OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

รู้จัก Sento ของ Hanomi Henya ผู้ลาออกจากการเป็นสถาปนิก เพื่อเป็นนักวาดภาพประกอบสถาปัตยกรรม

ช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนของคุณคืออะไร?

บางคนมีความสุขเมื่อได้ออกเดินทางท่องเที่ยว บางคนรู้สึกผ่อนคลายเมื่อได้อ่านหนังสือ และใครหลายๆ คน รู้สึกดีเมื่อได้ทำงานอดิเรกที่หลงรัก แต่สำหรับ Hanomi Henya ผู้ลาออกจากอาชีพสถาปนิกและเริ่มต้นเป็นนักวาดภาพประกอบสถาปัตยกรรมแล้วละก็ การผ่อนคลายของเธอไม่ได้เกิดจากการทำกิจกรรม แต่เป็นจากสถานที่ ที่เรียกว่า Sento หรือโรงอาบน้ำสาธารณะของชาวญี่ปุ่น …

Hanomi Henya นักวาดภาพประกอบผู้ชื่นชอบในการไป Sento

Hanomi Henya เธอเครียดและเหน็ดเหนื่อยจากการเป็นสถาปนิก ตั้งแต่ช่วงเรียนมหาวิทยาลัย และเมื่อเริ่มทำงานที่สตูดิโอแห่งหนึ่ง เธอก็ต้องทำงานล่วงเวลาอยู่เสมอ จนเริ่มมีอาการเจ็บป่วย และเมื่อไปพบคุณหมอ เขาจึงแนะนำให้เธอหาเวลาพักผ่อน ผ่อนคลายความเครียด เพื่อฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ เธอจึงเลือกที่จะไปที่ Sento หรือโรงอาบน้ำสาธารณะท้องถิ่นในละแวกบ้าน ซึ่งการตัดสินใจในครั้งนั้น เป็นการจุดประกายความคิดของเธอให้เปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล

การไปที่ Sento ช่วยให้เธอผ่อนคลายมากขึ้น และยังทำให้เธอเห็นเรื่องราวที่น่าสนใจในอาคาร เธอจึงเริ่มวาดภาพสิ่งที่เธอพบเห็นในนั้น การวาดภาพ Sento ส่งผลให้เธอสนุกและสบายใจ ซึ่งในท้ายที่สุด เธอจึงเลือกทำในสิ่งที่ทำให้มีความสุข นั่นคือการตัดสินใจลาออกจากการเป็นสถาปนิก และเริ่มต้นวาดภาพเพื่อเล่าเรื่องและวัฒนธรรมที่ซ่อนเร้นภายใน Sento

แม้การเป็นนักวาดภาพจะไม่ตื่นเต้นหรือมีสีสันเท่ากับการเป็นสถาปนิก แต่ศิลปะที่เธอนำเสนอกลับยิ่งใหญ่มากกว่านั้น เพราะนอกจากจะจุดประกายสร้างแรงบันดาลใจแล้ว เธอยังบอกเล่าวัฒนธรรมที่มีมาเนิ่นนานของชาวญี่ปุ่นผ่านทางภาพวาดของเธออีกด้วย

Honomi Enya ได้พาเราเยี่ยมชมโรงอาบน้ำสาธารณะในเมือง Kosugiyu, Tokyo ด้วยภาพวาด Perspective ที่แสดงพื้นที่และการใช้งานใน Sento มุมมองภาพวาดของเธอนั้นเรียบง่าย แต่มีองค์ประกอบมากมาย พร้อมทั้งมีเอกลักษณ์และเข้าถึงได้ง่าย โดยเธอเลือกใช้สีสันสดใสอย่างสีเขียว สีฟ้า และสีขาว เพื่ออธิบายและเพิ่มความรู้สึกให้กับภาพวาด

ประวัติศาสตร์ของ Sento เริ่มต้นจากการเผยแพร่ศาสนา ในยุคเอโดะ (ปีค.ศ. 1603 – 1867) แต่ยุคที่เจริญรุ่งเรืองมากที่สุดกลับเป็นยุคโชวะ (ปีค.ศ. 1968 – 1970) ซึ่งมี Sento มากกว่า 2,500 แห่งในโตเกียว แต่ในปัจจุบันกลับเหลือเพียง 600 แห่งเท่านั้น นั่นเป็นเพราะในปัจจุบันมีห้องน้ำและพื้นที่พักอาศัยที่สะดวกสบายมากขึ้น คนท้องถิ่นจึงใช้ Sento น้อยลง แต่ถึงอย่างนั้น ในปัจจุบันก็ยังมีนักท่องเที่ยวบางกลุ่มที่ต้องการสัมผัสวัฒนธรรมการอาบน้ำรวมของชาวญี่ปุ่น จึงทำให้ Sento มีชีวิตชีวามากขึ้นอีกด้วย

Sento มักเป็นอาคารแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น ผู้ใช้งานต้องชำระค่าอาบน้ำบริเวณล็อบบี้ จากนั้นจึงเดินแยกห้องเพื่อไปอาบน้ำ ซึ่งฝั่งผู้หญิงและผู้ชายจะแยกออกจากกันอย่างชัดเจน โดยในห้องอาบน้ำจะกั้นพื้นที่ออกเป็นสัดส่วน ทั้งส่วนเปลี่ยนเสื้อผ้า ที่เก็บของ ห้องน้ำ พื้นที่อาบน้ำ ซาวน่า และบ่ออาบน้ำที่ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ

ภายใน Sento มักมีภาพภูเขาไฟฟูจิ เพื่อสร้างบรรยากาศผ่อนคลายให้กับผู้ใช้งาน

พื้นที่ภายใน Sento จะเป็นพื้นที่เปิดโล่ง กว้างขวาง และสะดวกสบายมากกว่าบ้านพักอาศัยของชาวญี่ปุ่น นอกจาก Sento จะเป็นที่อาบน้ำทำความสะอาดร่างกายแล้ว ชาวญี่ปุ่นยังเชื่อว่าการมาที่ Sento จะช่วยชำระล้างจิตใจ ให้เกิดความผ่อนคลาย สงบมากขึ้น มากไปกว่านั้นยังช่วยเพิ่มปฎิสัมพันธ์หรือการมีสังคมระหว่างกันอีกด้วย

“ในหนังสือเล่มนี้ ฉันวาดภาพที่อาบน้ำสาธารณะหรือ Sento ทั้งหมด 24 ภาพ โดยใช้สีสันจาก Sento ส่วนใหญ่ในโตเกียว และนำมารวบรวมเป็นผลงานเกี่ยวกับ Sento ที่ฉันไปและได้รับประสบการณ์อันน่าสนใจกลับมา” Honomi Enya กล่าว 

การวาดภาพ Sento ช่วยทำให้ Honomi Enya รู้สึกดีและอบอุ่น เธอค่อยๆ วาดภาพสะสมทีละภาพ จนได้รวบรวมผลงานเป็นหนังสือภาพวาด ในชื่อ Sento Zukai (จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Chukoron – Shinsha ของประเทศญี่ปุ่น) สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรเจค Sento ของเธอได้ที่ https://sentozukai.jp

ขอบคุณที่มาและรูปภาพจาก Designboom, Timeout, Wikipedia

Discover more from Design Makes A Better Life.

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading