OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

Minimum space พื้นที่ เท่าที่จำเป็น

การออกแบบพื้นที่ภายในขนาดใหญ่นั้นสามารถดีไซน์ตามใจได้อิสระ อาจพอเหลือที่จะเผื่อปริมาตรตารางเมตรเอาไว้โยกย้ายปรับเปลี่ยนการใช้งานต่อไปได้อีก แต่ในสเกลพื้นที่ไซส์เล็ก ย่อมมีข้อจำกัดของขนาดและการจัดสรรที่ละเอียดอ่อนมากกว่า จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ความต้องการการใช้พื้นที่ในกิจกรรมต่างๆอย่างแท้จริง ว่าอย่างน้อยที่สุดแล้ว เราควรจะสร้างพื้นที่รองรับการใช้งานไว้มากน้อยขนาดไหน

1

(ภาพจาก http://www.archdaily.com/780236/vardehaugens-1-1-project-plans-let-you-walk-through-their-drawings)

พื้นที่ว่างกับพฤติกรรมมนุษย์

2

Man is the measure of all things, of things that are, and of things that are not – Protagoras

มนุษย์คือมาตรวัดชี้วัดของทุกสรรพสิ่ง ทั้งสิ่งที่พวกเค้าเป็น และสิ่งที่พวกเค้าไม่ได้เป็น – โปรแทกอรัส

คำกล่าวของนักปราชญ์ชาวกรีก พูดถึงการที่มนุษย์ใช้ตัวเองตัวชี้วัดตัดสินสิ่งที่อยู่รอบตัว แท้จริงแล้วมนุษย์มีความสนใจศึกษาเรื่องระยะ สัดส่วน ขนาด ร่างกายของเราเองมีมาตั้งแต่สมัยครั้งโบราณ พฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์จะมีปฏิสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับขนาดพื้นที่ใช้งานแวดล้อมรอบตัว โดยอาศัยปัจจัยของขนาดทางกายภาพ สมรรถภาพ และขอบเขตข้อจำกัดทางร่างกาย อย่างตัวเลขความสูงของระยะนั่งเก้าอี้ที่พอเหมาะ ขนาดของทางเดินที่เราจะเดินสวนกันได้อย่างสะดวก  จำนวนตัวเลขเหล่านี้ล้วนเกิดจากข้อมูลการวัดกายภาพสัมพันธ์เชิงสถิติ (human measurement)

3

(ภาพจาก http://sherlockholmes.stanford.edu/print_issue3.html)

แม้จะยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัดว่าทำไมกิจกรรมต่างๆ ที่เรากำหนดขึ้นมาในอารยธรรมมนุษย์ จะต้องวางชิ้นส่วนอวัยวะต่างๆ อยู่ในท่าทางอิริยาบถจำเพาะ ท่านั่งทำงาน ท่ายืน ท่านอน  ถึงจะอยู่ในภาวะน่าสบายและเหมาะสม มีบางคนสันนิษฐานว่าเป็นเพราะการตอบสนองตามประสาทการรับรู้และจิตวิทยาทางความรู้สึกของมนุษย์เรา

4

(ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Human_scale)

5

(ภาพจาก https://placesjournal.org/article/designed-in-safety/)

แต่จากการสำรวจข้อมูลกายภาพร่างกายของคนเรา ทำให้เราสามารถคาดคะเนและกะเกณฑ์ได้ว่า ควรจะต้องออกแบบพื้นที่กิจกรรมขนาดกว้างคูณยาวเท่าไหร่ จึงจะสอดคล้องกับความต้องการใช้งานจริงของมนุษย์ทั่วไป  หรือที่เหล่านักออกแบบเรียกกันว่า HUMAN SCALE

HUMAN SCALE

8

(ภาพจาก http://www.marcus-frings.de/text-nnj.htm)

HUMAN SCALE คือ ค่าเฉลี่ยมูลฐานของขนาดสัดส่วนของมนุษย์ โดยเฉลี่ยจากขนาดสัดส่วนของกลุ่มคนตัวอย่าง บวกลบคูณหารออกมาเป็นค่าตัวเลขเฉลี่ยกลางที่จะใช้แทนในการออกแบบแก่มนุษย์ทั่วไป สถาปนิกจะใช้ข้อมูลสัดส่วนของมนุษย์และความต้องการเนื้อที่ใช้สอยแต่ละประเภท มาออกแบบสร้างพื้นที่รองรับการ ยืน เดิน นั่ง นอน และความต้องการใช้งานทำกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่ว่างของอาคารเพื่อตอบสองการใช้งานของผู้ใช้งานจริง

SectionLong

(ภาพจาก http://myweb.wit.edu/khalifas/SijauddinKhalifa/Human_Scale.html)

ค่าเฉลี่ยขนาดสัดส่วนของมนุษย์ HUMAN SCALE จึงถือเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในการออกแบบขนาดพื้นที่การใช้งานส่วนต่างๆ ในอาคาร  นำไปคำนวณหาระยะชิ้นส่วนประกอบของอาคาร  ปริมาตรที่ว่าง ความกว้างทางเดิน ความสูงผนัง หน้าต่าง ชั้นวางของ ขอบรั้ว ขนาดสัดส่วนที่เหมาะสมกับการใช้งานจริงของมนุษย์ในงานสถาปัตยกรรม

11

(ภาพจาก http://www.marcus-frings.de/text-nnj.htm)

