OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

บ้านอยู่สบายแบบพอเพียงของสถาปนิก

บ้านทาวน์เฮ้าส์หลังนี้เป็นของ ดร.จตุวัฒน์ วโรดมพันธ์ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งตั้งใจปรับปรุงบ้านเดิมให้เป็นบ้านที่น่าอยู่และเตรียมพร้อมสำหรับครอบครัวขยายในอนาคต
IMG_3682+ “ผมเลือกซื้อทาวน์เฮ้าส์ติดกับบ้านของพ่อและแม่ เพื่อความสะดวกในการดูแลท่านเมื่อยามแก่ชรา เมื่อซื้อมาก็ต่อเติมและปรับปรุงภายในทั้งหมด ตอนนี้อยู่กับภรรยา ยังไม่มีลูก แต่คิดว่าคงอีกไม่นานนี้ เลยทำห้องนอนเผื่อลูกๆ ไว้เรียบร้อยแล้ว
“บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ในซอยสุขุมวิท 22 เดินทางด้วยรถไฟฟ้าได้สบายๆ หรือจะเดินทางจากบ้านไปสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รถก็ไม่ติดมากนักเพราะเดินทางย้อนศรกับคนส่วนใหญ่ที่ตอนเช้าจะเข้าเมืองและเย็นออกจากเมือง เรากลับกันกับเขาหมด” อาจารย์จตุวัฒน์เล่าด้วยรอยยิ้มที่มุมปาก ขณะพาผมเดินชมส่วนต่างๆ ของบ้าน
IMG_3684+ “เดิมบ้านนี้เป็นบ้านสามชั้นพร้อมดาดฟ้า ผมจึงต่อเติมพื้นที่ดาดฟ้าให้กลายเป็นห้องพักผ่อนออกแบบให้เป็นประตูบานเลื่อนกระจกสูง มองออกไปเห็นทิวทัศน์ของเมืองได้ และห้องนี้ยังเป็นเหมือนฉนวนกันความร้อนไม่ให้เข้าสู่ห้องนอนที่อยู่ชั้นล่างได้ด้วย”
IMG_3686 อาจารย์จตุวัฒน์ มีความเชื่อว่า การออกแบบช่วยให้โลกดีขึ้นได้ ซึ่งนำไปสู่การเรียนและเป็นอาจารย์สอนเกี่ยวกับด้านพลังงาน รวมถึงการออกแบบสถา – ปัตยกรรมสีเขียวที่ช่วยให้บ้านและโลกเย็นขึ้น เมื่อมาออกแบบบ้านของตัวเองเขาจึงไม่ลืมใส่รายละเอียดเรื่องการประหยัดพลังงานและทรัพยากรลงไปด้วยไม่ว่าจะเป็นการทำระบบเก็บกักน้ำฝนไว้ใช้รดน้ำต้นไม้และสำรองไว้ใช้ยามน้ำประปาไม่ไหล การออกแบบช่องลมแนวตั้งที่โถงบันไดเพื่อถ่ายเทอากาศร้อนให้ลอยขึ้นสูงและออกนอกตัวบ้านไป หรือการนำน้ำจากเครื่องปรับอากาศมารดน้ำต้นไม้ แทนที่จะปล่อยให้หยดทิ้งเหมือนบ้านทั่วไป
IMG_3687“ผมเชื่อว่า บ้านที่ดีไม่ใช่แค่สวยอย่างเดียว แต่การใช้งานต้องส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด อย่างหน้าบ้านที่จอดรถได้ 2 คัน ผมยอมสละให้จอดรถได้คันเดียว ส่วนพื้นที่ที่เหลือเป็นสวนและต้นไม้ ผมคงอึดอัดถ้าต้องอยู่ในบ้านที่มองออกไปเห็นแต่ที่จอดรถ แม้สวนของเราจะมีขนาดเล็ก แต่ก็ช่วยให้บ้านเย็นขึ้นได้IMG_3644+ “ส่วนภายในบ้าน ผมยอมเสียพื้นที่ภายในบางส่วนเพื่อขยายโถงบันไดให้ใหญ่ขึ้นกว่าของเดิม ทำให้ได้โถงโล่งรับแสงธรรมชาติที่ส่องผ่านหลังคาโปร่งด้านบน และยังเป็นช่องทางให้ลมร้อนลอยขึ้นไปและออกไปสู่ภายนอกได้ด้วยการออกแบบภายใน ผมใช้ผนังเบาทั้งหมด เพราะนอกจากการก่อสร้างที่รวดเร็วแล้ว ผนังเบายังมีมวลน้อยกว่าผนังก่ออิฐฉาบปูนทั่วไป ฉะนั้นความร้อนที่สะสมก็จะน้อยตามไปด้วย แนวคิดอีกอย่างหนึ่งคือ การออกแบบให้บ้านทาวน์เฮ้าส์หลุดออกจากกรอบเดิมๆ เมื่อเดินเข้ามาจะรู้สึกเหมือนเป็นบ้านเดี่ยวที่มีการเปิดรับแสงและลมได้มากกว่า เพราะด้านข้างนั้นไม่สามารถเจาะช่องแสงได้ เราจึงเจาะช่องหน้าต่างในตำแหน่งหน้าและหลังมากที่สุด”
IMG_3647 ตอนทำบ้านหลังนี้ อาจารย์จตุวัฒน์ยังคิดถึงเรื่องการเชื่อมต่อกับบ้านของพ่อแม่ที่อยู่ด้านข้างด้วย โดยออกแบบให้มีลิฟต์ตัวเล็กๆ เพื่อความสะดวกในยามแก่ชรา ทั้งยังช่วยในการขนของขึ้นลงอีกด้วย เพียงแค่ทุบผนังกั้นระหว่างบ้านทั้งสองหลังออกก็สามารถใช้ลิฟต์ร่วมกันได้ งานระบบในบ้านก็เป็นเรื่องที่อาจารย์จตุวัฒน์ให้ความใส่ใจเช่นกัน อย่างระบบดูดอากาศก็มีการติดตั้งพัดลมดูดอากาศในห้องครัวและห้องน้ำ เพราะอากาศเสียส่วนใหญ่จะมาจากสองห้องนี้ ส่วนเรื่องระบบปรับอากาศเลือกใช้แบบ Sprit Type เพราะง่ายและสะดวก อีกทั้งยังประหยัดไฟมากกว่าระบบอื่นๆหากมีการใช้งานที่เหมาะสม โดยซ่อนท่อต่างๆ ไว้ในผนังทั้งหมดเพื่อความ
เรียบร้อยสวยงาม
IMG_3652 ผมเดินขึ้นลงบ้านสี่ชั้นแบบเพลินๆ เพราะตื่นเต้นไปกับผลลัพธ์ทางความคิดที่ถ่ายทอดออกมาเป็นบ้านหลังนี้… ซึ่งมีรายละเอียดมากมาย ถ้าจะให้กล่าวถึงทั้งหมด หน้ากระดาษอาจไม่พอ หากเปรียบได้กับคนก็เหมือนผู้ใหญ่ใจดี ที่มีความเข้าใจโลกและคอยทำสิ่งดีๆ ให้คนรอบข้างโดยที่คนเหล่านั้นไม่รู้ตัว ทั้งหมดนี้เหมือนเป็นการทำที่เล็กน้อย แต่ถ้าทุกบ้านทำแบบนี้ ผมเชื่อว่าจะมีสิ่งดีๆ เกิดขึ้น ไม่มากก็น้อย…IMG_3654+IMG_3661+ IMG_3666+ IMG_3669 IMG_3676+ IMG_3690+