OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

สวยซ่อนสนิม 5 แบบอาคารในความงามที่คุณต้องประหลาดใจ

1ร่องรอยคราบสนิมสีส้มอิฐปนแดงบนผิวโลหะที่เจ้าของบ้านหลายคนต่างหลีกเลี่ยง ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ระหว่างออกซิเจนกับวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ ที่มีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบ เมื่อเหล็กสัมผัสกับน้ำและความชื้น โดยจะค่อย ๆ เกิดการสึกกร่อน กลายเป็นคราบเหล็กออกไซด์หรือที่เรารู้จักกันว่า สนิมเหล็ก นั่นเอง แต่สัญลักษณ์ของความสึกกร่อนจะเปลี่ยนไป ผ่านกระบวนการดีไซน์จากเหล่าสถาปนิกนักออกแบบ ทั้งการ reuse นำของเดิมกลับมาใช้ใหม่ และตั้งใจทำเลียนแบบตั้งใจให้เกิดขึ้น ใช้ประโยชน์จากสีสันและพื้นผิวอันเป็นเอกลักษณ์ของสนิมเหล็ก ทำให้เกิดผลลัพธ์ความงามในมิติอื่นๆ ที่น่าสนใจขึ้นมากทีเดียวครับ

TINSHED/ Designed by Raffaello Rosselli2

ผลงานชิ้นแรก เริ่มจากประเทศไม่ใกล้ไม่ไกลจากมากเรามากนัก สถาปนิกหนุ่มชาวออสเตรเลีย Raffaello Rosselli รีโนเวทอาคารในย่านอุตสาหกรรมเก่า Redfern,เมือง Sydney การปรับเปลี่ยนจากโรงงานดีบุกเก่าเป็นออฟฟิศและสตูดิโอขนาดเล็ก โดยเลือกที่จะเก็บแผ่นสังกะสีลอนของอาคารหลังเดิมเพื่อนำมาจัดเรียงให้เป็นแผ่นผนัง facade อาคารหลังใหม่ ในรูปทรงที่ร่วมสมัยมากขึ้น  เพราะเค้าคิดว่าแต่เดิมโรงดีบุกเก่าเป็นอาคารสัญลักษณ์สำคัญของเมืองนี้ ในฐานะที่นี่เป็นอาคารหลังสุดท้ายที่เหลืออยู่ในระแวกนี้แล้ว จึงอยากจะเก็บของที่ระลึกทางประวัติศาสตร์บางอย่างในย่านอุตสาหกรรมเก่าแก่ของเมืองเอาไว้ดังเดิม เค้าลงมือศัลกรรมอาคารแบบยังรักษาลักษณะเฉพาะของวัสดุเดิมเอาไว้ได้อย่างดี  ทำให้อาคารหลังใหม่ยังคงดูกลมกลืน ไม่ใช่ของแปลกหน้าสำหรับย่านบ้านเกิดของมัน3 4

ส่วนของโครงสร้างหลัก สถาปนิกแยกโครงสร้างเสาคานหลักเดิมที่ไม่แข็งแรงแล้วออกไป จากนั้นก็นำเข้าเข้าไปประกอบใหม่เข้ากับโครงกรอบไม้  timber frame  แล้วจึงปิดทับผนัง 3ด้านด้วยแผ่นสังกะสีเดิม ไม้เว้นในจุดรายละเอียดเล็กๆ อย่างบานกรอบหน้าต่างที่เลือกใช้เหล็กขึ้นสนิมเช่นกัน เพื่อรักษารูปด้านที่กลมกลืนเมื่อมองมาจากภายนอก มีสิ่งที่น่าทึ่งยิ่งกว่าแอบซ่อนอยู่ภายในบ้านผนังแผ่นสังกะสีหลังนี้  เพราะมันถูกออกแบบในโทนขาวสะอาดหมดจด ผนังขาวนวลตัดกับสีน้ำตาลของพื้นและผนังไม้ แตกต่างกับภายนอกโดยสิ้นเชิง

