ครั้งนี้เราสนใจที่ “ห้องน้ำสาธารณะ” ในญี่ปุ่นครับ ใครที่เคยไปคงจะทราบดีว่าห้องน้ำสาธารณะที่นั่น ดูดี น่าใช้งานแค่ไหน บางหลังออกแบบก่อสร้างดีมาก มากเกินกว่าที่เราคนไทยจะจินตนาการได้ ว่านี่คือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อการใช้งานสำหรับทุกคน ที่สำคัญนั้นอาคารเหล่านี้ได้รับการดูแลจากผู้ใช้งาน ไม่ต่างจากห้องน้ำที่บ้านของตน… และจำนวนที่มากของห้องน้ำในญี่ปุ่น อาจจะพอบอกเราได้ว่า เขาให้ความสำคัญกับคำว่าส่วนรวมหรือความสุขในการใช้งานพื้นที่สาธารณะมากแค่ไหนครับ
“ห้องน้ำสาธารณะที่ญี่ปุ่นน ั้นหาได้ง่ายกว่าถังขยะ”
คำกล่าวนี้คงไม่เกินเลยไปนั ก ถ้าเราได้ลองมาญี่ปุ่น พร้อมกับความอยากทิ้งขยะในม ือ และระหว่างการตามหาถังขยะ ให้ดูตำแหน่งห้องน้ำสาธารณะ ไปด้วย จนสุดท้าย เราก็อาจจะเจอห้องน้ำสาธารณ ะเป็นสิบแห่ง แต่ยังหาถังขยะไม่เจอ จนสุดท้ายต้องเอากลับมาทิ้ง ยังที่พัก
นั่นก็เพราะแนวคิดเรื่องควา มรับผิดชอบต่อสังคม ใครสร้างขยะก็ต้องรับผิดชอบ
แนวคิดเรื่องความรับผิดชอบต ่อสังคม ให้คิดถึงคนอื่นก่อนตัวเอง เป็นสิ่งที่เราพบเห็นได้จาก การใส่ใจในการบริการ ซึ่งจะทำให้ทุกคนช่วยกันปกป ้องพื้นที่สาธารณะ อย่างเช่นถ้าใครทำให้ระบบขอ งสังคมเสีย หรือรบกวนพื้นที่ส่วนรวม ก็จะถูกตำหนิด้วยหน้าตานิ่ง ๆของคนรอบข้าง ดูสุภาพ แต่รู้ไหมว่ากำลังโดนตำหนิอ ย่างมาก
แนวคิดนี้ส่งผลต่อสถาปัตยกร รมสาธารณะด้วยเช่นกัน
เช่นการใช้ห้องน้ำสาธารณะ ที่ให้คิดว่า คนที่จะเข้ามาใช้หลังเราจะใ ช้งานได้อย่างสบายใจ เมื่อเข้าใช้ห้องน้ำแล้ว ให้รักษาความสะอาด หลังจากนั่งโถส้วมแล้วเมื่อ มีคราบน้ำจากฝักบัวชำระอัตโ นมัติ ก็ให้เช็ดฝารองนั่งให้เรียบ ร้อยด้วยกระดาษชำระ จากนั้นห้ามทิ้งกระดาษชำระเ หล่านี้ลงในถังขยะ ให้ทิ้งลงไปในโถส้วม เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม เพราะกระดาษชำระของญี่ปุ่นน ั้นเนื้อบาง สามารถย่อยในระบบสุขาภิบาลไ ด้ และจะระบุอย่างซีเรียสว่าให ้ใช้กระดาษชำระสำหรับส้วมเท ่านั้นที่จะทิ้งลงโถ ห้ามเป็นกระดาษอย่างอื่น แม้จะเป็นกระดาษทิชชูเช็ดหน ้าก็ตาม เมื่อใช้ส้วมเสร็จแล้วก็ให้ ทำการปิดฝาก่อนออกไป
ต่างกันกับบ้านเราที่ห้ามทิ ้งทิชชูใช้แล้วในโถส้วม แต่ให้ทิ้งในถังขยะข้าง ๆ ถ้าเป็นที่ญี่ปุ่นนี่ การทำแบบนี้จะถูกตำหนิอย่าง มากที่ปล่อยให้เห็นภาพแบบนั ้น อย่างการที่คนญี่ปุ่นมาบ้าน เรา แล้วเจอส้วมตักขันราดก็รู้ส ึกเครียดกันทีเดียว
