ใกล้เข้ามาแล้วกับงาน สถาปนิก 61 ที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ วันที่ 1 – 6 พ.ค. นี้ ณ ชาเลนเจอร์ฮอลล์ 1 – 3 ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี แต่ก่อนจะไปชมงาน เรามี 6 ไฮไลท์ที่อยากให้ทุกคนทำการบ้านกันก่อนเนิ่นๆ จะได้วางแผนการชมงานถูก เพราะหลายเวทีมีตารางเวลาที่ซ้อนทับกัน สนใจอันไหนลองจัดเวลากันก่อนไปชมครับ
ไฮไลท์ 1. นิทรรศการ Vernacular Living
ครั้งแรกที่ให้นักออกแบบและสถาปนิกกว่า 18 กลุ่มร่วมกันออกแบบนิทรรศการ โดยนำ 4 วัสดุพื้นถิ่นอย่างดิน, อิฐ, ไม้และไผ่ มาผนวกกับ 2 เทคโนโลยี คือดั้งเดิม และ นวัตกรรมใหม่ เกิดรูปแบบสถาปัตยกรรมและนิทรรศการที่เสนอมุมมองการออกแบบสถาปัตยกรรม จากผู้ที่ได้ชื่อว่าผู้ออกแบบสถาปัตยกรรมจริงๆ เพราะไม่เพียงแต่เนื้อหาในนิทรรศการ ตัวสถาปัตยกรรมหรือพาวิลเลียนต่างๆ ยังสื่อสารแนวคิดของงานได้อย่างแยบยล
เนื้อหาที่อยู่ใน 4 พาวิลเลี่ยนหลักจะพูดถึงสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่เปลี่ยนแปลงไปตามวิถีชีวิตสมัยใหม่ได้แก่ ที่อยู่อาศัย (Living Space Pavilion) ออกแบบโดย บุญเลิศ เหมวิจิตรพันธ์ Boon Design / การทำงาน (Working Space Pavilion) ออกแบบโดย จริยาวดี เลขะวัฒนา และ Luke Yeung ARCHITECTKIDD / การพบปะสังสรรค์ (Meeting space Pavilion) ออกแบบโดย สุริยะ อัมพันศิริรัตน์ Walllasia และการเคลื่อนที่ (Moving System) ออกแบบโดย ศ.ดร.วีระ อินพันทัง และ พิช โปษยานนท์
เรื่องราวภายในนิทรรศการ

“Living Space Pavilion” นำเสนอลักษณะและรูปแบบการอยู่อาศัยภายในเรือนพื้นถิ่นในหลากหลายรูปแบบ ผ่านการสื่อความหมายด้วยภาพถ่ายของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นทั้งในบริบทวัฒนธรรมของประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ การจัดวางภาพถ่ายจะจำแนกตามลักษณะการใช้สอยพื้นที่ที่สัมพันธ์กับการอยู่อาศัยทั้งภายในเรือนและภายนอกเรือน เพื่อให้ผู้ชมนิทรรศการสามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านการเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างในบริบทวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น โดยแบ่งประเภทของชุดภาพเป็นหัวข้อต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1) การตั้งถิ่นฐาน 2) รูปทรงอาคาร 3) พื้นที่เปลี่ยนผ่าน 4) พื้นที่พักผ่อน/รับแขก 5) พื้นที่ทำงาน 6) พื้นที่ทางความเชื่อ 7) พื้นที่ใต้ถุน 8) พื้นที่สวน

“Working Space Pavilion” ภายใต้นวัตกรรมใหม่ที่ย่อโลก และการปรับตัวของท้องถิ่น สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นตอบสนองและปรับตัวเข้าสู่สังคมร่วมสมัยและเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างไร? คำโปรยที่นำไปสู่เนื้อหาด้านในพาวิเลียน เล่าเรื่องราวความเป็นมาของอาชีพด้านเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรม-หัตถกรรม และอาชีพด้านบริการพาณิชยกรรม ที่เคยใช้ชีวิตการทำงานและชีวิตครอบครัวในพื้นที่ร่วมกันมาก่อน ผ่านมาในยุคอุตสาหกรรมในประเทศขยายตัวที่แยกขาดพื้นที่ของครอบครัวและพื้นของการทำงานออกจากกัน จนในปัจจุบันนี้ความทันสมัยของเทคโนโลยีน้อมนำให้พื้นที่ทำงานและพื้นที่ชีวิตครอบครัว กลับมาซ้อนทับกันอีกครั้ง แบ่งออกเป็น 3 ส่วนตามพัฒนาการ 3 ช่วงใน 3 สังคม ได้แก่ 1) สังคมชนบทที่มีความหนาแน่นและหลากหลายของอาชีพเกษตรกรรม 2) สังคมชนบทกึ่งเมืองที่มีความหนาแน่นและหลากหลายของอาชีพด้านอุตสาหกรรมหัตถกรรม 3) สังคมเมืองที่มีความหนาแน่นและหลากหลายของอาชีพด้านบริการพาณิช

