– ASA Member –
นพพล พิสุทธิอานนท์ จาก QUINTRIX ARCHITECTS
พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการผลงานของสมาชิกสมาคมฯ ที่ส่งผลงานเข้ามาเพื่อแสดงในงานสถาปนิก 61
แนวคิด
ใช้แนวคิดของ “ดงไผ่” ส่วนลำต้นจะใช้ไผ่เต็มลำ วางตั้งในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้หวังเพื่อให้รบกวนกับผลงานของสมาชิกฯ ให้น้อยที่สุด โดยจะเป็นทั้งโครงสร้างและตัวกำหนดทิศทางของผู้ชม ส่วนยอดจะใช้โครงไผ่ขึ้นเป็นแผงรูปทรงเรขาคณิต hyperbolic paraboloid โดยแผงนี้จะทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดแสงและเงาให้กับส่วนแสดงงาน
………………………………………
– Mor-Baan (หมอบ้าน) –
วรพงศ์ มนูพิพัฒน์พงศ์ และ คุณอดา จิระกลานนท์ จาก Ateliertwoplus
พื้นที่ให้คําปรึกษาการออกแบบและก่อสร้างงานสถาปัตยกรรม แก่ผู้ที่เข้ามาร่วมงาน โดยเป็นการให้คําปรึกษาจากสถาปนิกจิตอาสา แบบหนึ่งต่อหนึ่ง
แนวคิด
ผู้ออกแบบสนใจงานไม้ในแบบที่หลายคนมองข้าม เช่น ไม้แบบไม้ค้ำยัน หรือไม้ที่ใช้ทำนั่งร้านในการก่อสร้าง วัสดุเหล่านี้เป็นวัสดุที่มีความสำคัญในการสร้างสถาปัตยกรรมแต่ไม่เคยถูกมาใช้เป็นองค์ประกอบหลักของงานสถาปัตยกรรม มันเป็นวัสดุที่ราคาถูก หาง่ายในแต่ละพื้นที่ โดยแต่ละท้องที่ก็มักจะใช้แตกต่างกัน ซึ่งมันสะท้อนถึง vernacular living อีกมุมหนึ่ง
………………………………………
– ASA CREW –
เสก สิมารักษ์ จาก SAR (เสก สถาปัตย์)
พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการของนิตยสาร ASA CREW
แนวคิด
ผู้ออกแบบสนใจ “พื้นที่จัดเก็บวัสดุในงานก่อสร้าง” หรือ “โรงงานผลิต” มองไปที่วัสดุเหล่านั้น ว่าก่อนจะกลายเป็นสถาปัตยกรรม Expanded Polystyrene Foam (EPS) มีลักษณะและรูปแบบที่น่าสนใจอย่างๆร โดยถูกตัดเป็นชิ้นขนาดน้ำหนักเท่ากับอิฐมอญนํามาเรียงซ้อนเป็นชั้น ใช้เป็นพื้นหลังแสดงเนื้อหาของ ASA Crew หลังจบงานวัสดุเหล่านั้นจะถูกขนส่งไปใช้ประโยชน์ในทางสถาปัตยกรรมต่อไป
………………………………………
– ASA Conservation & Vernadoc –
พลวิทย์ รัตนธเนศวิไล , หฤษฎี ลีละยุวพันธ์ , ธนวรรธน์ ปัจฉิมะศิริ และ นัฐวัฒน์ คํารณฤทธิศร จาก PHTAA
พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการของกลุ่มงานอนุรักษ์ของสมาคมฯ โดยเป็นการแสดงกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มอนุรักษ์
แนวคิด
รูปแบบการก่อสร้างจากดิน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีลักษณะของโครงสร้างที่รับแรงอัดทางแนวตั้ง (ก่ออิฐ,ผนังดินอัด) ดังนั้นความท้าทายของการก่อสร้างโครงสร้างที่มีพื้นผิวแบบสามมิติจากดิน จึงถูกยกขึ้นมาเป็นโจทย์ เพื่อสร้างรูปแบบองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม นำไปสู่การประยุกต์ใช้วัสดุดินในรูปแบบใหม่
