OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

Architecture is Propaganda สถาปัตยกรรมควบคุมสังคมในประเทศเกาหลีเหนือ

เมื่อสถาปัตยกรรมถูกใช้เป็นโฆษณาชวนเชื่อ การออกแบบที่ไม่เหลือพื้นที่ความคิดเชิงอิสระ   

984714-img-s0ooug-0p

ลองทายกันดูเล่นๆ ว่าจะมีประเทศไหนในโลกที่กล้าออกกฎ “ห้ามประชด” ผู้นำของประเทศโดยเด็ดขาด ไม่ว่าจะเผลอพูดออกมาแบบไม่ได้ตั้งตัวหรือแม้แต่แอบคิดในใจหากจับได้ก็จะถูกลงโทษ ? …. โชคยังดีที่คำเฉลยไม่ได้หมายถึงประเทศไทย แต่นี่คือข้อบังคับใหม่สดๆ ร้อนๆ ของท่านผู้นำ  คิม จอง อึล แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตย (!?) ประชาชนเกาหลี หรือชื่อโดยทั่วไปว่า เกาหลีเหนือ หนึ่งในประเทศที่มีบันทึกสิทธิมนุษยชนต่ำที่สุดในโลก ดินแดนสนธยาที่มักจะมีเรื่องมาเซอร์ไพรส์ ชาวโลกอยู่เสมอ

img_1499

” ผนังปราการเหล็กล่องหนที่ไม่ได้ถูกใช้เป็นแค่กำแพงป้องกันข้อมูลข่าวสารจากโลกภายนอก  แต่มันยังทำหน้าที่เป็นกรอบกำหนดความคิดสร้างสรรค์ทางสถาปัตยกรรมภายในเอาไว้ด้วย “

ประเทศเกาหลีเหนือมีการปกครองโดยพรรคแรงงานแห่งเกาหลีเพียงพรรคเดียวมาโดยตลอด ตามแนวทางระบอบปกครองแบบคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียตเก่า นี่คือระบบการปกครองที่ถูกฟูมฟักขึ้นมาอย่างรอบคอบ ค่อยๆ ล้อมกรอบอำนาจการควบคุมแบบเบ็ดเสร็จ ก่อร่างสร้างสังคมแบบสันโดษออกจากโลกภายนอก เพราะต้องการยืนหยัดบนลำแข้งตนเองให้จงได้ จนกลายเป็นป้อมปราการเหล็กที่แข็งแกร่ง ซึ่งน้อยคนนักจะได้มีโอกาสเข้าไปสัมผัสสภาพความเป็นอยู่ มองดูหน้าตาอาคารบ้านเรือนเบื้องหลังกำแพงปราการคอมมิวนิสต์ วิถีชีวิตและสิ่งปลูกสร้างในประเทศจะได้รับผลกระทบจากระบบการปกครองแบบชี้นิ้วสั่งการในรูปแบบใด… เพื่อคลายข้อสงสัยดังกล่าว งั้นเราลองมาฟังคำบอกเล่าจากนาย Alex Davidson สถาปนิกและนักเขียนที่เคยไปใช้ชีวิตอยู่ 2 ปีในเมืองโสมแดงกันซักหน่อยดีกว่า

สภาพแวดล้อมระบอบคอมมิวนิสต์

984714-img-s0ooum-7p

อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าการปกครองจะเกี่ยวข้องกับรูปแบบสถาปัตยกรรมในประเทศนั้นๆ ได้อย่างไร ถ้าคุณยังไม่ได้มาสัมผัสวิถีชีวิตและงานสถาปัตยกรรมในกรุงเปียงยาง เมืองหลวงของประเทศเกาหลีเหนือ ความเข้าใจในแก่นแท้ของวิถีเผด็จการ  ส่งผลให้เกิดการควบคุมผู้คนใต้การปกครองด้วยสภาพแวดล้อมที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่  เลือกใช้อาคารและผังเมืองเข้ามาช่วยส่งเสริมอุดมการณ์ทางการเมืองให้เป็นปึกแผ่น โดยแนวคิดการออกแบบสถาปัตยกรรมจะเน้นความรู้สึกแข็งแรง ดุดัน  ดูน่าเกรงขามในรูปทรงสมมาตร เปลือยเปล่าเปลือกนอกอาคารทที่ไม่จำเป็นให้เห็นความแข็งแกร่งของโครงสร้างขนาดใหญ่ เพื่อโน้มน้าวความคิดของประชาชนให้เชื่อถือในความเจริญก้าวหน้าของประเทศ  แสดงความมั่งคั่งทั้งในด้านพลังอำนาจและเงินตราจากของรัฐ