“Meeting Space Pavilion” หากพาวิเลียน meeting space ถูกตั้งอยู่ในพื้นที่ทางสาธารณะและทางสังคมของไทยในบริบทอื่นๆ จะมีลักษณะอย่างไร พร้อมกับการนำเอารูปแบบการสื่อสารบนโซเชียลมีเดีย อย่างเช่น Twitter แบบเรียลไทม์ซ้อนทับลงบนแบคกราวน์ของสถานที่จุดนัดพบต่างๆ ที่มีชื่อเสียงของกรุงเทพมหานคร จุดมุ่งหมายเชิงลึกของการใช้เทคนิค Virtual reality นี้ มุ่งตั้งคำถามถึงการดำรงอยู่ของร่างกายและความคิด (Body and mind) ของผู้เล่นในนิทรรศการ บนโลกเสมือนจริงที่ซ้อนทับอยู่บนพื้นที่สาธารณะ ว่าเราควรจะหันกลับมามีความตระหนักต่อการดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อม ณ ตอนนี้อย่างไร และสร้างความสมดุลระหว่างการปฏิสัมพันธ์บนโลกออนไลน์และการพบปะแบบประจันหน้าอย่างไร

“Moving System Pavilion” นิทรรศการนี้ มุ่งหวังให้ผู้ชมร่วมสังเกตการณ์รูปแบบวิถีชีวิต แนวโน้มพฤติกรรมและค่านิยมของสังคมเครือข่ายที่ยึดเอาความสะดวกรวดเร็ว และความต้องการเฉพาะของลูกค้า ในการรับสินค้าและบริการเป็นที่ตั้ง โดยมีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขายสินค้า และบริการอยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้น โดยจัดแสดงผ่านภาพวิดีทัศน์เชิงทดลอง 3 เรื่อง ที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนไปของรูปแบบการเคลื่อนที่เฉพาะถิ่นในเมือง ทั้งการเคลื่อนที่จากคนไปหาสิ่งของ บริการและการใช้สินทรัพย์ร่วมกันตามแนวคิดเศรษฐกิจแบ่งปัน และให้ผู้ชมร่วมตั้งคำถามถึงผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางกายภาพของย่านในอนาคต ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด หน้าร้านขายของกินของใช้ยังจำเป็นอีกต่อไปไหม? สาขาธนาคารจำเป็นต้องมีจำนวนมากเท่านี้หรือไม่?
ไฮไลท์ 2. หมอบ้านอาษา
ใครที่กำลังประสบปัญหาเรื่องบ้าน เรื่องที่อยู่อาศัย หรือการก่อสร้างสถาปัตยกรรมและการตกแต่ง ก็ไม่ควรพลาดกับส่วน “หมอบ้านอาษา” นี้อย่างยิ่ง โดยจะมีทีมสถาปนิกและวิศวกรจิตอาสา มาคอยตอบปัญหาเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พร้อมให้ความรู้ คำแนะนำ และคำปรึกษา ที่สำคัญคือ ผู้ที่สนใจสามารถเข้ารับคำปรึกษาได้แบบฟรีๆครับ
แนวคิดออกแบบนิทรรศการ หมอบ้าน : Mor-Baan
ด้วยเพราะ ‘ไม้’ เป็นวัสดุหลักของโครงสร้าง Mor-Baan ทั้งนี้ วรพงศ์ มนูพิพัฒน์พงศ์ และอดา จิระกรานนท์ จาก Atelier2+ ผู้ออกแบบจึงหยิบนำเอาไม้หล่อแบบ ไม้ค้ำยัน หรือในความรับรู้ของคนทั่วไปคือไม้ที่ใช้ทำนั่งร้านในการก่อสร้าง ซึ่งถือเป็นวัสดุที่มีความสำคัญแต่ไม่เคยถูกนำมาใช้เป็นองค์ประกอบหลักของงานสถาปัตยกรรมในการต่อยอดสร้างพาวิเลียน ขณะเดียวกันความต้องการของวรพงศ์
ไฮไลท์ 3. ASA Forum
ASA Forum 2018 ปีนี้ ‘ไม่ธรรมดา’ พบกับเหล่าสถาปนิกชื่อดังระดั
สามารถเข้าไปดู
Yung Ho Chang
Chinese Architect , Atelier Feichang Jianzhu , New York Alliance of architecture Award for young architects, 1992
Credir : Atelier FCJZ
Yung Ho Chang เป็นสถาปนิกชั้นนำ เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและควบตำแหน่งหัวหน้าสถาปนิกที่ Atelier Feichang Jianzhu (FCJZ) ซึ่งเป็นบริษัทสถาปนิกเอกชนแห่งแรกในประเทศจีน และปัจจุบันเขารับตำแหน่งศาสตราจารย์อยู่ที่ MIT (รวมถึงเป็นอดีตหัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ของที่นี่ด้วย) และมหาวิทยาลัย Tongji
