ในศตวรรษที่ 20 หลายๆประเทศถูกครอบงำโดยการใช้งานของรถยนต์เป็นการสัญจรหล้กของเมือง แต่สิ่งนี้เองกลับทำให้สภาพความเป็นเมือง การใช้ชีวิตและอยู่อาศัยเปลี่ยนไป ทำให้หลายๆประเทศมีการตระหนักถึงการออกแบบสถาปัตยกรรมที่เอื้อต่อการใช้งานและผังเพื่อสนับสนุนการใช้งานจักรยานให้ได้มากที่สุด เพื่อเป็นการฟื้นคืนเมืองให้ดีขึ้นและตอบสนองกับคนรักการปั่นโดยเฉพาะ เหมือนกับโครงการของ BICYCLE ARCHITECTURE BIENNALE (BAB) รณรงค์ให้คนหันมาใช้การสัญจรในรูปแบบของจักรยานมากขึ้นยิ่งขึ้น
โครงการสถาปัตยกรรมที่ดีไซน์มาเพื่อนักปั่นจักรยาน 15 โครงการจาก 9 ประเทศทั่วโลก ที่จะทำให้คุณลืมทางจักรยานในปัจจุบัน ที่จัดโดย Bicycle Architecture Biennale ตั้งแต่ทางจักรยานไปจนถึงสถานที่ รองรับสำหรับนักปั่นโดยเฉพาะ จุดเด่นไม่ใช่การทำให้สวยงามแต่ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานของการใช้จักรยานให้ดีขึ้น ปีนี้เป็นครั้งที่ 2 ของการจัดงาน โดยงานจัดขึ้น มิถุนายน 2562 ที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นแรงบันดาลใจในการคิดเกี่ยวกับเมืองในอนาคตที่ควรจะเป็นอย่างไร โดยมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนเป็นการสัญจรโดยจักรยานให้ได้ภายในปี 2030 รวมถึงแสดงความเป็นได้ ที่จะเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาเมืองต่างๆอย่างสร้างสรรค์
1. BIGGEST BICYCLE PARKING IN THE WORLD
Ector Hoogstad Architecten (Utrecht, the Netherlands)
ที่จอดจักรยานที่ใหญ่ที่สุดในโลก อยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศที่ผู้คนในเมืองใช้จักรยานเป็นการสัญจร ถึง ประมาณ 43 โดยมีการออกแบบพื้นที่จอดจักรยานที่สถานีรถไฟใจกลางของเมือง ที่สามารถรองรับจักรยานได้ถึง 12,500 คัน โดยเป็นพื้นที่ภายในอาคารขนาดใหญ่ มีทางลาดที่สามารถใช้งานได้สะดวกสบายในอาคาร โดยมีการนำระบบดิจจิตอลนำมาใช้งานแสดงช่องจอดว่างและในอนาคตจะมีการพัฒนาให้สามารถจอดได้ถึง 33,000 คัน ภายในปีคศ. 2020 ให้ได้
2. CYCLING AND PEDESTRIAN CONNECTION
Batlle i Roig (Barcelona, Spain)
ปัญหาจากการข้ามถนนในแยกที่บาร์เซโลนา ที่สเปน ถูกนำเสนอในแนวทางการออกแบบการใช้งานของคนเดินเท้า รถยนต์ และเลนจักรยาน เนื่องจากจุดนี้เป็นบริเวณที่ถนนหัวโค้งที่มีหลายเส้นมาบรรจบกัน มีการออกแบบเส้นทางใหม่ข้ามแยกลอยฟ้าสำหรับทางเท้าและทางจักรยาน ให้ได้ความรู้สึกของการใช้งานอยู่ที่ชานเมืองสามารถขับขี่ได้ปลอดภัย
3. COFFEE & BIKES
BureauVanEig/Biq architecten (Delft, the Netherlands)
ปั่นชิวในที่เดียวกัน มหาวิทยาลัยTU Delft มีแนวทางการสร้างสรรค์พื้นที่ส่วนกลางขนาดใหญ่ถูกออกแบบให้เป็นที่จอดรถจักรยานประมาณ 2,100 คันมีส่วนของคาเฟ่รองรับคนที่มาใช้งาน ส่วนของอาคารด้านบนเป็นลานโล่งสำหรับจอดจักรยาน และรองรับสำหรับการซ่อมแซมจักรยานที่ครบวงจรภายในที่เดียว
4. XIAMEN BICYCLE SKYWAY
Dissing+Weitling (Xiamen, China)
