปในตัว

 

4) FEIT Shoe Shop

ออกแบบโดย Jordana Maisie 

17 18 19

ร้านรองเท้า FEIT สาขาประจำเมือง New York มองจากภายนอกจะเห็นกรอบโลหะสีดำดูย้อนยุค   ห่อหุ้มผนังชั้นไม้อัดเรียงตัวอันเต็มพื้นที่ตั้งแต่ฝ้าเพดานจรดลงพื้นล่าง ในรูปฟอร์มที่ดูทันสมัยขัดกับผิวนอกของอาคาร นี่คือความตั้งใจของนักออกแบบที่อยากจะใช้วัสดุธรรมชาติแบบดั้งเดิมผสานเข้ากับการสร้าง Space แบบยุคสมัยใหม่ เทคนิคการตัดไม้แบบด้วยเครื่อง CNC ในงานไม้แผ่นบางให้ได้ชิ้นงานที่บางเฉียบ เนียบคม แล้วนำมาเก็บงานขัดด้วยมือคนเพื่อความเรียบเนียน ก่อนจะนำไปประกอบเข้าตามลำคับแผ่นชั้นที่สลับซับซ้อนในร้าน

20 21

เอกลักษณ์นี้แสดงให้เห็นถึงความงามที่สะอาดตาของรูปทรงเรขาคณิตจากแผ่นชั้นไม้ จังหวะการยื่นหด เว้นแหว่ง ช่องเปิด การออกแบบปริมาตร Space ที่ว่างกับส่วนตกแต่งเพื่อการใช้งาน ด้วยนวัตกรรมการออกแบบผ่านการรูปฟอร์มการซ้อนชั้นของแผ่นไม้

5) Produce Workshop

ออกแบบโดย Pan Yi Cheng

22

Produce Workshop เป็นร้านค้าที่เพิ่งได้รับรางวัล The Retail Category at Inside Festival 2015 ที่ประเทศสิงคโปร์มาแบบสดๆร้อนๆ  เป็นโปรเจคการเชื่อมต่อร้านค้าปลีกขนาดเล็ก 2 ร้านให้อยู่ร่วมกันเป็น Shop เดียวขนาดใหญ่ ภายในพื้นที่โรงเรียนศิลปะ School of the Arts ในประเทศสิงคโปร์

23

Produce Workshop ประกอบไปด้วย ร้านเค้กญี่ปุ่นชื่อ Kki และร้านขายขนม-ของชำ ชื่อ The Little Drom Store ความท้าทายของโปรเจคนี้คือการนำสิ่งที่แตกต่างกันให้มาอยู่ในพื้นที่เดียวกันโดยยังคงไว้ซึ่งคาแรคเตอร์ของร้านตัวเอง บนพื้นที่ตามยาวกว้าง 12 เมตร ผู้ออกแบบเลือกแบ่งร้านค้าทั้ง 2 ร้านออกเป็น 2 ฝั่งซ้ายขวา มีทางเจ้าออกแค่จุดเดียวอยู่ตรงกลาง ผนังภายนอกเป็นกระจกใหญ่เต็มผืนผนัง เลือกใช้โครงสร้างไม้ตกแต่งพื้นที่ทั้ง 2 ร้านให้ไหลถึงกัน ทั้งพื้น ผนัง เฟอร์นิเจอร์ ชั้นวาง  สร้างความเป็นหนึ่งเดียวด้วยวัสดุ  และเฉดสีอ่อนจากไม้ธรรมชาติ

24 25

แม้จะใช้วัสดุหลักเป็นชนิดเดียวกัน แต่การตกแต่งของแต่ละร้านก็ยังคงเอกลักษณ์สำคัญของตัวเอาไว้ ฝั่งร้านขนมหวาน Kki  จะเน้นความรู้สึกผ่อนคลาย โปร่งโล่ง สีขาวตัดกับสีเนื้อไม้สบายตา ติดตั้งฝ้าเพดานตาข่ายไม้แนวทแยงเพื่อสร้างแสงและเงาเป็นส่วนตกแต่งภายในร้าน

26 27

ส่วนฝั่งร้านขายขนม-ของชำ The Little Drom Store จะเติมความสนุกสนานลงไปมากกว่า สีเหลืองจึงถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มเติมความสดใส และใช้ไม้มาทำเป็นชั้นวาง โต๊ะ ตู้ลัง เพื่อวางจำหน่ายสินค้า เน้นไปที่ฟังก์ชั่นการใช้งานมากกว่าการตกแต่ง

จะว่าไปแล้วในประเทศไทยเองก็เริ่มมีร้านค้า ร้านอาหารที่ดีไซน์การตกแต่งกันอย่างสวยงาม สร้างเอกลักษณ์เป็นของตนเอง เพื่อกระตุ้นความสนใจลูกค้าอย่างเราให้อยากเข้าไปใช้บริการอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน ไว้ทางทีมงาน Dsign Something จะนำบรรยากาศดีๆ จากอาคารฝีมือคนไทยมาฝากกันบ้างอย่างแน่นอน

ขอบคุณข้อมูลจาก designboom.com