นอกจากนี้ เขายังเคยสอนที่มหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งในสหรัฐฯและจีน เขาได้รับรางวัลจำนวนมากจากทั่วโลก อาทิเช่น รางวัลชนะเลิศในการแข่งขัน Shinkenchiku Design Competition ในปี 1987 รางวัลจาก UNESCO ด้านการส่งเสริมศิลปะในปี 2000 และรางวัล Academy Award ด้านสถาปัตยกรรม จาก American Academy of Arts and Letters ในปี 2006 นอกจากนี้เขายังได้รับเกียรติเป็นสมาชิกของคณะกรรมการรางวัล Pritzker Architecture Prize ระหว่างปี 2011-2017 Chang แสดงผลงานเดี่ยวที่ UCCA ในปักกิ่งเมื่อปี 2012 และมีผลงานแสดงจำนวนมากในวงการศิลปะและสถาปัตยกรรมระดับนานาชาติ เช่น Venice Biennale ซึ่งเขาเข้าร่วมมาหกครั้งตั้งแต่ปี 2000 และ Chang ยังมีผลงานตีพิมพ์เป็นบทความ รวมภาพผลงานและหนังสือชื่อ Yung Ho Chang/Atelier Feichang Jianzhu: A Chinese Practice
//////////////////////////////////
David Van Severen
Belgium architects , OFFICEKGDVS
Credit : Tine Cooreman – straightened
Credit : Bas Princen
OFFICE Kersten Geers David Van Severen (OFFICE KGDVS) ขึ้นชื่อเรื่องผลงานการออกแบบที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร โดยอาศัยทฤษฎีสถาปัตยกรรมเป็นจุดเริ่มต้น ผลงานจึงมีความโปร่ง กว้างขวาง เพราะทุกส่วนที่ไม่จำเป็นได้ถูกกำจัดออกไป ให้เหลือแต่รูปทรงที่เป็นรากฐานที่สำคัญที่สุด OFFICE ใช้กฎเรขาคณิตเพียงไม่กี่กฎเพื่อสร้างโครงร่างที่รองรับทุกความซับซ้อนของชีวิต
OFFICE KGDVS ก่อตั้งโดย Kersten Geers และ David Van Severan ในปี 2002 ตั้งอยู่ในบรัสเซลส์ สถาปนิกทั้งสองคนจบการศึกษาด้าน Architecture and Urbanism จาก University of Ghent และจาก Escuela Técnica Superior de Arquitectura ในมาดริด หลังจากนั้น Geers ได้ทำงานร่วมกับบริษัทในเนเธอร์แลนด์ Maxwan Architects + Urbanists และ Neutelings Riedijk Architects และทำงานสอนในสถาบันหลายแห่งในยุโรปและอเมริกา ทั้งยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งนิตยสารเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม San Rocco อีกด้วย
ทางด้าน Van Severan ก็เริ่มออกแบบข้าวของและเฟอร์นิเจอร์ของตัวเองมาตั้งแต่ปี 1995 และเคยร่วมงานกับ Stéphane Beel Architects, Xaveer De Geyter Architects และ Atelier Maarten Van Severen นอกจากนี้ยังเคยสอนในสถาบันที่มีชื่อเสียงหลายแห่งในเนเธอร์แลนด์และฝรั่งเศส และปัจจุบันได้รับเชิญให้ไปสอนที่ Harvard Graduate School of Design
นับแต่ก่อตั้ง OFFICE KGDVS ค่อยๆ สร้างชื่อเสียงในฐานะบริษัทสถาปนิกที่ประสบความสำเร็จที่สุดแห่งหนึ่งของเบลเยียม และมีแนวทางที่เป็นเอกลักษณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก OFFICE ทำทั้งงานออกแบบสถาปัตยกรรมและออกแบบเมือง ดูแลโครงการทุกระดับ นับตั้งแต่เฟอร์นิเจอร์ ไปจนถึงการทำมาสเตอร์แปลน ทั้งในเบลเยียมและต่างประเทศ และด้วยประสบการณ์เชิงวิชาการที่ Geers และ Van Severan มี OFFICE จึงสามารถผสมผสานแง่มุมในเชิงทฤษฎีเข้ากับภาคปฏิบัติ ซึ่งต่างก็ส่งเสริมซึ่งกันและกัน
//////////////////////////////////
Manuelle Gautrand
French Architects , European Prize for Architects 2017
Credit : Manuelle Gautrand Architecture, J-Christophe Valtin, Philippe Ruault, Max Lerouge