La Reserva House / Designed by Sebastian Irarrazaval8

ภาพที่คุณกำลังมองอยู่นี้คือบ้านพัก La Reserva ตั้งอยู่บนเชิงเขาประเทศประเทศชิลี ในทำเลใกล้ชิดธรรมชาติ สายลมพัดผ่าน  ผนังสีสนิมส้มอิฐดูกลมกลืนทุ่งดอกไม้ดอกไม้แห้งที่เนินเขา ตัดกับท้องฟ้าสีครามสดใสได้อย่างสวยงามพอดิบพอดี เป็นตัวอย่างอาคารเพื่อแก้ปัญหาบ้านพักอาศัยราคาสูงในประเทศ ต้องการรูปแบบอาคารที่เรียบง่าย เข้ากับสภาพแวดล้อม สามารถนำไปสร้างในที่อื่นๆ ได้อีก สถาปนิกจึงออกแบบบ้านหลังนี้เป็นบ้านพักราคาประหยัด ขนาดกระทัดรัด 140 ตร.ม.  เน้นการออกแบบที่ก่อสร้างรวดเร็ว  ใช้รูปรู่างเลขาคณิตสี่เหลี่ยมหมดจด

9 10วัสดุหลักคือ คอนกรีต เหล็กและไม้ ใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็น ระบบโครงสร้างพื้นหล่อสำเร็จรูป prefabricated ผนัง facade ด้านนอกใช้แผ่นเหล็กขึ้นสนิม คลุมผนังคอนกรีตใช้ในของอาคาร เกิดขึ้น double facade ปกป้องความร้อนด้วยผนัง 2 ชั้น สร้างช่องว่างระหว่างผนังเพื่อให้ลมไหลระบายความร้อนสะสมในวัสดุออกไปได้ดีขึ้น

Iron Gallery  / Designed by Kensuke Watanabe  Architecture Studio14

อาคารสูง 4 ชั้น ผลงานการออกแบบสถาปนิกแดนปลาดิบ ที่ผิวนอกปกคุลมไปด้วยแผ่นเหล็กลอน Corten Steel ตั้งตระหง่านอยู่ในเมืองหลวงอย่าง Tokyo ที่การสัญจรแออัด เป็นอาคาร  Antique gallery & office ย่านใจกลางเมืองบนพื้นที่ขนาดเล็ก มีพื้นที่ใช้งานรวมทุกชั้นน้อยกว่า  100 ตร.ม.เสียอีก 15 16

พื้นที่  2 ชั้นล่างเป็น Gallery ส่วน 2 ชั้นบนเป็น  antique art office  dealer เลือกใช้โครงสร้างเหล็กเพื่อช่วยลดขนาดโครงสร้างให้เล็กลง เพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้มากขึ้น แก้ปัญหาพื้นที่ดินก่อสร้างที่มีจำกัด ผสานกับการตกแต่งแบบเรียบโล่งน้อยชิ้น โทนสีขาวสะอาดตา ยิ่งช่วยบรรเทาความอึดอัดในพื้นที่ขนาดเล็กได้เป็นอย่างดี

D tip : Corten Steel หรือ weathered metal

คือ เหล็กที่ทนต่อสภาพแวดล้อมดินฟ้าอากาศ เพราะจะมีส่วนผสมที่เป็นทองแดงอยู่ด้วย ป้องกันการซุกกร่อนที่ผิวภายนอกเมื่อเกิดปฏิกิริยากับความชื้น เป็นเหล็กที่ถูกเอามาทำตู้ Container ใช้บรรจุสินค้าเดินทางข้ามน้ำทะเล เป็นระยะเวลานานๆ นั่นเอง

City Library Bruges  / Designed by  Studio Farris Architects20

ผลงานชนะเลิศการประกวดแบบจาก  Studio Farris Architects โดยสภาท้องถิ่นประจำเมืองในโครงการปรับปรุง รีโนเวทห้องสมุด  library of Sint-andries (Bruges) อาคารสำคัญที่ได้รับการขึ้นทะเบียนของประเทศ  Belgium จนได้รูปฟอร์มใหม่ออกเป็นทรงสี่เหลี่ยมขนาดความสูง 1 ชั้น สถาปนิกเลือกใช้แผ่นเหล็ก Corten steel ที่ทำให้ขึ้นสนิมมาก่อนเป็นผิวนอกของอาคาร จงใจให้เกิดความ contrast กับผนังสีขาวเดิมภายในห้องสมุด เพื่อสร้างบรรยากาศการใช้งานอาคารที่แตกต่าง21

บางชิ้นของแผ่นเหล็กก็สร้างลูกเล่นให้กับรูปด้านด้วยการสร้าง pattern เป็นรอยปรุและรอยนูนรูปวงกลมขนาดเล็ก เพื่อสร้างลวดลายไม่ให้เรียบจนเกินไป แถมยังใช้ประโยชน์เป็นข่องแสงภายนอกลอดผ่าน  แผ่นเหล็ก facade ภายนอกเองก็ยังถูกจัดวางสลับทั้งแผ่นตั้งและแผ่นนอนคละกันไปอย่างมีความหมาย ให้สัมพันธ์กับตำแหน่งช่องเปิด บานกระจกต่างๆ ลดเหลือเศษแผ่นเหล็กชิ้นเล็กชิ้นน้อยตอนติดตั้งจริง

The Dovecote Studio / Designed by Haworth Tompkins28

มาถึงตัวอย่างชิ้นที่ 5 เราขอปิดท้ายด้วยการรีโนเวทอาคารหลังเล็กน่ารัก ที่ประเทศอังกฤษ สถาปนิกเมืองผู้ดี Haworth Tompkins เลือกที่จะผสมผสานผิวเหล็ก  Corten steel ขึ้นสนิมกับผนังอิฐบล๊อคเดิมน่าอย่างน่าสนใจ31

สีสันที่คล้ายคลึง ความเก่าแก่ดั้งเดิมกับความเก่าที่ถูกทำขึ้นใหม่ การเลือกเก็บซากผนังเดิมที่พังทลายเอาไว้ สวมทับลงด้วยกรอบอาคารผนังเล็กทรงหน้าจั่ว ที่ปรับปรุงมาเพื่อใช้งานเป็นสตูดิโอศิลปิน ออกแบบให้มีช่องแสงอย่างง่ายที่ผนังและหลังคาเพื่อดึงเอาแสงธรรมชาติลงมาใช้ภายในสำหรับการทำงานศิลปะ ช่องเปิดความสว่างจะแสงแดดจะทำให้พื้นที่แคบๆในกล่องดูกว้างมากขึ้น และหน้าต่างที่ถูกเจาะเอาไว้เพื่อให้มองเห็นวิวระยะไกลถึงชายทะเลเพื่อพักสายตา

ทั้ง 5 แบบที่เราหยิบยกขึ้นมา เป็นตัวอย่างการนำวัสดุเดิมที่เราพบเจอกันจนชินตา นำมาตีความ จัดวาง และใช้งานในรูปแบบใหม่ สร้างผิวนอกแบบดูหยาบแข็งไว้ลวงตา พอเข้ามาใช้งานด้านในถึงจะพบความขาวสะอาด clean อย่างหมดจด  จากคราบสนิมที่เรามองว่าไม่สวยงามนี้เองหากเราให้คุณค่าและรู้จักนำมาใช้อย่างชาญฉลาด คล้ายคลึงกับที่เราเห็นได้ในการตกแต่งแบบ Industrial Style ก็จะทำให้พบเสน่ห์ในพื้นผิวโลหะที่แอบซ่อนอยู่ได้ไม่ยากเลยครับ

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

http://www.dezeen.com/2013/06/21/tinshed-by-raffaello-rosselli/

http://www.archdaily.com/2719/la-reserva-house-sebastian-irarrazaval/#more-2719

http://www.dezeen.com/2012/01/12/iron-gallery-by-kensuke-watanabe-architecture-studio/

http://www.dezeen.com/2015/05/11/studio-farris-architects-corten-extension-library-bruges-belgium/

http://www.dezeen.com/2010/02/14/the-dovecote-studio-by-haworth-tompkins/