OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

คิด เพื่อเมืองที่ดีกว่า ASA LANNA EXHIBITION 2016 : THINK URBAN

เมื่อสถาปนิกวางมือจากงานออกแบบอาคาร มาจับงานที่สเกลเล็กลง แต่เข้าถึง ‘คน’ และใกล้ชิด ‘เมือง’ มากขึ้น

LOCATION : สวนสาธารณะหนองบวกหาด อ.เมือง จ.เชียงใหม่

PHOTO :  DsignSomething / L.A.P.D

ลายคนคงคุ้นเคยกับงานสถาปนิก ณ อิมแพ็คเมืองทองธานี ที่จัดขึ้นโดยสมาคมสถาปนิกสยามเป็นประจำทุกปี งานที่นับว่าใหญ่ยักษ์ที่สุดสำหรับวงการออกแบบและก่อสร้างในไทย รวมไปถึงในละแวกเพื่อนบ้านอาเซียน  ความจริงแล้วที่เชียงใหม่เอง ก็มีงานสถาปนิกขนาดย่อมที่ถูกจัดขึ้นทุกปีเช่นกัน ภายใต้ชื่อ งานสถาปนิกล้านนา โดยแต่ละปีก็มีแนวคิดในการจัดงานที่แตกต่างกันออกไป แม้จะเป็นงานเล็กๆแต่รูปแบบและเนื้อหาสาระของงาน ก็มีความน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว  ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

thinkurban01

 ‘คนเมือง(Think Urban)’

คอนเสปต์ของงานสถาปนิกล้านนาปีนี้ที่ต่างออกไปจากปีก่อนๆ คือการเลือกจัดนิทรรศการแบบOut door โดยใช้พื้นที่ภายในสวนสาธารณะหนองบวกหาด พื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ย่านคูเมือง

สอดรับกับแนวความคิดที่ต้องการให้งานออกแบบคำนึงถึงชุมชนและพื้นที่สาธารณะ ดึงผู้คนเข้าสู่งานออกแบบ ด้วยบรรยากาศที่สื่อถึงการเปิดกว้างทางความคิด ให้ทุกคนมีส่วนร่วมกับงานได้อย่างไม่ปิดกั้น  ความน่ารักที่เป็นผลพลอยได้จากสถานที่จัดงานคือ การที่เราจะเห็นกลุ่มคนหลากหลายปะปนอยู่ในงาน ไม่ว่าจะเป็นเหล่าสถาปนิก กลุ่มนักออกแบบ นักเรียนนักศึกษา รวมไปถึงคนที่มาออกกำลังกายที่กำลังยืนอ่านเนื้อหาของนิทรรศการ ชาวต่างชาติที่บังเอิญแวะผ่านมา ผู้คนทั่วไปที่ชี้ชวนกันดูงานจัดแสดง หรือเด็กๆที่วิ่งเล่นกันสนุกสนานภายในงาน ซึ่งภาพและบรรยากาศเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ยาก หากเป็นงานที่ถูกจัดขึ้นภายในอาคารในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง

thinkurban02

Urban Furniture exhibition

แม้ว่าช่วงเวลาการจัดงานจะผ่านพ้นไปแล้ว แต่เราอยากหยิบยกนิทรรศการย่อยนี้ มาเล่าให้ฟังกัน ซึ่งเป็นการจัดแสดงผลงานการออกแบบจากกลุ่มL.A.P.D (Lanna Architects Party Department ) กลุ่มสถาปนิกท้องถิ่นรุ่นใหม่ ที่ออกมาแสดงตัวตนและศักยภาพของตัวเองผ่านผลงานการออกแบบ ที่จะไม่ถูกเก็บเข้ากรุเมื่องานจบลง แต่ผลงานของพวกเขาเหล่านี้จะกลายเป็นต้นแบบ ส่งต่อให้กับหน่วยงานท้องถิ่นได้นำไปใช้จริงกับพื้นที่จริงตามจุดต่างๆของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งแต่ละทีมก็ตีความกันไปในทิศทางต่างๆเกิดงานออกแบบที่หลากหลาย  ไม่ว่าจะเป็น signage,  street furniture, map หรือ sculpture แต่ทั้งหมดคือการคิดเพื่อสร้างสรรค์บางสิ่งบางอย่างให้กับเมืองที่เป็นบ้านเกิดของพวกเขาเหล่านั้น