Manuelle Gautrand เป็นสถาปนิกชาวฝรั่งเศส ซึ่งเพิ่งจะได้รับรางวัล European Prize for Architecture ในปี 2017 หลังจบการศึกษาจาก École Nationale Supérieure d’Architecture ที่ Montpellier ในปี 1985 เธอเริ่มต้นด้วยการทำงานให้กับบริษัทสถาปนิกหลากหลายแห่ง จนในปี 1991 จึงได้เริ่มก่อตั้งบริษัทในนามของตัวเอง ชื่อ Manuelle Gautrand Architect ส่วนหุ้นส่วน Marc Blaising ซึ่งเข้ามาเป็นผู้ดูแลด้านการเงินและการจัดการของบริษัท มาร่วมงานด้วยในปีถัดมา
บริษัท Manuelle Gautrand Architect ตั้งอยู่ในปารีส มี Gautrand เป็นผู้บริหารและหัวหน้าสถาปนิกมีประสบการณ์ทำโครงการที่หลากหลาย ทั้งอาคารทางวัฒนธรรม (เช่น โรงละคร พิพิธภัณฑ์ ศูนย์วัฒนธรรม) ออฟฟิศ ที่พักอาศัย อาคารเพื่อการค้าและพักผ่อนหย่อนใจ เป็นต้น ลูกค้าของบริษัทมีตั้งแต่องค์กรขนาดใหญ่ของรัฐ ไปจนถึงบริษัทของเอกชน ทั้งในฝรั่งเศสและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย
ผลงานของ Gautrand เป็นที่รู้จักกันว่าใช้สีสันจัดจ้านและไม่จำนนต่อธรรมเนียม อาคารที่เธอออกแบบใช้รูปทรงและสีอย่างไม่มีขีดจำกัด และอาศัยกระบวนการวางแผนและออกแบบที่ทันสมัยที่สุด ทุกโครงการแสดงให้เห็นว่าตัวอาคารมีความสัมพันธ์จำเพาะกับตัวสถานที่เห็นได้ถึงความต้องการฟื้นฟูและสร้างเสน่ห์ให้แก่พื้นที่ มีความมุ่งมั่นตั้งใจทำให้งานสำเร็จดังที่ได้รับความไว้วางใจ และมีประสิทธิภาพ มีความลื่นไหลและสร้างความประหลาดใจได้
Gautrand มีผลงานอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับสาธารณชนอีกมาก เธอมีงานแสดงทั้งที่เป็นงานเดี่ยวและงานร่วมกับศิลปินคนอื่น และเคยแสดงที่ Pompidou Centre ที่ Metz, Swiss Architecture Museum ใน Basel และ Venice Architecture Biennale เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีงานเขียนบทความลงตามสื่อต่างๆ และหนังสือด้านสถาปัตยกรรมอีกหลายเล่ม รวมถึงเคยสอนและบรรยายตามสถาบันต่างๆ ทั่วโลก และนั่งเป็นประธานของสมาคม Académied’Architecture ในฝรั่งเศสตั้งแต่ปี 2016 จนเมื่อปี 2017 เธอได้รับเกียรติรับเครื่องราชลำดับ ‘Officier’ด้านศิลปะและวรรณคดีของฝรั่งเศส Ordre de Arts et des Lettres
//////////////////////////////////
Han Tumertekin
Turkish Architects , Aga Khan Award for Architecture
Han Tümertekin ทำงานเป็นหัวหน้าสถาปนิกของ Mimarlar Tasarim Danismanlik Ltd. ในอิสตันบูล ซึ่งเป็นบริษัทที่เขาก่อตั้งในปี ค.ศ. 1986 เขาเคยทำงานอยู่ที่ปารีส และเพิ่งก่อตั้ง Atelier Han Tümertekin ที่สตราส์บูร์กเมื่อปี 2014 ผลงานส่วนใหญ่อยู่ในตุรกี นอกนั้นก็มีในเนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน มองโกเลียและเคนยา Tümertekin ศึกษาด้านสถาปัตยกรรมจาก Istanbul Technical University และจบปริญญาโทสาขา Historic Preservation and Applications in Istanbul in Recent Years ที่ University of Istanbul เขายังเริ่มสอนตามมหาวิทยาลัยต่างๆ มาตั้งแต่ปี 1992 อันได้แก่ Harvard Graduate School of Design, Istanbul Technical University, École Polytechnique Fédérale de Lausanne, École Speciale d’Architecture ในปารีส, Yıldız Technical University ที่อิสตันบูล, Uludag University ในเบอร์ซา และ Écoled’Architecture ในสตราส์บูร์ก
ไฮไลท์ 4. กิจกรรมเวทีกลาง
สำหรับเวทีกลางที่จะมีกิจกรรมหมุนเวียนจัดขึ้นทุกวันนั้น ปีนี้ก็มีหลายกิจกรรม หลากความรู้ จัดขึ้นที่บริเวณนี้ สามารถเข้าร่วมฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย ลงทะเบียนสำรองที่นั่งที่ www.asaexpo.org/workshop เราสรุปทั้ง Work Shop และ ASA Talk มาให้แล้วตามด้านล่างนี้เลย
Work Shop
Art / Craft / Collage by P.Library
พุธ 2 พ.ค. 61 (13.00-15.00 น.)
