OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

เตรียมตัวอย่างไร ถ้าตัดสินใจสร้างบ้านในหน้าฝน?

เมื่อถึงคราวจำเป็นต้องก่อสร้าง-ปรับปรุงบ้านช่วงหน้าฝน เราจะมีวิธีเตรียมตัวรับมืออุปสรรคที่จะเกิดขึ้นอย่างไรบ้าง

rain-house

ตามธรรมเนียมความเชื่อของคนไทยในอดีตบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า ไม่ควรลงมือสร้างบ้านในช่วงหน้าฝน ทำให้ช่วงเวลาฤกษ์ยามมงคลในการลงเสาเอกมักอยู่ช่วงก่อนและหลังจากฤดูฝนพรำ เป็นกุศโลบายเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการก่อสร้างในสภาพอากาศที่เฉอะแฉะ อำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ถ้าหากใครที่หลีกเลี่ยงการสร้างบ้านหน้าฝนไม่ได้จริงๆ ก็ควรจะต้องเรียนรู้ปัญหาและเตรียมวิธีการป้องกันสำหรับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น

rain

ปัญหาและวิธีการป้องกัน การสร้างบ้านช่วงหน้าฝน

ความปลอดภัยในไซต์ก่อสร้าง เมื่อเริ่มสังเกตเห็นเมฆครึ้มมารวมตัว หยาดฝนเริ่มโปรยปราย ก็ไม่ควรฝืนทำงานในที่โล่งแจ้ง งานปีนป่ายโครงสร้างสูงๆ ที่อาจเกิดอันตรายจากฟ้าคะนอง ฟ้าผ่า หรือทนตากฝนจนร่างกายอ่อนแอได้ และติดตั้งแผงสวิตช์ไฟสำหรับเครื่องจักรในจุดที่มีหลังคาปกคลุม ฝนสาดเข้าไม่ถึง รวมทั้งการงดใช้การเดินสายไฟลงพื้นดิน ป้องกันอุบัติเหตุลัดวงจรจากความเปียกชื้น ควรเดินสายไฟโดยระบบตั้งเสามารองรับแทน

13142497

ต้นทุนการก่อสร้างอาจบานปลาย แม้ราคาวัสดุภัณฑ์ก่อสร้างบางชนิดจะปรับราคาให้ถูกลง 5-10 % สำหรับร้านค้าบางแห่งเพื่อเป็นการกระตุ้นยอดขายในช่วงฤดูที่การก่อสร้างอาจไม่เป็นที่นิยม แต่ก็คิดเป็นส่วนต่างเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปัญหาเจ้าของบ้านก็ต้องประสบปัญหาเรื่องการขนส่งวัสดุที่ยากลำบาก ใช้เวลามากกว่าในฤดูอื่นๆ และเมื่อฝนตกคนทำงานก็ต้องหยุดมือ ทำให้งานเดินช้ากว่าเป้าหมายที่กำหนด เสียค่าใช้จ่ายแรงทำงานเหมาวันโดยที่มีเวลาทำงานได้ไม่เต็มที่ ยืดระยะเวลาการทำงานและค่าแรงให้บานปลาย จึงควรวางแผนตารางการทำงานล่วงหน้าให้รัดกุม ปรึกษาสถาปนิกและวิศวกรเพื่อประเมินระยะเวลาที่อาจจะล่าช้าและจัดเตรียมงบประมาณสำรองเผื่อเอาไว้

bigstock-Trade-Money-62939800-720x567

สภาพพื้นดินที่เลอะเทอะ เฉอะแฉะ สายฝนจะทำให้พื้นดินในไซต์ก่อสร้างเปียกแฉะ อาจเกิดปัญหาดินอ่อนตัว รถติดหล่มดิน เพิ่มภาระการเก็บความเรียบร้อยหลังงานเสร็จ วิธีแก้ไขง่ายๆ คือ ลองหาแผ่นไม้ วัสดุปูพื้นชั่วคราว หรือแผ่นพลาสติกมาใช้งานป้องกันคราบเปื้อน เสื่อมหน้าดินไปก่อนชั่วคราว และปัญหาการอุดตันของท่อระบายน้ำ ที่เศษดิน เศษวัสดุก่อสร้างอาจจะไหลลงไปอุดตันจนน้ำขังเจิ่งนองเกิดคราบตะไคร่และความเสียหายอื่นๆ ตามมา จึงต้องหมั่นตรวจสอบ ลอกท่อทำความสะอาดให้น้ำไหลผ่านได้ดีอยู่เสมอ