การคิดถึงคนอื่นก่อน เป็นสิ่งที่ผมเจอเมื่อมาถึง หอพักครั้งแรก ผมได้เจอผู้ดูแลชาวหอ ผู้ขนานนามตัวเองว่า ’มาม่า’ เพราะชาวหอต่างยำเกรงในความ จุกจิกของเธออย่างกับแม่(ฮา ) มาม่าสอนผมถึงการใช้พื้นที่ ในหอ ที่ห้ามรบกวนชุมชนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการส่งเส ียงดัง ห้ามแอบเลี้ยงหมาแมวจร และที่สำคัญคือการรักษาความ สวยงามให้กับชุมชน มาม่าสั่งห้ามอย่างหนักเรื่ องห้ามเอาผ้าออกไปตากนอกหน้ าต่าง ห้ามไปแขวนกับแผงบังแดดโดยเ ด็ดขาด เพราะมันจะเอาผ้าที่น่าเกลี ยดไปกระทบต่อสายตาของเพื่อน บ้านได้
ผมเห็นว่าแนวคิดเรื่องแบบนี ้ส่งผลต่อการออกแบบห้องน้ำส าธารณะ ที่ดูแล้วหลายแห่งแม้จะตั้ง อยู่ริมถนน แต่ก็ออกแบบมาให้น่าดู ดูไม่ประดักประเดิดประเจิดป ระเจ้อ
เอาจริง ๆ แล้วห้องน้ำสาธารณะบางห้อง มันดูดีราวกับงานประติมากรร มหรืองานศิลปะ อย่างห้องน้ำสาธารณะบางหลัง ผนังเป็นกลาสบล็อค (บล็อคแก้ว) พอตกกลางคืนมันจะกลายเป็นเห มือนโคมไฟที่เข้าไปทำธุระได ้
การออกแบบก็ใช้งานได้ทั้งคน ปรกติ คนพิการ ที่ป้ายห้องน้ำนอกจากจะมีข้ อความทั่วไปแล้ว ยังมีอักษรเบรลล์ และแปลนเป็นตัวนูน ให้คนพิการทางสายตาสามารถรู ้ตำแหน่งห้องน้ำ พร้อมข้อความอีกด้วย ห้องน้ำสาธารณะหลายแห่งที่น ี่มีการออกแบบที่นอกจากคำนึ งเรื่องความสะอาด แต่ยังคิดไปถึงให้ทุกคนเข้า มาใช้ได้อย่างสบายใจ
แนวคิดนี้ส่งผลให้สิ่งของที ่เป็นสาธารณะในญี่ปุ่นถูกดู แลโดยคนญี่ปุ่นอย่างดี เพราะเป็นของที่ใช้ร่วมกัน
หากใครเคยมาญี่ปุ่น คงจะสัมผัสบรรยากาศการรักษา มารยาทในการอยู่ร่วมกันของค นญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี เราสัมผัสมันได้ผ่านความสะอ าดของพื้นที่สาธารณะ แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ถูกสร ้างขึ้นมาจากสวรรค์ประทานลง มาให้ แต่ผ่านการสร้างสำนึกร่วมกั นในสังคม หากลองดูภาพเก่าของญี่ปุ่นใ นยุคการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ฤดูร้อน เมื่อ พ.ศ. 2507 เราจะเห็นได้ถึงความสกปรกรก รุงรังของญี่ปุ่นในยุคนั้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปจนมาเป็น ญี่ปุ่นทุกวันนี้ มันก็ต้องใช้เวลา หากบ้านเรามีความหวังให้บ้า นเราดูดี เป็นประเทศกำลังพัฒนาก็ต้อง ใช้เวลาหลายสิบปีเช่นกัน