เวิร์คช็อปจาก P.Library Studio ผู้ซึ่งออกแบบ Key Visual งานสถาปนิก 61 ปีนี้ และสำหรับเวิร์คช็อปนี้จะเป็นการสร้างงานศิลปะสื่อผสมจากวัสดุต่างกัน ด้วยเทคนิคการตัดปะจากภาพถ่าย ภาพวาด ผสมกับวัสดุที่หาได้ทั่วไป เช่น ผ้า เศษ ไม้ นำมาสร้างสรรค์เข้าด้วยกันเป็นผลงานศิลปะสื่อผสม
//////////////////////////////////
TAM:DA ไม่ธรรมดา by TAM:DA STUDIO / นายธนวัต มณีนาวา
พุธ 2 พ.ค. 61 (16.00-18.00 น.)
นำของใช้รอบๆ ตัวที่ผู้คนอาจมองไม่เห็นคุณค่า กลับมาใช้ใหม่ ด้วยการสร้างรรค์ผลงานให้กลายเป็นโคมไฟช้อนปลูก พวงกุญแจปลั๊กไฟ ทิชชู่ลูกกลิ้ง จากสตูดิโอที่เชี่ยวชาญในการนำวัสดุสิ่งของธรรมดามาปรับเปลี่ยนหน้าที่ด้วยความสนุกในดีไซน์อย่าง TAM:DA STUDIO
//////////////////////////////////
โคมไฟทำมือ by Studiocraps
จิรสิน มหไพโรจน์, กิตติภาส ราชกรม, ภาคภูมิ จังวิจิตรกุล, รักษิต อาจคิดการ
พฤหัสบดี 3 พ.ค. 61 (13.00-15.00 น.)
เวิร์คช็อปการทำโคมไฟไม้แบบง่ายๆ จากเครื่องมือขั้นพื้นฐานเน้นการใช้มือทำในทุกขั้นตอนเพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมผัสการทำงานไม้ด้วยอุปกรณ์มือและได้เรียนรู้ขั้นตอนการทำงานไม้เบื้องต้นด้วยการลงมือทำจริง
//////////////////////////////////
VERNADOCX (mini) Workshop by Vernadoc / กรพัชร สุวรรณศิลป์
พฤหัสบดี 3 พ.ค. 61 (16.00-18.00 น.)
กรพัชร สุวรรณศิลป์ หนึ่งในทีม Vernadoc ผู้สร้างสรรค์งานวาดเพื่อสืบสานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น สร้างกิจกรรมฉบับย่อให้ผู้สนใจการเก็บข้อมูลอนุรักษ์ด้วยการวาดเส้นแบบเทคนิค vernadoc ได้เข้าใจใด้เวลาอันสั้น (สิ่งที่ผู้สนใจต้องเตรียมมา : ตลับเมตรขนาดเล็ก 1-3 เมตร, ไม้บรรทัดสเกลแบบสามเหลี่ยม, ดินสอ 4H, ยางลบ, หากท่านใดมีปากกาเขียนแบบจะเป็น rotring รุ่นแบบเต็มหมึก หัวขนาด 0.1-0.3 สามารถนำติดตัวมาด้วยได้)
//////////////////////////////////
PIY = Pop it Your Ordinary by Kias Matt / กนกมาศ มัทนารมยกิจ
ศุกร์ 4 พ.ค. 61 (13.00-15.00 น.)
Kias Matt หนึ่งในสตูดิโอที่ขึ้นชื่อเรื่องงาน Pop – Up ของไทย ได้รับแรงบันดาลใจจากรถเข็นหาบแร่แผงลอยที่ผู้ออกแบบมองว่าเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาในการประกอบอาชีพ จึงนำมาจัดเวิร์คช็อปโดยใช้เทคนิค pop – up หรือ paper engineering ให้ทุกคนได้สร้างสรรค์ผลงาน Pop Up รถเข็น/รถพ่วง ที่สามารถพับเก็บเป็น 2D หรือตั้งวางเป็นของตกแต่งแบบ 3D ได้
//////////////////////////////////
Badges Creation by Ease Studio / วนัส โชคทวีศักดิ์ ณิชภัค ต่อสุทธิ์กนก
ศุกร์ 4 พ.ค. 61 (16.00-18.00 น.)