984714-img-s0ooul-6p

984714-img-s0oouk-5p

ประจวบเหมาะกับการบริหารประเทศแบบปิดกั้นระบบสื่อสาร รัฐบาลเข้ามาควบคุมการติดต่อกับโลกภายนอก  เลือกเปิดตาประชาชนให้เห็นเฉพาะสิ่งที่อยู่ตรงหน้า แต่ปิดหูไม่ให้ได้ยินเสียงคำวิจารณ์ หรือรับฟังทางเลือกแนวคิดอื่นๆ ผู้คนจึงไม่มีโอกาสได้เปรียบเทียบรูปแบบสิ่งปลูกสร้าง ความเจริญก้าวหน้าของตัวเมืองที่อาศัยอยู่กับนานาประเทศอื่นๆ ทั่วโลก พวกเค้าจึงหลงเชื่อแต่สิ่งที่พวกเค้าได้รับอนุญาตให้มองเห็น ต่อเนื่องไปถึงเยาวชนรุ่นใหม่ที่เกิดในสภาพแวดล้อมแบบปิดกั้น ย่อมต้องคิดว่าเมืองที่พวกเค้าอยู่เป็นความเจริญขั้นสูงตามที่ได้รับการบอกเล่าจากท่านผู้นำ เป็นวิธีการปลูกฝังค่านิยม ความคิด ความเชื่อของพลเมืองด้วยแนวคิดกฎระเบียบ คำสั่งสอน และสภาพแวดล้อมของเมืองสังคมนิยมโดยสมบูรณ์

img_1529

 ” การป้อนข้อมูลจากสื่อแหล่งเดียวในข้อความเดิมซ้ำๆ จนผู้คนหลงเชื่อว่าเป็นความจริง ทั้งเชื่ออย่างจริงใจ และจำใจต้องยอมเชื่อ  “

สถาปัตยกรรมหลังม่านปราการเหล็ก

984714-img-s0oouh-1p

“โรงแรมหายนะ” และ “โรงแรมปิศาจ” คือชื่อเล่นโรงแรมทรงปิรามิดในกรุงเปียงยาง ที่ใช้เวลาสร้างนานเกินกว่า 25 ปี

เมื่อสถาปัตยกรรมถูกใช้เป็นสัญลักษณ์สื่อแทนอำนาจบริหารที่มั่งคั่งของผู้นำประเทศ  ชักจูงให้ผู้คนในมืองหลงเชื่ออยู่ใต้ระบอบการปกครองแต่โดยดี  แล้วดีไซเนอร์สถาปนิกจะได้รับอิทธิพลมากน้อยแค่ไหนในการออกแบบบ้าง ? แบบแผนแกนหลักผังเมืองในกรุงเปียงยางได้รับความช่วยเหลือจากกองทัพคอมมิวนิวนิสต์ของโซเวียตในอดีต  สถาปนิกของเมืองที่ตั้งใจออกแบบสิ่งปลูกสร้างเพื่อแสดงความยิ่งใหญ่ ตอกย้ำความรุ่งเรืองทรงอำนาจ เป็นอนุสรณ์ควบคุมจิตวิญญาณความภาคภูมิใจในชาติ ความภักดีของผู้คนให้ได้พึงระลึกถึงอยู่เสมอ อย่างอนุสาวรีย์ของพรรคแรงงาน Monument to Party Founding ที่ประกอบไปด้วยสัญลักษณ์ค้อน(ผู้สร้าง), เคียว (เกษตรกร) และสีแปรง (นักวิชาการ) ที่สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการปกครองที่ประสบผลสำเร็จในพื้นที่ลานกว้างขนาดใหญ่ ประดับประดาด้วยประพุโดยรอบ มองเห็นได้ชัดเจนทุกมุมมองบนพื้นที่ลานกว้าง