เมืองเซี่ยเหมินในประเทศจีนก็ไม่แพ้กัน ได้ดีไซน์ทางจักรยานที่ยาวประมาณ 5 ไมล์ และนั่นเองก็ได้กลายเป็นเส้นทางจักรยานที่ยาวที่สุดในโลก มีจุดเชื่อมต่อกับสถานีขนส่ง หรือจุดเช่าจักรยานสำหรับผู้คน ที่สามารถเดินไปป้ายรถประจำทางหรือรถไฟใต้ดินได้ใกล้และสะดวก ในชั่วโมงเร่งด่วนก็สามารถใช้งานในทางที่จัดไว้ได้ถึงเกือบ 2,000 คัน ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ตอบรับกับการใช้งานเมืองอย่างแท้จริง
5. CYCLING THROUGH WATER
Visit Limburg, LensAss Architecten (Limburg, Belgium)
ปั่นชมวิวในเส้นทางอนุรักษ์ธรรมชาติในเบลเยียม เส้นทางจักรยานที่ตัดตรงผ่านบ่อน้ำทางธรรมชาติ โดยเป็นระดับทางลาดลึกลงไป นักปั่นก็สามารถปั่นลงไล่ไปจนในระดับสายตากับระดับของน้ำพอดีกัน โดยใช้แนวคิดคือ Cycling Through Water ว่าเป็นการตอบรับได้ดีเพราะคนมาใช้งานมากขึ้นประมาณ 800 คนต่อวันและกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวของเมืองที่น่าสนใจ
6. CYCLING THROUGH THE TREES
BuroLandschap (Limburg, Belgium)
เมืองลิมเบิร์ก มีโครงการพัฒนาเส้นทางจักรยานโอบล้อมป่าไม้ และป่าไม้ก็ล้อมรอบเราเช่นกัน เป็นระดับเส้นทางที่ปั่นขึ้นล้อมป่าไม้ เป็นวงกลมไล่ระดับให้ใช้งานได้ โดยจุดสนใจคือในแต่ละช่วงเวลาในแต่ละฤดูกาล บรรยากาศทางธรรมชาติและทิวทัศน์ก็เปลี่ยนไปเช่นกัน
7. CURTIN BIKE HUB
Coniglio Ainsworth Architects (Perth, Australia)
มหาวิทยาลัยที่เมืองเพิร์ธ มีการออกแบบจุดจอดจักรยานที่สามารถจอดได้ประมาณ200คัน และรองรับการให้บริการทำความสะอาดจักรยานรวมถึงมีพื้นที่ใช้งานสำหรับทำกิจกรรมด้านบน หรือจุดจัดงานอีเว้นต่างๆ ให้คนมาใช้งานและสามารถทำกิจกรรมอื่นได้ภายในที่เดียวกัน ซึ่งเป็นทีตอบรับกับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย
8. NELSON ST CYCLEWAY
Monk Mackenzie, LandLAB, GHD (Auckland, New Zealand)
การออกแบบทางคนเดินและทางจักรยานที่คู่ขนานไปกับเส้นทางไฮเวย์ในโอ๊คแลนด์ เอกลักษณ์โดดเด่นคือการใช้สีชมพูที่พื้นการใช้งานของสถาปัตยกรรมชิ้นนี้ ออกแบบเชื่อมเส้นทางใจกลางเมือง ได้เปลี่ยนหลอดไฟธรรมดาให้มีลูกเล่นในการใช้งานสำหรับช่วงเวลากลางคืน สร้างปฏิสัมพันธ์กับคนที่ใช้งานโดยมีตัวจับเซ็นเซอร์ทั้งสองด้าน เมื่อคนเดินผ่านหรือปั่นจักรยานผ่าน ไฟจะเปิดขึ้นถือเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้กับสถาปัตยกรรม
9. OHAFEN BRIDGE
Schneider+Schumacher (Raunheim, Germany)
ทางจักรยานโค้งสีขาวที่ออกแบบเป็นทางลาดวน ถูกใช้เป็นทางข้ามแม่น้ำ ให้เหมาะกับการใช้งานของคนเดินเท้าและทางจักรยาน โดยมีแรงบรรดาลใจมากจาก“จังหวะการสะบัดปลายพู่กัน” ที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างสองฝั่งของท่าเรือน้ำมัน
10. UPSIDE DOWN BRIDGE
Nooyoon (New York, USA)
