OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

การเช็งเม้งแบบเดิม ๆ จะเปลี่ยนไปกับแนวคิด “ฮวงซุ้ย” ใหม่ ที่น่าจดจำมากกว่าเดิม

เคยคิดไหมว่า ทำไมการเช็งเม้งถึงต้องถูกยึดติดด้วยรูปแบบเดิมมาเป็นสิบเป็นร้อยปี

อากาศร้อนและความไม่เหมาะสมบางอย่าง ทำให้หลายคนรู้สึกขยาดกับการไปกราบไว้บรรพบุรุษในสไตล์จีนแบบที่เคย ไหนจะร้อน ไหนจะฝุ่น หรืออาจจะกลับมาด้วยอาการท้องเสียเพราะนั่งกินข้าวกลางแดดจ้าและฝุ่นควันมากมาย จะน่าสนใจแค่ไหนที่การไปไหว้บรรพบุรุษปีละครั้ง จะเป็นอะไรที่น่าจดจำ และเป็น Event ที่ลูกหลายรอคอยให้ถึงเร็วๆ

พศิกา ชุมภู นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้นำเสนอรูปแบบและสถาปัตยกรรมเพื่อการระลึกถึงผู้ที่ล่วงลับได้อย่างน่าสนใจ ผ่านวิธีคิดแบบใหม่ ผสมผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าไปให้สะดวกและดึงดูดคนรุ่นใหม่มากขึ้น เราลองไปชมแนวคิดน่าสนใจนี้กันครับ

อนุสรณ์สถานสำหรับชาวไทยเชื้อสายจีน
The Place of Memory for Thai of Chinese Origin

อนุสรณ์สถานสำหรับชาวไทยเชื้อสายจีนที่ต้องการออกแบบให้มีผลต่อสภาวะอารมณ์ความรู้สึกและกระบวนการคิดของบุคคลผู้สูญเสีย ทั้งในด้านกายภาพและความหมายเชิงนามธรรมของพื้นที่ประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับความตายในพุทธศาสนาของคนไทยเชื้อสายจีน และพื้นที่ประกอบพิธีกรรมการระลึกถึงบุคคลผู้ล่วงลับ

อีกทั้งสามารถตอบสนองต่อสภาวะเปลี่ยนผ่าน ทางด้านอารมณ์ความรู้สึกของผู้ใช้พื้นที่ตั้งแต่สภาวะของการสูญเสียสู่สภาวะของการยอมรับความจริง สื่อความหมายในแง่ของปรัชญาความเชื่อ เกี่ยวกับพิธีกรรมของคนไทยเชื้อสายจีน โดยการกลับระลึกนั้นเป็นรูปแบบการระลึกรูปแบบใหม่ที่สามารถเข้าไปพูดคุยเรื่องราวความทรงจำในอดีตกับผู้เสียชีวิตได้

จึงเกิดเป็นพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงบุคคลเสมือน เพื่อให้เกิดบรรยากาศในการรับรู้การตอบสนองต่อการสัมผัสเหมือนเป็นขั้นสุดท้ายของความคิดถึงคือการได้เจอและพูดคุยกับบุคคลนั้นจริง ๆ อีกทั้งพื้นที่ในโครงการทั้งหมดต้องการใช้คนใช้งานโครงการเข้าใจถึงชีวิตและความตายผ่านงานสถาปัตยกรรมอีกด้วย ดังนั้นจึงทำให้เกิดพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมที่แบ่งออกเป็นหลายส่วนและพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมที่เป็นกิจกรรมรูปแบบใหม่ที่ตอบสนองต่อการกลับมาระลึกให้ได้มากที่สุด โดยเริ่มจาก

1.) ห้องเชงเม้งส่วนตัว ออกแบบให้มีการใช้งานทั้งบนดินและใต้ดิน เพราะด้านบนต้องการเชื่อมโยงกับธรรมชาติ บรรยากาศต่างๆ ส่วนใต้ดินต้องการเห็นบรรยากาศการเชงเม้งของครอบครัวต่างๆเข้าด้วยกันโดยมีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการและเอื้ออำนวยความสะดวกสูงสุด 

2.) ห้องจัดเก็บอัฐิ ออกแบบโดยแบ่งเป็น ๓ กลุ่มผู้ใช้งานเพื่อกระจายรูปแบบความต้องการและการใช้งานที่ต่างกันของแต่ละครอบครัว อกทั้งเป็นการจัดเก็บที่ใต้ดินโดยมีแนวคิดที่สอดคล้องประเพณีเดิมคือการฝังศพใต้ดิน เพื่อส่งเสริมพลังชี่ของดวงวิญญาณและตระกูล

3. ) ห้องพูดคุยผ่านดิจิทัล ออกแบบเพื่อให้เกิดบรรยากาศในการรับรู้การตอบสนองการสัมผัสเหมือนเป็นขั้นสุดท้ายของความคิดถึงคือการได้เจอและพูดคุยกับบุคคลนั้นโดยใช้โครงสร้างแท่งที่แสดงใบหน้าบุคคล ซึ่งการแสดงผลนั้นจะมีทั้งเห็นแบบค่อยๆเห็นจนเห็นชัดและหายไปในที่สุด โดยการออกแบบพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมนั้นก็เป็นการค่อยๆเปิดเผยและเชื่อมต่อจากใต้ดินไปยังสวรรค์ที่เป็นจิตผ่านงานสถาปัตยกรรม  

4.) ห้องนั่งสมาธิ ออกแบบให้เป็นจุดเชื่อมต่อหลังจากการพูดคุยเพื่อแสดงถึงการไม่ยึดติดและแสดงการจากลาของโลกความเป็นจริงที่ห้องนั่งสมาธิส่งต่อไปยังห้องแสดงปรากฎการณ์  

5.) ห้องแสดงปรากฎการณ์ ออกแบบให้มีการแสดงปรากฏการณ์การจากไปของมวลบุคคลที่แปลงเป็นอัฐิ ด้วยวิธีการใช้กล้องตรวจจับความร้อนภายในเตาเผาจริงและมีการแสดงผลไปยังการเคลื่อนไหวและจำนวนของดวงไฟไปตามความเข้มของแสงที่ลดน้อยลงไปตามกับมวลของบุคคลที่เผานั้น เพื่อแสดงถึงการเปลี่ยนของการมีอยู่และหายไปอย่างสวยงาม

6.) ศาลาสวดอภิธธรรม ออกแบบให้ทุกห้องเห็นเมรุเผาศพ และพื้นที่สีเขียว เพื่อสื่อถึงการจากไปเพื่อเข้าสู่ธรรมชาติ และความเป็นจริงขิงการจากลา   

7.) เมรุเผาศพ ออกแบบให้เป็นจุดสายตาของทุกมุมมองในโครงการเพื่อให้ผู้ใช้งานตระหนักถึงความตายที่แท้จริงและการจากลา อีกทั้งออกแบบโดยให้กลืนจากดินไปสู้ท้องฟ้า เพื่อสื่อถึงการส่งผู้ล่วงลับไปยังสวรรค์    ดังนั้นจากส่วนต่างๆที่ได้ออกแบบแต่ละส่วนจึงมีเป้าหมายเดียวกันคือต้องการ เอื้ออำนวยความสะดวกสูงสุดให้กับผู้ใช้งานและทำความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตหลังความตายและการสูญเสียผ่านงานสถาปัตยกรรม

คลิปอธิบายงานจากผู้ออกแบบ

 

นักศึกษาผู้ออกแบบ

ชื่อ-นามสกุล : พศิกา ชุมภู (Pasika Chumpoo)
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
E-MAIL : gabgab.gab@hotmail.com
ชื่องาน : อนุสรณ์สถานสำหรับชาวไทยเชื้อสายจีน The Place of Memory for Thai of Chinese Origin