ตาวิเศษ V1 : ถังขยะอัจฉริยะ ป้องกันการก่อการร้าย

PROMPT ARCHITECT

thinkurban03

ลบภาพเดิมของถังขยะสาธารณะด้วยงานออกแบบที่ทำให้เรามองมันไกลกว่าการเป็นแค่พื้นที่รองรับขยะมูลฝอย เพราะนอกจากหน้าที่หลักแล้ว ด้วยฟอร์มเท่ๆนี้เอง ทำให้มันกลายเป็น sculpture ที่สามารถวางในพื้นที่สาธารณะได้อย่างไม่น่าเกลียด และด้วยวัสดุที่คงทนเป็นโครงโปร่งภายนอก ถุงขยะใสภายใน และรูปแบบที่ถูกคิดมาเป็น modular ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบได้หลากหลายและง่ายต่อการใช้งาน

————————-

เล่น เรียน รู้ เมือง : SR-24 ROUND RUN

บริษัท อศณ สถาปนิก จำกัด

thinkurban04

เก้าอี้นั่งพักผ่อนที่มาพร้อมกับแผนที่เมืองเล่นได้! ด้วยแผนที่ย่านเมืองเก่าที่แสดงถนนด้วยเหล็กเส้นกลม ที่เราสามารถลากแท่งเหล็กไปตามเส้นทางต่างๆ เหมือนได้ลงไปเดินเองในแผนที่ ทำให้สามารถวางแผนเส้นทางเดินเที่ยวชมเมืองได้อย่างสนุกและง่ายดาย

————————-

กี่ สาย ใย

CHISHIKI ARCHITECTS AND DESIGN STUDIO

thinkurban05

จากกอุปกรณ์ที่มีมาคู่กับวัฒนธรรมการทอผ้าของคนท้องถิ่น ถูกนำมาดัดแปลงให้เป็นเฟอร์นิเจอร์ โดยการใช้เสื่อขนาดยาวพาดม้วนกับโครงไม้ เหมือนผืนผ้าที่กำลังถูกถักทอ แต่สามารถใช้นั่ง หรือ เอนนอน รับกับทุกสรีระร่างกาย และด้วยความโปร่งโล่งนี้เอง จึงเหมาะกับการนำไปไว้วางตามสวนสาธารณะหรือริมสระน้ำ รับลมและแสงแดดอ่อนๆ คงจะสบายไม่น้อยเลยทีเดียว

————————-

ต๋อน ยอน – ต๊ะ ต๋อน ยอน

FULL SCALE STUDIO

thinkurban06

เก้าอี้นั่งขนาดยาว ที่สามารถปรับรูปแบบได้สารพัดตามความต้องการของผู้ใช้งาน จะจอดจักรยาน ใช้ออกกำลังกาย นอนเล่น อ่านหนังสือ จับกลุ่มสนทนาหรือนั่งกับคนแปลกหน้า เก้าอี้ตัวนี้ก็พร้อมที่จะให้ผู้คนแบ่งปันพื้นที่สาธารณะให้กันและกัน ทั้งยังมีความพิเศษที่กลไกระหว่างชิ้น ทำให้มันสามารถวางตัวไหลไปกับเนินเดินของคูเมืองได้อีกด้วย

————————-

นั่งกึ๊ด – ยืนกึ๊ด

TRI ARCHITECT

thinkurban07

งานชิ้นนี้น่าจะเป็นทางออกให้กับนักท่องเที่ยวที่ชอบฝากรอยจารึกไว้กับสถานที่ที่ตนไปเยือน โดยการเปลี่ยนมาขีดๆเขียนๆแชร์ความคิดความรู้สึกไว้บนแผ่นกระจกใส ที่ฉากหลักเป็นสถานที่นั้นๆแทน ก็คงให้ความรู้สึกไม่ต่างกันนัก ที่สำคัญนอกจากจะไม่มีใครว่าแล้วยังไม่ทำลายสมบัติสาธารณะด้วย