การทำชิ้นงานศิลปะตกแต่งผนังจาก embroidery badges ease studio สตูดิโอออกแบบการันตีด้วยรางวัล DE-MARK ได้ทดลองนำเสนอรูปแบบของงานกราฟฟิกดีไซน์ ผ่านเทคนิคการปักเป็น artwork และ เสื่อ โดยนำเสนอเทคนิคการเล่นเฉดสีและการซ้อนทับของเส้นไหม เหมือนการแรเงาภาพลงบนผืนผ้า เพื่อสร้างแพทเทิร์นงานกราฟฟิกที่ดูทันสมัย
Talks
งานออกแบบช่วยให้ธุรกิจ การใช้งาน หรือแม้แต่การใช้ชีวิตในเมืองนี้ดีขึ้นได้อย่างไร กลุ่มคนเหล่านี้จะมาเล่าให้ฟังถึงประสบการณ์และแนวคิดในการออกแบบงานแต่ละชิ้น รวมถึงการทำงานร่วมกันกับลูกค้าที่อาจมีความคิดแตกต่าง แต่สุกท้ายงานออกแบบที่เห็นนั้น มีที่มาและอุปสรรค์อย่างไรบ้าง เราจะได้ฟังและชมจาก Talk นี้กันครับ
1. หัวข้อเสวนาเรื่อง “Neo-vernacular Architecture”
อังคาร ที่ 1 พฤษภาคม 2561 15.30 – 18.30 น.
ลานกิจกรรมกลาง อาคารชาเลนเจอร์ ชั้น 2
ASA SEMINAR ในงานสถาปนิก’61 Beyond Ordinary ครั้งนี้ ตั้งคำถามถึง ปรากฏการณ์การเกิดขึ้นของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นใหม่ในประเทศไทยในห้วง 40 ปี ที่ผ่านมา เราชวนกลับไปพิจารณาถึง แรงบันดาลใจ เทคนิควิธีการ ที่สถาปนิกไทย หยิบ เลือก คัดสรร และพยายามประยุกต์ใช้องค์ประกอบจากงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในการออกแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัยของพวกเขา การสัมมนาครั้งนี้ไม่ใช่การบรรยายเดี่ยวโดยวิทยากร แต่จัดขึ้นในแบบการสร้างบทสนทนาเป็นคู่ (dialogue) ระหว่างสถาปนิกรับเชิญที่มีผลงานในด้านนี้ มาผลัดกันเล่า ผลัดกันถาม-ตอบ และร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการสร้างงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นใหม่ของพวกเขา เราเชื่อว่าบทสนทนาของสถาปนิกรับเชิญเหล่านี้ จะช่วยสร้างความเข้าใจต่อปรากฏการณ์สถาปัตยกรรมร่วมสมัยได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรผลงานแก่สถาปนิกรุ่นใหม่ ๆ ต่อไป
คู่สถาปนิกรับเชิญในบทสนทนา สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นใหม่
– ศ.ดร.วีระ อินพันทัง และ คุณสุริยะ อัมพันศิริรัตน์
– คุณศาวินี บูรณศิลปิน และ คุณจริยาวดี เลขะวัฒนะ
– คุณสันธาน เวียงสิมา และ คุณดนัย สุราสา จาก Krubka Studio
2. หัวข้อเสวนาเรื่อง “SUPER EVERYDAY LIFE“
อังคาร ที่ 1 พฤษภาคม 2561 13.00 – 15.00 น.
ลานกิจกรรมกลาง อาคารชาเลนเจอร์ ชั้น 2
การพูดคุยถึงมุมมอง ประเด็นต่างๆในการทำ project ที่ได้อิทธิพลมาจากพบเห็นหรือการใช้ชีวิตประจำวันในกรุงเทพมหานคร โดยการออกแบบผลลัพท์ในรูปแบบต่างๆ ที่จะส่งผลให้การใช้ชีวิตในเมืองเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการขนส่งมวลชน ที่ร่วมขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการรวมตัวของนักคิดหลากหลายสาขา การร่วมแก้ไขจัดการปัญหาในพื้นที่สาธารณะ และการนำเรื่องราว เหตุการณ์ที่พบเห็นในชีวิตประจำวันที่มีความไม่ธรรมดา มาสื่อสารเนื้อหาผ่านการออกแบบวัตถุ และสื่อหลากหลายรูปแบบ ผู้ร่วมกิจกรรมเสวนา 3 ทีม ประกอบด้วย
กลุ่ม MAYDAY คุณอุ้ม-วิภาวี กิตติเธียร
“….ขณะที่เป้าหมายของ Mayday เอง เรามุ่งเน้นไปที่การเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ระบบขนส่งมวลชนต่างๆ ดีขึ้นและเป็นทางเลือกหลักของคนไทยจริงๆ ไม่ใช่เป็นทางเลือกเมื่อรถยนต์ส่วนตัวใช้ไม่ได้แล้วจริงๆ ถึงค่อยเลือกใช้งาน เราอยากทำให้ขนส่งมวลชนมีคุณภาพที่ดี มีประสิทธิภาพมากพอที่คนจะเลือกใช้เพื่อเป็นทางเลือกแรกในชีวิตประจำวัน…”