mr_00103831

img_4387__large

การจัดเก็บวัสดุให้พ้นจากความชื้นแฉะ วัสดุก่อสร้างจำพวกเหล็กเส้น และเหล็กรูปพรรณ ควรจัดเก็บอยู่ในโรงเรือนยกพื้นสูง มีหลังคาบัง ป้องกันเหล็กขึ้นสนิมจากความชื้นจากละอองน้ำ เช่นเดียวกับวัสดุอื่นๆ อย่าง กองหิน ทราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปูนซีเมนต์ เป็นของที่ยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นอีกเป็นเท่าตัว เพราะห้ามสัมผัสกับน้ำหรือความชื้นโดยเด็ดขาด นอกจากจะต้องเก็บไว้ในพื้นที่ยกสูงหนีน้ำ มีหลังคาคลุม แล้วควรจะต้องหาผ้าใบ แผ่นพลาสติกมาคลุมปิดเอาไว้ ป้องกันเนื้อปูนจับตัวเป็นก้อนจะละอองความชื้น เพราะจะทำให้คุณสมบัติวัสดุเสียหาย ได้เนื้อคอนกรีตที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรนำมาใช้ในงานก่อสร้างอีก

Love_by_SillyPuttyEnemies

ความชื้นในงานทาสี ปัญหาสำคัญที่มักจะถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงในช่วงฤดูฝน เพราะก่อนการลงมือทาสีอาคาร ช่างก่อสร้างจะต้องตรวจสอบความเปียกชื้นที่สะสมอยู่ในผนังเสียก่อน เพื่อป้องกันปัญหาสีโป่งพอง ลอกล่อน และเกิดเชื้อราขึ้นในเนื้อสีได้  จึงจำเป็นต้องทิ้งระยะให้ผนังแห้งสนิท งดเว้นงานทาสีในช่วงเวลาฝนตก และถึงแม้เราจะเจอวันอากาศดีฟ้าโปร่งเหมาะแก่งานทาสี แต่สายฝนก็อาจจะหักหลังความไว้ใจ โปรยปรายใส่ผนังที่กำลังทาสีอยู่ตอนไหนก็ได้

tr01-wrinkling

Dtip : การทาสีเคลือบวัสดุเหล็กและไม้ก็จำเป็นต้องตรวจสอบความชื้นในเนื้อวัสดุด้วยเช่นกัน ตากไม้ให้แห้งสนิท ขัดสนิมเหล็กออกให้หมดจดก่อนลงมือทาสีทับ และสามารถทาสีกันสนิทสำหรับเหล็กเก็บไว้ได้ในที่ร่ม รอเวลาที่แดดออกแล้ว จึงยกชิ้นส่วนไปประกอบกันที่หน้างาน

N0012627287--320365

ถึงจะต้องรับมือกับปัญหาที่ยากลำบากมากมาย แต่การสร้างบ้านหน้าฝนก็มีประโยชน์ต่อการก่อสร้างอยู่ด้วยเหมือนกัน ทั้งเรื่องการป้องกันรอยรั่วบนโครงสร้างหลังคา เพราะถ้าเรามุงหลังคาเสร็จทันก่อนฝนจะมา ก็จะช่วยให้เจ้าของบ้านเห็นรอยรั่วซึมที่หลังคา รีบดำเนินการแก้ไขได้ทันที และยังช่วยเรื่องการถมพื้นที่ทำให้ดินแน่น เซ็ตตัวได้ไว  การสร้างบ้านหน้าฝนจึงไม่ถือเป็นข้อต้องห้าม  แค่เพียงศึกษาทำความเข้าใจ และวางแผนเตรียมการทำงานเอาไว้ให้รอบคอบ

cr. รูปภาพจาก pinterest