————————-

กิ่ง ก้าน ใบ ชะ ชะ ใบ ก้าน กิ่ง

INLY STUDIO

thinkurban08

Relaxing space เวทีเล็กๆที่รองรับการจัดกิจกรรมบนพื้นที่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นความบันเทิงในรูปแบบใด ก็สามารถเป็นจุดสนใจ ดึงดูดผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาให้มาจอยกันได้ ทั้งยังน่าสนใจด้วยการจัด lighting ทำให้จัดกิจกรรมได้ต่อเนื่องทั้งกลางวันและกลางคืน

————————-

I AM A STRANGER

MITr

thinkurban09

Street sculpture  ชิ้นนี้เล่นกับความเป็นเมืองและนักท่องเที่ยวด้วยแนวคิดที่ว่า “เมือง” ทำให้เราเป็น “คนแปลกหน้า” สำหรับมันอยู่เสมอ ด้วยการใช้แผนกระจกสลับกับช่องว่าง ที่เมื่อเราเข้าไปอยู่ในนั้น จะเกิดภาพใบหน้าที่ขาดช่วงซ้อนทับกับภาพของเมืองที่สะท้อนบนกระจก เกิดเป็นภาพของคนหน้าแปลก เอ้ย! แปลกหน้า ไปโดยปริยาย

————————-

POP-UP SIGNAGE

PLANKRICH

thinkurban10

ป้ายบออกทางที่เกิดจาการนำเทคนิคป๊อบอัพมาใช้กับวัสดุเหล็กแผ่น เล่นกับลายฉลุเป็นชื่อสถานที่หรือสัญลักษณ์ต่างๆที่สื่อความให้เข้าใจได้ง่าย เหมาะสำหรับนำไปวางตามจุดต่างๆ เพิ่มสีสันให้กับเมืองได้อย่างสนุกสนาน

————————-

AROUND HERE

IS ARCHITECTS

thinkurban11

ผลงานที่เกิดจากการนำลักษณะของการห้อมล้อมพื้นที่ มาประยุกต์เข้ากับพื้นที่เล็กๆอย่างใต้ต้นไม้ ให้เกิดการใช้งานบางอย่าง ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาพื้นที่ภายใน เหมือนเป็นกระถางต้นไม้ที่ใช้นั่งพักผ่อน ทั้งยังสามารถจอดจักรยานไปในตัวได้อีกด้วย

————————-

COLONIAL

MAE KANING CREATIVE

thinkurban12

เฟอร์นิเจอร์ ที่ลดทอนรูปทรงมาจากทรงหลังคาแบบล้านนา เหมาะกับการเป็นจุดพักผ่อนในย่านเมืองเก่า ด้วยฟอร์มที่เรียบง่ายและสีขาวสะอาดตา ใช้วัสดุหวายเทียมทำให้คงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถวางในพื้นที่โล่ง ใช้งานได้ทุกด้าน หรือล้อมต้นไม้เป็นทีนั่งในร่มก็น่าสนใจ

————————-

SMOKE KILLS

BLANK STUDIO

thinkurban13

Smoking area ที่จะทำให้ภาพคนสูบบุหรี่ตามพื้นที่สาธารณะหายไป ด้วยการซ่อนตัวผู้สูบไว้ภายในตู้ที่ภายนอกเป็นกระจกเงาสะท้อน กลืนไปกับทัศนียภาพโดยรอบ จำกัดมลพิษจากควันบุหรี่ไม่ให้รบกวนผู้อื่น

————————-

Tired? Rest here before moving

King Kan saka Co.,Ltd

thinkurban14

เก้าอี้ไม้ที่แกะลวดลายรูปแบบของหยดน้ำเมื่อตกกระทบกับแผ่นไม้ ให้ความรู้สึกผ่อนคลายจากความเหนื่อยล้า

————————-

TU BE

S.O.S ARCHITECT

thinkurban15

เครื่องออกกำลังกายที่ถอดรูปแบบมาจากแพทเทิร์นของลวดลายผ้าซิ่นพื้นเมือง ทำจากท่อเหล็กทำให้มีความคงทนแข็งแรง เส้นสายที่ประกอบกันในหลายมิติทำให้ผู้ใช้สามารถครีเอทวิธีออกกำลังกายได้ไม่จำกัด ทั้งยังสามารถใช้จอดจักรยานได้ด้วย

