สีดำคือชุดประจำชาติของสถาปนิกจริงเหรอ ?
ไม่แน่ใจว่ามีใครเป็นผู้นำเทรนด์ชุดดำประจำชาตินักออกแบบ แต่มีสถาปนิกจำนวนมาก ก็ชอบใส่เสื้อผ้าสีดำ หรือเลือกซื้อข้าวของเครื่องใช้สไตล์ monotone ดำ เทา ขาว เรียบง่าย ไม่ฉูดฉาด และก็ไม่ใช่เราคนเดียวที่ขี้สงสัยเรื่องนี้ เพราะมีนักเขียนสาว Cordula Rau ที่ลงไปศึกษาอย่างจริงจัง ถึงกับมีการตีพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือชื่อว่า ‘Why do architects wear black? พ็อกเก็ตบุคขนาดกระทันรัดที่ไปรวบรวมความคิดเห็นจากสถาปนิกต่างประเทศ 100 คน เกี่ยวกับข้อสังสัยว่าการเลือกใส่เสื้อผ้าสีดำ เป็นอาการโรคติดต่อทางวิชาชีพหรืออุปทานหมู่ หรือเป็นเรื่องบังเอิญอยู่กันแน่?
มีบางทฤษฎีบอกว่าเทรนด์สีดำแห่งความสุขุมนุ่มลึกได้รับอิทธิพลมาจากสถาปนิกระดับโลก Le Corbusie และ Philip Johnson ที่ทั้งคู่มักจะปรากฏตัวในชุดสูทสีดำ-เทาสุดเนี๊ยบ คู่กับแว่นตาทรงกลมกรอบหนาอันเป็นเอกลักษณ์ จนกลายเป็นแม่พิมพ์รุ่นมหานิยมแก่นักออกแบบรุ่นใหม่โดยไม่รู้ตัว
Dsign Something นึกสนุก เลยลองถามความคิดเห็นสถาปนิกชาวไทยกันบ้าง ว่าพวกเค้ามีความคิดเห็นว่าอย่างไร
(ชัช) ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์
อาชีพ สถาปนิก
ส่วนตัวผมก็ใส่แต่สีดำบ่อยมาก ถามว่าทำไมสถาปนิกชอบใส่สีดำ คิดว่าเพราะตัวเองเป็นคนใช้สีในการออกแบบไม่เก่ง และอีกเหตุผลอาจมาจากตอนสมัยเรียนมหาวิทยาลัย คือเราไม่เคยถูกอาจารย์บังคับให้ส่งงานมีสีเลย… ปกติเราจะตรวจงานกันแบบขาวดำ และอีกอย่างคือ เรามักถูกสอนเรื่องสถาปัตยกรรมด้วย คำว่า แสง และ เงา ซะเป็นหลัก นั่นทำให้เราอาจจะหลงใหลใน สีขาว และ สีดำ นั่นเอง
ตอนเด็กก็ใส่ทุกสีนะ พอโตแล้ว ก็เข้าใจเรื่องภาพลักษณ์และรสนิยมของดีไซเนอร์มากขึ้น ดังนั้นถ้าไม่เก่งเรื่องสี การใส่สีดำนี่ชัวร์สุด แถมเป็นสีกลางๆ ที่แน่นอนว่าทุกคนชอบอยู่แล้ว เข้าใจได้ ลูกค้าก็เข้าใจ ไม่เกร็ง ไม่รู้สถาปนิกท่านอื่นคิดเหมือนกันหรือเปล่า 5555 แต่ทุกคนที่เจอบ่อยๆใส่แต่สีดำจริงๆ
(มาย) ธันย์ชนก
อาชีพ สถาปนิก
“จริงๆสีดำไม่นับว่าเป็นสี ทำให้เวลาไปอยู่กับสีไหนก็ไม่ประหลาด”
คิดว่าเหตุผลที่สถาปนิกใส่สีดำเพราะสามารถกลมกลืนได้กับทุก space และดู professional สุขุม และ เท่ บางคนอาจจะมีเหตุผลว่าขี้เกียจเลือกสีเสื้อผ้า ที่กลายเป็นว่าไม่เข้ากันก็เลือกสีดำซะเลย
(ตั้บ) ธนพัฒน์ บุญสนาน
อาชีพ สถาปนิกผู้ก่อตั้ง บริษัท ธ.ไก่ชน
ตอบเลยครับว่า”จริง” อย่างแรกที่เคยได้ยินจากรุ่นพี่ก็คือ สีดำใส่แล้วน่าเชื่อถือ ซึ่งความน่าเชื่อถือมันอาจเป็นส่วนสำคัญมากๆ ของวิชาชีพสถาปนิก แน่นอนว่าเราทำงาน สิ่งแรกคือต้องพรีเซ้นให้ลูกค้าเชื่อก่อน งานเราถึงจะเกิดหรือมีผลงานดีๆ