การพัฒนาพื้นที่รกร้างสำหรับแนวเส้นรถไฟในนิวยอร์ค โดยให้เมืองแหล่งชุมชนเป็นจุดศูนย์กลาง โดยมีการออกแบบเป็นสโลปโค้งกดที่ตรงกลางขึ้นและลง ตามแนวคิด “UPSIDE DOWN BRIDGE” ที่ปลายทางสองฝั่งจัดให้มีพื้นที่สีเขียว มีการเชื่อมต่อชานเมืองข้างๆเข้าสู่ใจกลางเมือง
11. NORREPORT STATION
COBE and Gottlieb Paludan Architects, Sweco (Copenhagen, Denmark)
ลานขนาดใหญ่ที่ใกล้กับสถานีขนส่งใจกลางเมืองในเดนมาร์กที่คนพลุกพล่าน มีการออกแบบพื้นที่ใหม่ให้รองรับกับคนใช้งาน มีพื้นที่รองรับสำหรับจักรยาน เรียกว่าเป็นจุดจอดแล้วจรเลยก็ว่าได้ จุดจอดจักรยานที่สามารถจอดได้ถึง 2,500 คัน สนับสนุนให้คนใช้จักรยานโดยการขี่มาจอดที่จุดรองรับ และสามารถใช้รถขนส่งสาธารณะเพื่อเดินทางไปยังที่ต่างๆได้
12. RHEINRING
SPADE (Cologne, Germany)
ติดกับสะพานในโคโลญประเทศเยอรมนี สถาปัตยกรรมทรงโค้งถูกออกแบบใกล้ๆกัน ที่ถูกสร้างให้เชื่อมผ่านแม่น้ำไรน์ มีดีไซน์โค้งที่ต้องการจะดึงดูดคนด้วยรูปแบบของตัวมันเอง เหมือนเป็นการสนับสนุนให้ใช้ในเส้นทางที่ปลอดภัยมากกว่าที่จะใช้ร่วมกับถนนสำหรับรถยนต์ที่อาจจะอันตรายสำหรับนักปั่นและคนเดินเท้า
13. RADBAHN BERLIN
Paper planes e.V. (Berlin, Germany)
พื้นที่ใต้รางรถไฟฟ้าตลอดทั้งแนวที่ถูกทิ้งร้างไม่ได้ใช้งาน ถูกพัฒนาออกเป็นเส้นทางจักรยานใหม่ที่ออกแบบให้ปลอดภัยต่อการใช้งานในทุกฤดูกาล โครงการนี้มีการออกแบบไปถึงการวางผังสวน มีจุดจอดรถเข็นขายอาหารหรือฟู้ดทรัค และจุดชาร์จแบตสำหรับจักรยานไฟฟ้าตลอดแนวเส้นทางเลียบริมน้ำ
14. BIKE PARKING CANOPY
NL Architects (The Hague, The Netherlands)
ฮอลล์จัดกิจกรรมใกล้กับสถานีรถรางกลางกรุงเฮก เสนอให้มีการปรับปรุงจุดจอดจักรยาน โดยมีการปรับระดับให้ใช้งานได้ในหลายส่วน ห้องโถงถูกใช้สำหรับการจัดกิจกรรม มีทางลาดสำหรับการใช้งานจักรยานรองรับสำหรับจุดจอดจักรยานด้านบน โครงการที่ใส่ใจเรื่องการออกแบบพื้นที่อย่างสร้างสรรค์ ทำให้พื้นที่สองส่วนใช้งานร่วมกันได้ดี
15. MELKWEGBRIDGE
NEXT Architects (Purmerend, The Netherlands)
สะพานที่มีเอกลักษณ์โค้งในเนเธอร์แลนด์ ได้ออกแบบสถาปัตยกรรมที่ตอบสนองการใช้งานของคนและจักรยานแยกส่วน คล้ายซุ้มโค้งที่ให้คนใช้งานได้รับบรรยากาศของเมืองรอบๆ สำหรับทางเดินเท้า บางช่วงมีคนมาใช้สำหรับออกกำลังกาย โดยมีการเชื่อมเมืองทั้งสองฝั่งเข้าด้วยการจากการใช้งานของคน ถือว่าเป็นการตอบสนองการใช้งานคนเมืองได้เต็มรูปแบบ
นิทรรศการ Bicycle Architecture Biennale เป็นจุดเริ่มต้นสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าหลายๆที่มีแนวทางพัฒนาสถาปัตยกรรมที่เอื้อต่อการใช้งานจักรยานมากกว่ารถยนต์ บางโครงการก็ทำให้เราอยากปั่นจักรยาน ถึงกับเมินรถยนต์กันเลยทีเดียว เพื่อช่วยลดมลพิษรักษาสิ่งแวดล้อม เราอยากให้สถาปัตยกรรมช่วยสร้างเมือง เมืองอยู่ร่วมกับคน และคนเองก็ต้องช่วยกัน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ให้เมืองและคนขับเคลื่อนอย่างสร้างสรรค์ไปพร้อมกัน
ที่มา Archdaily.com