กลุ่ม YOUPIN (ยุพิน) คุณโจ้-ฐิติพงษ์ เหลืองอรุณเลิศ
“….แพลตฟอร์มออนไลน์ “ยุพิน (YouPin)” ที่เปิดให้ทุกคนมาร่วมกันแจ้งปัญหาเกี่ยวกับเมือง ด้วยเชื่อว่าพลังของ “คราวด์ซอร์สซิง” (Crowdsourcing) จากเสียงบ่นของมวลชน จะเปลี่ยนแปลงชุมชนและเมืองให้ดีขึ้นได้ โดยไม่ต้องรอให้รัฐลงมือก่อน …”
กลุ่ม DESIGN PLANT (Bangkok Objects ในงาน Bangkok Design Week 2018) คุณตั้ม-กฤษณ์ พุฒพิมพ์ (DOTS Design Studio)
“…เราตั้งคำถามกลับไปยังธีมหลักของงาน ‘The NEW-ist Vibes’ ว่าการมุ่งให้เกิดสิ่งใหม่ๆ และการก้าวไปข้างหน้าเพียงอย่างเดียวจะเวิร์กจริงมั้ย ถ้าเราไม่รู้จักอดีต ไม่รู้จักจุดยืนของตัวเองหรือความเป็นตัวเราดีพอ ฉะนั้นพวกเราควรจะนิยามเรื่องนี้กันยังไง ถ้าให้โฟกัสแคบลงมาอีก เรานึกถึงสิ่งของในกรุงเทพฯ เพราะสิ่งของแต่ละอย่างที่เราเห็นกันล้วนมีคาแรกเตอร์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกับที่อื่น เราเลยให้โจทย์ทีมดีไซเนอร์ไปว่าอยากให้ลองหยิบวัตถุสิ่งของเหล่านั้นมาตั้งคำถาม ตีความหมายหรือหยิบมาออกแบบใหม่จนเกิดเป็นนิทรรศการ Bangkok Objects นี้ขึ้นมา…”
3. หัวข้อเสวนาเรื่อง ‘Towards Ageing Society’
พฤหัสบดี ที่ 3 พฤษภาคม 2561 13.00 – 15.00 น.
ห้องจูปิเตอร์ ชาเลนเจอร์ฮอล เมืองทองธานี
จากสถิติจำนวนประชากรโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ชี้ว่าประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รัฐบาลไทยเองก็ได้ดำเนินการโปรเจ็คต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงนี้ เช่นเดียวกับกระทรวงการต่างประเทศ และสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่เล็งเห็นเรื่องนี้ว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะศึกษาค้นคว้าในเรื่องของการออกแบบเพื่อที่จะนำมาแลกเปลี่ยนและนำเสนอสู่สาธารณะเพื่อประโยชน์ต่ออนาคตสำหรับสังคมไทย
จึงเกิดเป็นงานสัมมนา ‘Towards Ageing Society’ ที่จะนำเสนอ แชร์ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องของ Ageing Society (สังคมผู้สูงอายุ) ระหว่าง Speaker ไทยและต่างชาติ ซึ่ง ASA หวังว่าจะเป็นการริเริ่มที่ดี และไม่ใช่แค่เรื่องของ Physical Design เท่านั้น แต่เป็นการนำนโยบาย หรือข้อบังคับมาทำให้เกิดเป็นแนวทางการออกแบบสำหรับสังคมผู้สูงอายุต่อไป โดยมีผู้ร่วมเสวนาดังนี้
– Octavio Vegara Former Director of Fundacion Oportunidad Mayor, Chile
– Chris StrawMD ThomsonAdsett, Australia
ดำเนินรายการโดย ดร. สายทิวา รามสูต
4. หัวข้อเสวนาเรื่อง ‘Beyond Vernacular Architectural Studies’
พุธ ที่ 4 พฤษภาคม 2561 13.00 – 15.00 น.
ห้องจูปิเตอร์ ชาเลนเจอร์ฮอล เมืองทองธานี
การเสวนาที่เริ่มจากตั้งคำถาม ของการเชื่อมต่อของการเรียนและการออกแบบแนวสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในอนาคตจะเป็นอย่างไร กล่าวเปิดโดย ศ.อรศิริ ปาณินท์
ผู้บรรยายในส่วนของการศึกษาและวิจัยด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น คือ รศ.ดร.ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี และ ดร.ประติมา นิ่มเสมอ ดำเนินรายการโดย รศ.ชาตรี ประกิตนนทการ
5. หัวข้อเสวนาเรื่อง “ Working with architects”
เสาร์ ที่ 5 พฤษภาคม 2561 13.00 – 15.00 น.