………………………………………
– ASA Can –
ธาริต บรรเทิงจิตร และภาสุร์นิมมล จาก MOR AND FARMER ณัฐวดี สัตนันท์ จากกลุ่มสนใจ วิธีวิสุทธิ์ อัมพร , อภิชาติ รุ่งแสงวีรพันธ์ และ ฐากูร ลีลาวาปะ จาก CROSS AND FRIENDS
พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการของกลุ่มงานสถาปนิกเพื่อชุมชนของสมาคมฯ โดยเป็นการแสดงกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่ม
แนวคิด
คน เมือง ธรรมชาติ และเทคโนโลยี จะสามารถอยู่ร่วมกันเพื่อสร้างพื้นที่สาธารณะสำหรับทุกคนได้อย่างไร คือแนวคิดของนิทรรศการ ASA CAN ที่สร้างสรรค์ระบบโมดูลไม้ไผ่ทรงลูกบาศก์ง่ายๆ จัดวางเป็นพื้นที่สาธารณะตัวอย่างที่อยากให้มาลองนั่งเล่น นอนทำงาน ยืนพูดคุย หรือส่องดูงานสถาปัตยกรรมของภาคีเครือข่ายของเรา งานที่ได้กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ชุมชน สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในสังคม และเพิ่มคุณค่าให้กับพื้นที่เมือง จากการใช้เครื่องมือสำคัญคือ การออกแบบอย่างมีส่วนร่วม
………………………………………
– ASA Friends –
ศศิชลวรี สวัสดิสวนีย์ จาก SILP ARCHITECTS
นิทรรศการ Universal Desgin / นิทรรศการ สภาสถาปนิก / นิทรรศการสภาคณบดี / นิทรรศการ Green Building / นิทรรศการสถาปนิกภูมิภาค
แนวคิด
ในนิทรรศการประกอบด้วยหลายส่วน ซึ่งต้องการออกแบบให้สอดคล้องกัน และให้มีความลื่นไหลของพื้นที่ ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากศิลปะการช่างเชิงกราฟิก (graphical craftsmanship) โดยใช้ลวดลายจักสานมาเป็นรูปแบบในการจัดโซน “ไม้ไผ่” วัสดุบังคับได้ถูกนำมาวางตั้งตามแพตเทิร์นเพื่อกำหนดพื้นที่ และวางไล่ความสูงเพื่อสร้างประสบการณ์การต้อนรับ
………………………………………
– Custom Thainess –
ดลพร ชนะชัย และ นัฐพงษ์ พัฒนโกศัย จาก Cloud-floor
เฟอร์นิเจอร์ในพื้นที่ว่างของนิทรรศการหลักภายในงาน
แนวคิด
การเล่าเรื่องราวจากข้าวของเครื่องใช้ และอุปกรณ์คุ้นตาในชีวิตประจำวันที่ถูกนำมาดัดแปลง ปรับเปลี่ยนเป็นสตรีทเฟอร์นิเจอร์ที่ “ไม่ธรรมดา” ที่เข้ากับวิถีชีวิตแบบไทยๆ ในสมัยปัจจุบัน ถูกนำมาเล่าผ่านเรื่องราวในการออกแบบสตรีทเฟอร์นิเจอร์แบบไทยๆ ในพื้นที่ว่างของนิทรรศการหลักภายในงาน
………………………………………
ส่วนตัวคิดว่า เพียงได้ไปชมการออกแบบของทั้ง 18 นิทรรศการภายใน งานสถาปนิก 61 ก็ถือว่าคุ้มค่าแล้วครับ สำหรับใครที่สนใจ Book วันรอไว้เลย วันที่ 1 – 6 พ.ค. นี้ ณ ชาเลนเจอร์ฮอลล์ 1 – 3 ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี แล้วพบกันครับ
ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.asaexpo.org