img_0444

Monument to Party Founding ในกรุงเปียงยาง 

แม้ในปัจจุบันสหภาพโซเวียตเดิมจะเสื่อมสลายกลายเป็นเพียงหน้าบันทึกในหนังสือเรียนประวัติศาสตร์โลกไปแล้วก็ตาม แต่ในประเทศเกาหลีเหนือก็ยังคงมีนโยบายรักษาภาพลักษณ์ความทรงอำนาจเหล่านั้นเอาไว้ในสายตาประชาชนชาวโสมแดง ถึงจะต้องประสบปัญหาวิกฤตความยากจนข้นแค้นภายในประเทศก็ตาม โดยเฉพาะอาคารของภาครัฐที่จะต้องเป็นหน้าตาของความเจริญรุ่งเรื่อง ตกแต่งภายนอย่างหรูหรา โอ่อ่า มีโคมไฟระย้า หินอ่อน ใช้อัญมณีทั้งของจริงและของเลียนแบบเข้ามาเป็นองค์ประกอบในอาคาร ตรงกันข้ามกับอพาร์ทเมนต์ที่พักอาศัยของประชาชนที่เน้นความรวดเร็วในการก่อสร้างด้วยคอนกรีตบล็อก ลดคุณภาพและความซับซ้อนวัสดุของอาคารให้เหลือเปลือยเปล่า ปกปิด-เพิกเฉยต่อมาตฐานคุณภาพที่อยู่อาศัยที่ประชาชนสมควรได้ และก็นับเป็นเรื่องน่าเศร้าที่พวกเขาไม่ได้ตระหนักถึงความจริงใต้ผิวคอนกรีตเหล่านั้นเลย

img_0458

Arch of Triumph ประตูชัยแห่งกรุงเปียงยาง สร้างขึ้นวาระฉลองวันเกิดครบรอบ 70 ปี ของท่านอดีตประธานาธิบดีคิมอิลซุง
dsc_0147

กฎระเบียบที่แปลกประหลาด ความลี้ลับอันน่าฉงนของสังคมการปกครองในประเทศรักสันโดษกลายเป็นปริศนาที่ดึงดูดผู้คนในต่างแดนให้อยากเข้าไปเยือนดินแดนโสมแดงนี้ดูสักครั้ง แต่การจะขอเข้าไปท่องเที่ยวยังกรุงเปียงยางก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะจะต้องมีการทำหนังสือ รับทราบกฎข้อบังคับ และการตรวจตราข้อมูลทั้งขาเข้า—ออกอย่างละเอียด เพื่อจะได้มีโอกาสเข้าไปสัมผัสความงามของสถาปัตยกรรมระบบคอมมิวนิสต์ด้วยตาของตนเอง

ตัวอย่างภาพถ่ายของ Raphael Olivier  ช่างภาพที่เพิ่งเข้าไปเก็บภาพผลงานสถาปัตยกรรมในกรุงเปียงยางออกมาเผยแพร่สู่สายตาชาวโลกเมื่อไม่นานมานี้  ทำให้เราได้เห็นองค์ประกอบอาคาร การเลือกใช้สีสันที่น่าสนใจในการออกแบบภายใต้แนวคิดการปกครองระบบคอมมิวนิสต์ 

สถาปัตยกรรม คือ โฆษณาชวนเชื่อ, เมื่อความคิดสร้างสรรค์ที่ถูกบังคับทิศทางเพื่อการส่งเสริม ชักจูง ควบคุมความคิดให้อยู่ภายใต้ระบบสังคมนิยม เมื่อความหมายของอาคารที่เป็นมากกว่าที่พักอาศัย การวางแผนนานหลายทศวรรษเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ทรงอำนาจต่อผู้คน การออกแบบที่มีนัยยะแห่งการแสดงออกของความยิ่งใหญ่ เรืองอำนาจ จงภักดีต่อชาติ สิ่งปลูกสร้างที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในเกมส์การปกครองประชาชน และคำโกหกที่ถูกพูดซ้ำๆ กันมากพอ วันนึงเราจะเชื่อว่ามันเป็นความจริง

 

ขอบคุณรูปภาพและข้อมูลอ้างอิง

http://www.archdaily.com/794767/architecture-is-propaganda-how-north-korea-turned-the-built-environment-into-a-tool-for-control?utm_campaign=trueAnthem:+Trending+Content&utm_content=57d0bb9504d30144e1a42eaf&utm_medium=trueAnthem&utm_source=facebook

Architectural Photo Tour of Pyongyang, North Korea