————————-

ZTZ : ZEE THROUGH ZEAT

UP UNPARALLELED PERCEPTION CO., LTD

thinkurban16

ม้านั่งโปร่งที่ทำขึ้นจากแผ่นตะแกรงรูกลม ออกแบบมาให้สามารถวางครอบต้นไม้ขนาดเล็ก บริเวณทางเดินหรือภายในสวนสาธารณะ โดยที่ผู้ใช้งานสามารถมองเห็นต้นไม้ด้านใน ดูแลให้น้ำได้ ทั้งยังสามารถเล่นกับที่นั่งด้วยท่อนไม้กลมเล็กๆ ขนาดพอดีกับรูบนระนาบแต่ละด้าน จะนำมาจัดเรียงเป็นข้อความ หรือสร้างลวดลายกราฟฟิคก็สามารถได้

————————-

ธรรมะข้อเดียว : SENTENCE OF LIFE

NALUETHEP PINGMUANG

thinkurban17

จากคำสอนของผู้อวุโสถ่ายทอดสู่งาน interactive design ด้วยการแกะไม้เป็นองค์พระ ที่จะสร้างคุณค่าทางจิตใจให้กับผู้คน ซึ่ง คน เปรียบเสมือนหัวใจของเมือง แน่นอนว่าเมื่อคนมีจิตสำนึกที่ดีแล้ว ย่อมส่งผลให้เมืองที่อาศัยอยู่มีความดีงามตามไปด้วย

————————-

เ(ห)มืองทองคำ GOLD FIELD

DEEKWA

thinkurban18

คิด และใช้อย่างรู้คุณค่า คือแนวคิดของเก้าอี้ตัวนี้ที่เกิดจากการนำวัสดุเหลือใช้ มาหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์ใช้สอยใหม่ๆเป็นการย้ำเตือนให้เราเห็นคุณค่าของทรัพยากรต่างๆที่มีอยู่ในเมือง

————————-

ไค้พักไค้ผ่อน  พ่อง..

PIJIC

thinkurban19

เก้าอี้ที่ดึงรูปแบบมาจากทัศนียภาพและภูมิประเทศของเมืองเชียงใหม่  สามารถปรับรูปแบบได้ รองรับอิริยาบถต่างๆของผู้ใช้งานที่ต้องการนักพักระหว่างเดินทางท่องเที่ยวเพื่อผ่อนคลายจากความเหนื่อยล้า

————————-

เมื่อก่อน

POPARCH STUDIO

thinkurban20

Information ที่ผสานประวัติศาสตร์เข้ากับยุคสมัยใหม่ ที่จะทำให้นักท่องเที่ยว เห็นภาพสิ่งปลูกสร้างเก่าแก่ในปัจจุบัน ซึ่งบางส่วนอาจมีความเว้าแหว่ง หักพังไปบ้างตามกาลเวลา ต่อเติมจินตนาการด้วยภาพในอดีต จาก เมื่อก่อน ว่าสิ่งปลูกสร้างเหล่านั้นเคยมีหน้าตา หรือรูปแบบเป็นอย่างไร

————————-

HOW-HUG = HUG-HOW

POPARCH STUDIO

thinkurban21

Street furniture จากงานหัตถกรรมพื้นถิ่น ที่นอกจากจะแสดงออกถึงความเป็นล้านนา ยังแฝงความหมายที่สื่อถึงการต้อนรับ จากฟอร์มที่ถอดความมาจากรูปแบบของ ขันหรือ พานตามแบบฉบับล้านนา ที่มักจะใช้ร่วมกับพิธีกรรมในการต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองนั่นเอง

การเติบโตที่เราได้พูดถึงไว้ในตอนต้นของบทความนี้  ไม่เพียงหมายถึงขนาดพื้นที่จัดงานที่อาจจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แต่หมายถึง การเติบโตของความร่วมมือ ระหว่างองค์กรรัฐ เอกชน องค์กรอิสระ และภาคประชาชน โดยมีกลุ่มสถาปนิกเป็นกาวเชื่อม ยึดโยงเป้าหมายที่จะพัฒนาเมืองเชียงใหม่ไปสู่สากล ซึ่งทุกคนต่างมีแนวคิด มีไอเดียที่หลากหลาย รวบรวมไม่ให้กระจัดกระจาย แต่ทำให้มีแนวคิดเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งค่อนข้างเห็นเป็นรูปเป็นร่างและจะชัดเจนมากขึ้นนับจากงานปีนี้เป็นต้นไป

Discover more from Design Makes A Better Life.

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading