OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

พื้นที่พักอาศัยในลานจอดรถร้าง งานไทยระดับอินเตอร์ที่ Chicago Architecture Biennial 2015

1

เรามักจะได้เห็นโครงการรวบรวมงานออกแบบที่น่าสนใจเพื่อกระตุ้นวงการออกแบบให้ขับเคลื่อนสู่อนาคตทีดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ และได้แต่อิจฉาที่ระดับโลกส่วนใหญ่จะเป็นผลงานจากต่างประเทศ จะมีเฉียดๆเข้ามาทางโซนเอเชียก็ต้องหักพวงมาลัยเลี้ยวผ่านเข้าประเทศอื่นไปเสียก่อน มาถึงคราวนี้เมื่อโอกาสวิ่งเข้าตรงเข้ามาสู่มือของดีไซเนอร์คนไทย จากการคัดเลือกผลงานกว่า 60 สตูดิโอใน 30 ประเทศ 5 ทวีป เปิดโอกาสให้คนไทยได้แสดงฝีมือแก่เวทีโลกว่าประเทศเล็กๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเราก็มีศาสตราทางความคิดที่แหลมคมซ่อนอยู่เหมือนกัน

Chicago Architecture Biennial 2015

เริ่มที่การมาทำความรู้จักกับ Chicago Architecture Biennial 2015 กันซะก่อนนะครับ นี่คืองานรวบรวมและจัดแสดงสถาปัตยกรรมร่วมสมัยที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกาเหนือ เพื่อการส่งเสริมการออกแบบที่ก้าวล้ำ ทดลองสร้างสรรค์พื้นที่ที่แสดงพักอาศัยและนวัตกรรมเพื่อเปลี่ยนประสบการณ์ชีวิตมนุษย์ ผ่านการคัดเลือกงานแต่ละชิ้นจากศิลปินดีไซเนอร์ระดับอาวุโสมากมาย หยิบจับเอานักออกแบบจากหลายแขนง กราฟฟิคดีไซเนอร์ สถาปนิก ศิลปิน นักออกแบบต่างๆมารวมตัวกัน ถือเป็นสเกลใหญ่ที่เปิดโอกาสให้เหล่าดีไซเนอร์ไฟแรงทั่วโลก ต่างสังคม ต่างวัฒนธรรม ได้มาแลกเปลี่ยนไอเดียสร้างสรรค์และแรงบันดาลแก่กันด้วยผลงานสถาปัตยกรรมยุคใหม่

2

Dtip : เมือง Chicago เป็นเมืองใหญ่แห่งแรกที่เกิดสถาปัตยกรรมแบบอาคารสูงขึ้น ซึ่งนั่นทำให้มันพลิกโฉมหน้าการดำเนินชีวิตของคนเมือง จากที่อยู่อาศัยเป็นบ้านเดี่ยวสู่การเข้าอยู่ในอาคารแนวตั้งเพื่อประหยัดพื้นที่ต่อการขยายตัวของเมือง และยังส่งอิทธิพลมาถึงรูปแบบการดีไซน์ในยุคต่อมา ผู้จัดงานจึงให้เห็นผลว่า ไม่มีเมืองใดในเขตอเมริกาเหนือที่จะเหมาะสมกับการจัดงานระดับโลกครั้งนี้อีกแล้ว

4 3

Studio All(zone)

สตูดิโออออกแบบของไทย All(zone) ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมงาน Chicago Architecture Biennial 2015 โดยส่งผลงานโปรเจคการออกแบบแนว conceptual model (ต้นแบบแนวความคิด) พื้นทีพักอาศัยชั่วคราวบนลานจอดรถร้างในกรุงเทพ ชื่อผลงานว่า Light House: The Art of Living Lightly บ้านทดลองต้นแบบในพื้นที่เมืองหลวงเขตร้อน การใช้ชีวิตร่วมกับแสงแดดและอากาศ

5 6

มีที่มาจากการตั้งคำถามถึงการใช้งานพื้นที่รกร้างในกรุงเทพ ทั้งที่มีความต้องการพื้นที่พักอาศัยปริมาณมากในย่านใจกลางเมือง ต้องแบ่งสรรปันส่วนกันจนได้พื้นแค่พื้นที่แออัดขนาดเล็ก ที่ดินถูกจับจองและราคาดีดตัวสูงขึ้นตลอด แต่ในกรุงเทพเองก็มีพื้นที่รกร้างตามตึกสูงที่ถูกทิ้งร้างไม่ได้ใช้ประโยชน์อยู่ไม่น้อยเหมือนกัน ทรัพยากรหินปูนทรายก็ถูกสร้างขึ้นมาแล้วกลับไม่ถูกใช้งาน ถ้าเราสามารถเปลี่ยนพื้นที่เหล่านั้นให้ใช้อยู่อาศัยได้ ภายใต้เงื่อนไขความร้อนแสงแดดและการระบายลมให้เหมาะสมกับสภาพเมืองเขตร้อน จึงเกิดโปรเจคการทดลองที่อยู่อาศัยชั่วคราวแบบไทยๆ ในเมืองหลวงยุคใหม่แห่งนี้ขึ้นมา

7 8 9

ที่พักอาศัยชั่วคราวในเมืองเขตร้อน

โมเดล Light House 1 ยูนิต ครอบคลุมพื้นที่เพียง 11.5 ตร.ม. มีรูปทรงเป็นกล่องขนาดเล็กตั้งในอยู่ในลานจอดรถของตึกร้างแห่งหนึ่งในกรุงเทพ ทำขึ้นมาจากไม้อัดพลาสติกลามิเนตและโครงผนังตาราง grid เป็นโลหะเคลือบผิวพลาสติก ปูผนังด้วยแผ่นผ้าซ้อนกับตาข่ายในล่อนหลายชั้น ทำให้ได้ผนังที่ดูโปร่งโล่ง เพิ่มการไหลเวียนของทั้งแสงแดดและกระแสลมให้ไหลผ่าน

10

ภายในบ้านแบ่งกั้นส่วนทำงานหลัก ส่วนเปลี่ยนเสื้อผ้าใช้ผ้าผูกปั่นกั้น ตู้เสื้อผ้า เตียงนอนที่มีมุ้งกันยุงที่ทำจากผ้าโพลีเอสเตอร์ การเลือกใช้โครงสร้างเบา(ผนังประกอบ ไม่มีเสา) เข้าไปติดตั้งกับโครงหน้าคอนกรีตในลานจอดรถเดิม จะช่วยลดการรบกวนโครงสร้างของตึกเดิมคงไว้ซึ่งคาแรคเตอร์ของสถานที่เอาไว้ เลือกใส่สิ่งปลูกสร้างที่บางเบา ติดตั้งรื้อถอนง่ายอย่างอิสระในพื้นที่ที่มีหลังคาคลุมอยู่แล้ว และราคาย่อมเยาภายใต้งบ 1200 $ (หรือประมาณ 42000 บาทในค่าเงินปัจจุบัน) เพื่อการตอบสนองการใช้งานแก่คนที่มีรายได้น้อยหรือคนเร่ร่อนที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง ให้มีที่พักเป็นหลักแหล่งชั่วคราว ในอาคารสูงที่ถูกทิ้งร้างจากปัญหาทางเศรษฐกิจหรือการสร้างระบบที่ล้าสมัย ให้กลับมาเป็นพื้นที่ที่เกิดประโยชน์อีกครั้ง11

แม้จะอยู่ในขั้นตอนการโปรเจคการทดลองที่อยู่อาศัยในอาคารร้าง แต่ก็นับเป็นการตั้งคำถามที่ดีต่อที่พักอาศัยในมหานครอย่างกรุงเทพ เมืองที่กำลังผลิตตึกใหญ่อาคารสูงออกมามากมาย แต่ก็ยังเห็นปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมและความไม่เป็นระเบียบพื้นที่พักอาศัยแบบแออัด ก่อนที่เรามอบความหวังไว้กับตึกใหม่ในอนาคตคงต้องขอให้เหลียวมองกลับอาคารเก่าและเศษซากความล้มเหลวในอดีตของเราด้วยเช่นกัน เพื่อที่จะใช้เป็นเครื่องเตือนใจให้ไม่ทำผิดซ้ำเดิมได้อีก

12 1314

เข้าไปเยี่ยมชมสตูโอออกแบบ All(zone) ได้ที่ https://web.facebook.com/allzonedesignall/?fref=ts

ข้อมูลอ้างอิงจาก http://www.dezeen.com/2015/10/07/micro-dwelling-allzone-abandoned-towers-parasites-chicago-architecture-biennial-2015/

http://chicagoarchitecturebiennial.org/

รูปภาพประกอบจาก soopakorn srisakul