แล้วเรานำข้อมูลไปใช้งานอย่างไรได้อีก ? ตัวเลขค่าความต้องการขั้นต่ำในการใช้งานพื้นที่สำหรับพฤติกรรมของมนุษย์เหล่านี้ จะเป็นกุญแจดอกใหญ่ที่จะพาเราไขไปสู่คำตอบของคำถามใหม่ที่ว่า ถ้าจะต้องออกแบบอาคารหรือที่พักอาศัยขนาดเล็ก พื้นที่ห้องขนาดไหนถึงจะถือว่าเล็กเกินไป และพื้นที่ขนาดไหนที่ถือว่าเพียงพอต่อการใช้งานที่จำเป็น

 

เล็กแค่ไหนถึงเพียงพอ

15

(ภาพจาก http://chrisandmalissa.com/blog/2013/12/1/3d-renders-of-a-design-i-dreamt-up-yesterday)

เมื่อความต้องการใช้สอยพื้นที่ว่างต่อขนาดสัดส่วนของผู้ใช้งานถูกแปลค่าออกมาเป็นตัวเลขอารบิก บอกระยะและขนาดพื้นที่ภายในอาคาร ทำให้เราได้ค่ามาตรฐาน ทำให้เราสามารถกำหนดขนาดพื้นที่ภายในอาคารส่วนต่างๆ ออกมาเป็นพระราชบัญญัติควบคุมอาคารของประเทศไทย ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 55  (พ.ศ. 2543) ซึ่งระบุตัวอย่างขนาดพื้นที่ภายในอาคารเอาไว้ดังนี้

ห้องนอน

16

(ภาพจาก http://www.forfur.com/%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B9%89)

บางคนชอบห้องนอนใหญ่ๆ มี tv เครื่องเสียงสเตอริโอ โฮมเธียเตอร์ แบบจัดเต็ม ในขณะที่บางคนก็แค่เอาไว้เข้าไปนอนพักผ่อนคลายได้ก็พอ แล้วแต่ความชอบแต่ละบุคคล ซึ่งข้อบัญญัติระบุไว้ว่า

17

(ภาพจาก http://freshome.com/30-small-bedrooms-ideas-to-make-your-home-look-bigger/)

ห้องนอนในอาคารให้มีความกว้างด้านแคบที่สุดไม่น้อยกว่า 2.50 เมตร และมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 8 ตารางเมตร  ช่องเปิดในห้องต้องมีไม่น้อยกว่า10% ของพื้นที่ห้อง

ห้องน้ำ (ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544)

18

(ภาพจาก https://www.pinterest.com/explore/small-bathroom-designs/)

19

(ภาพจาก http://www.housebeautiful.com/room-decorating/bathrooms/tips/g1441/small-bathrooms-ideas/)

มีทั้งแบบห้องส้วมแยกจากกัน ต้องมีขนาดพื้นที่ ห้องแต่ละห้อง ไม่ต่ำกว่า .90 ตารางเมตร ส่วนแบบห้องส้วมและห้องอาบน้ำใช้ร่วมกัน ต้องมีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 1.50 ตารางเมตร มีช่องระบายอากาศไม่น้อยกว่า10% ของพื้นที่ห้อง ความสูงจากพื้นห้องน้ำ ถึงฝ้าเพดาน ไม่ต่ำกว่า 2 เมตร

ความสูงของห้องในบ้าน

20 21

(ภาพจาก http://www.decoist.com/2013-02-06/ceiling-design-ideas/)

 ระดับความสูงจากพื้นถึงพื้น (ระยะดิ่ง ตามที่ระบุไว้ในกฏกระทรวง ) สำหรับบ้านพักอาศัย จะต้องสูงไม่น้อยกว่า 2.6 เมตร

ช่องทางเดินและขนาดบันไดในอาคารของบ้านพักอาศัย

23

(ภาพจาก http://www.verriyy.tk/staircase-designs/)

ช่องทางเดินภายในบ้าน จะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร

ส่วนบันไดของบ้านพักอาศัย ต้องมีอย่างน้อยหนึ่งบันได ที่มีความกว้างไม่ต่ำกว่า 90 ซ.ม. ลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 ซ.ม. บันไดที่สูงเกิน 3 เมตร ต้องมีชานพักบันได ทุกช่วง 3 เมตร

ขนาดพื้นที่สำหรับจอดรถ

24

(ภาพจาก http://www.autoevolution.com/news/underground-garden-parking-for-your-porsche-3718.html)

ที่จอดรถ 1 คัน จะต้องเป็นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างไม่น้อยกว่า 2.4 เมตร ยาวไม่น้อยกว่า 5 เมตร

การออกแบบพื้นที่ขนาดเล็ก ต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพการใช้งานว่ายังตอบสนองความต้องการใช้งานจริงๆ ได้หรือไม่ เพราะถ้าเล็กเกินไป ก็จะกลายเป็นพื้นที่เศษเหลือที่รองรับกิจกรรมได้ไม่สะดวก ติดขัดเวลาเข้าไปใช้งานจริง อย่างน้อยเราจึงควรจะดีไซน์ขนาดพื้นที่ใช้สอยให้น้อยอย่างมีคุณภาพ  เพียงพอต่อความจำเป็นของมนุษย์เรานะครับ

ข้อมูลอ้างอิง

http://www.reic.or.th/RealEstateForPeople/Topic-ProblemHome08.asp

http://bit.ly/1PfH10n

https://en.wikipedia.org/wiki/Human_scale

http://download.asa.or.th/03media/04law/cba/mr/mr43-55r-bm.pdf

http://www.selectcon.com/lungtom_b_6.asp