แต่นั่นก็ไม่เสมอไปนะ จริงๆแล้วสีดำมันอยู่ในทุกอาชีพล่ะครับ ตอนผมไปเบอลิน เห็นเค้าบอกว่าใครไม่ใส่สีดำ คนนั้นไม่ใช่วัยรุ่นเบอลิน หรือจะเป็นชาวร็อค-ก็ดำ ผมเลยคิดว่า สีดำเปนสียอดฮิตของโลกและเพลย์เซฟมากกว่า พูดถึงคำว่าเพลย์เซฟผมขอย้อนกลับไปเชื่อมกับสถาปนิกทั่วไป เพราะยังมีสถาปนิกหรือดีไซน์เนอร์ที่ทำงานเฉพาะทางอยู่เยอะ และบางคนก็ไม่ชอบใส่ดำๆ มีแนวเปนของตัวเอง อย่างสายวัสดุธรรมชาติหรือแนวธรรมะ ต้องใส่ผ้าฝ้าย ไม่รู้เป็นเพราะอะไร พออยากใส่แบบร็อคๆ แล้วผมดูเลวร้ายขึ้นมาทันที
ถ้าถามใส่ส่วนตัวแล้ว สีดำ กับผ้าชนิดและสีอื่นๆ ผมใส่พอๆกันนะ หรือลายสีๆแปลกๆก็ใส่เหมือนกัน เพราะผมว่าผมใส่อะไรก็ได้ ใส่ขาสั้นกะเสื้อกล้ามไปพรีเซ้นงานก็ได้ เขารู้ว่าเราเปน ธ.ไก่ชน ทำตัวแปลกๆเขาก็ว่าเปนคาราแรคเตอร์ ไอ้ตั๊บมันก็อย่างงี้แหละ
สรุปว่า สีดำแล้วต้องมีสไตล์ด้วย เพราะต่อไห้คุณใส่ดำ แต่ชุดคุณแม่งกากมาก ความน่าเชื่อถือก็ไม่เกิดอยู่ดี
(เต้) วรท เตชะวชิรกุล
อาชีพ สถาปนิก
5555 อืมม คำถามนี้เคยสงสัยอยู่เหมือนกัน คือให้ตอบแบบฮาๆ ก็คงจริงล่ะ… สถาปนิกยิ่งอายุเยอะขึ้นยิ่งแต่งตัวมินิมอลลง สีก็น้อยลง ในหมู่สีโมโนโคลม สีดำก็เป็นทางเลือกที่ดี ที่จะดูเลอะเทอะยาก และเนี้ยบได้ตั้งแต่เช้ายันเย็น
(กิม) ศุภลักษ์ ตันติวณิชชากร
อาชีพ นักศึกษาคณะสถาปัตย์
สีดำเป็นชุดประจำชาติของสถาปนิกจริงหรือ? เห็นมุขชุดดำของสถาปนิกมาตั้งแต่เรียนปี 1 บางคนก็บอกใส่แล้วมันไม่เลอะง่าย เหมาะกับคนที่ไม่มีเวลาแบบสถาปนิก ส่วนตัวคิดว่าไม่ใช่เหตุผลหลัก เพราะเมื่อก่อนไม่ได้ใส่เสื้อดำบ่อย แต่เดี๋ยวนี้ใส่บ่อยมาก เพราะรู้สึกสีดำหรือสีเข้ม เข้ากับตัวเองมากกว่าสีอ่อนๆ (เหมือนโตขึ้นละรู้ว่าเราเข้ากับอะไรมากกว่า555) เพื่อนในรุ่นก็ไม่ได้ซีเรียสกับมุขนี้นะ เราว่าสีดำไม่ใช่ชุดประจำชาติของสถาปนิกหรอก มันเป็นเรื่องของปัจเจกมากกว่า มองเรื่องชุดดำของสถาปนิกเป็น joke เหมือนพยายามนำเสนอตัวเองให้แตกต่างจากอาชีพอื่น ให้มีความโดดเด่น เหมือนมุขไม่ได้นอนอะแหละ 5555
(เตย) เหมือนแก้ว จารุดุล วชิระเธียรชัย
อาชีพ ภูมิสถาปนิก กรมศิลปากร
โดยส่วนตัวแล้ว ด้วยความที่สนใจในเรื่องสภาพแวดล้อมและธรรมชาติ (natural environment) การเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ เวลา ฤดูกาล ซึ่งเป็นพื้นฐานในงานภูมิสถาปัตยกรรม ทำให้เราไม่ได้มองว่า เครื่องแบบของสถาปนิกคือสีดำ แต่เป็นสีสันที่สะท้อนฤดูกาลหรือสภาพแวดล้อมมากกว่า เช่น สีจากธรรมชาติ หรือสีที่ประดิษฐ์สื่อถึงธรรมชาติ (Characteristic colour of the season)
.
ส่วนในความคิดของเรา Dsign Something ความจริงแล้วสถาปนิกจะเลือกใส่เสื้อผ้าสีไหนก็ไม่สำคัญหรอก ความชื่นชอบของคนเราย่อมแตกต่างกันไป บางคนอาจจะชอบลายดอก ชอบสีชมพูพาสเทล ไม่จำเป็นต้องไปจัดหมวดหมู่ Stereotype ว่าใครจะต้องใส่อะไรแบบไหน เพราะสิ่งที่ควรให้ความสำคัญจริงๆ คือ ‘พลังความคิดสร้างสรรค์’ ภายใต้เปลือกอาภรณ์ที่ห่อหุ้มร่างกายอยู่และ ‘กาลเทศะ’ การเลือกใช้งานเครื่องแต่งกายที่เหมาะสม เหมือนกับการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ต้องคำนึงสภาพบริบทโดยรอบ สอดคล้องกับ เวลา-สถานที่ ที่มันถูกนำใช้งานอยู่
.
แล้วคุณล่ะ… ชอบใส่สีอะไร?