ลานกิจกรรมกลาง อาคารชาเลนเจอร์ ชั้น 2
เสวนาหัวข้อ Working with architects จัดขึ้นเพื่อแสดงศักยภาพและความสำคัญของการออกแบบงานสถาปัตยกรรมโดยสถาปนิก ที่ส่งผลต่อการประกอบธุรกิจประเภทต่างๆ ทั้งในเรื่องของแนวคิดธุรกิจและรูปแบบสถาปัตยกรรม ที่มีความสัมพันธ์ส่งเสริมซึ่งกันและกัน เพื่อทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จและสร้างความแตกต่างได้อย่างชัดเจน
โครงการ CORO FIELD อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี
ออกแบบโดยบริษัท IF(Integrated Field) : คุณคณิน มัณฑนะชาติ (นิน)
โครงการ BED ONE BLOCK Hostel, กรุงเทพมหานคร
ออกแบบโดย บริษัท A Millimetre : คุณสิทธนา พงษ์กิจการุณ (น็อต) และ วิภาวี เกื้อศิริกุล (ทราย)
ไฮไลท์ 5. ASA Application
เพราะเราอยู่ในยุคดิจิตอลและแอพพลิเคชั่น ในงานสถาปนิกครั้งนี้จึงมีการผสานเทคโนโลยี VR (Virtual reality) เข้ามาในงานสถาปนิก 61 นี้ด้วย โดยนิทรรศการหลักทั้ง 5 ส่วน จะถูกประยุกต์เนื้อหาและใช้สื่อที่หลากหลายเพื่อสื่อสารกับผู้เข้าชมนิทรรศการ ทั้งภาพถ่าย ภาพวาดเล่าเรื่อง หนังสั้นเชิงทดลอง และแน่นอนกับการใช้เทคโนโลยี VR (Virtual reality) เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาและประเด็นสำคัญที่ทางผู้ออกแบบต้องการสื่อสารไปยังผู้ชมนิทรรศการ
ภาพตัวอย่างเทคนิค AR (Augmented reality) ของพาวิเลียนหลักในงานสถาปนิก ‘61
นอกจากสื่อที่ติดตั้งอยู่ในพาวิเลียนหลักแล้ว นิทรรศการทั้ง 5 พาวิเลียนยังถูกถ่ายทอดผ่านเทคนิค AR (Augmented reality) ซึ่งเป็นเทคนิคการรวม สภาพแวดล้อมจริงกับวัตถุเสมือนเข้าไว้ในเวลาเดียวกัน โดยวัตถุเสมือนนั้นจะเป็นภาพหรือวิดีทัศน์ที่ช่วยขยายความเข้าใจต่อเนื้อหาของแต่ละนิทรรศการ ที่ไม่สามารถจัดทำเป็นสภาพแวดล้อมจริงได้ รวมไปถึงกระบวนการก่อสร้างและขึ้นรูปของพาวิเลียนอีกด้วย โดยผู้เข้าชมสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นที่จัดทำขึ้นเฉพาะในงานนี้เพื่อใช้ในการชมนิทรรศการแต่ละจุด รวมไปถึงมีการติดตั้งอุปกรณ์ให้ผู้เข้าชมได้ทดลองสร้างประสบการณ์ดังกล่าวใน Introduction pavilion อีกด้วย
ไฮไลท์ 6. โซนจัดแสดงผลงานด้านสถาปัตยกรรมจากเหล่าสถาปนิก
ASA Awards
พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการผลงานที่ได้รับรางวัลการออกแบบสถาปัตยกรรมดีเด่น ASA Awards 2018 จากสมาคมสถาปนิกสยามฯ
พาวิเลียนออกแบบโดยเมธี รัศมีวิจิตรไพศาล จาก COMPOSITION A และ ศรัญญู เอื้อวิเศษวัฒนา
ASA Members
พบกับพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการผลงานของสมาชิกสมาคมฯ ที่ส่งผลงานเข้าคัดเลือกมาเพื่อแสดงในงานสถาปนิก ‘61
พาวิเลยนออกแบบโด ยนพพล พิสุทธิอานนท์ จาก QUINTRIX ARCHITECTS
ASA International Design Competition
พื้นที่แสดงงานของผู้ผ่านการคัดเลือกกิจกรรมประกวดแบบ ASA International Design Competition 2018 ภายใต้โจทย์ VEX : Agitated Vernacular มองสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในมุมใหม่
พาวิเลียนออกแบบโดย สุภาพร วิทยถาวรวงศ์ จาก BEAUTBUREAU
ตาราง Work Shop และกิจกรรมต่างๆ ติดตามได้ที่ www.asaexpo.org
กิจกรรมอัดเน้นและน่าสนใจขนาดนี้ Book วันรอไว้เลย วันที่ 1 – 6 พ.ค. นี้ ณ ชาเลนเจอร์ฮอลล์ 1 – 3 ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี แล้วพบกันครับ
ข้อมูลเพิ่มเติม www.asaexpo.org