การใช้งานพื้นที่สาธารณะในเมืองของผู้คนในแต่ละซีกโลกนั้นล้วนแตกต่างกันไปตามสภาพอากาศ ในเมืองหนาวแสงแดดและความร้อนเป็นสิ่งพิเศษที่สร้างความสุขและความอบอุ่น ผู้คนนิยมใช้พื้นที่สาธารณะกลางแจ้ง การออกแบบพื้นที่สาธารณะและสถาปัตยกรรมเน้นให้ผู้คนได้สัมผัสแสงแดดมากกว่าร่มเงา
ต่างกันกับเมืองร้อนอย่างประเทศไทย ที่อุณหภูมิสูงและมีแดดแรงตลอดทั้งปี แสงแดดเป็นสิ่งที่ผู้คนส่วนมากหลีกเลี่ยงที่จะสัมผัส ร่มเงาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ปกป้องผู้คนจากแสงแดดและความร้อน รูปแบบของกิจกรรมกลางแจ้งจึงแปรผันไปตามรูปร่างของเงาที่เกิดขึ้นตามช่วงเวลาและบริบท
ถ้าร่มเงาเป็นสิ่งจำเป็นต่อการใช้พื้นที่ในเมืองร้อน เป็นไปได้ไหมที่การก่อรูปสถาปัตยกรรมและที่ว่างสาธารณะจะคำนึงถึงร่มเงาที่ให้กับเมือง เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี ลดความร้อนสะสมสร้างปฏิสัมพันธ์และสมดุลของการใช้ชีวิตของคนเมืองทั้งภายในและนอกอาคาร
พื้นที่ในร่มเงา
A space in the shade
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทดลองก่อรูปสถาปัตยกรรมจากสิ่งที่จับต้องไม่ได้คือ “ร่มเงา” มีการศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับร่มเงา การลงพื้นที่ศึกษารวบรวมลักษณะทางด้านต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับร่มเงา ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่าง ๆทั้งความสัมพันธ์ของการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์กับร่มเงา ความสัมพันธ์ของแสงแดดและการทำกิจกรรม ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมกับspaceและช่วงเวลา รวมถึงบริบท เพื่อทดลองสร้างกระบววนการออกแบบสถาปัตยกรรมเชิงทดลองในอีกทางเลือกหนึ่ง
การวิเคราะห์และสังเคราะห์ได้สรุปลักษณะเฉพาะของพื้นที่ที่เกิดขึ้นจากร่มเงาและนำเอามาเป็นเครื่องมือในการออกแบบทดลอง 4 ประการได้แก่
1. พื้นที่ที่เกิดขึ้นช่วงระยะเวลาหนึ่ง
2. พื้นที่ส่วนขยายของกิจกรรม
3. พื้นที่ที่ปกป้องผู้ใช้งานจากสภาพแวดล้อม
4. แสดงและกำหนดขอบเขตของกิจกรรม
และนำไปสู่แนวความคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมเชิงทดลอง การสร้างโปรแกรมพื้นที่ใช้สอยของโครงการ ที่ประกอบด้วยกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์กับแสงแดดมากที่สุดไปถึงน้อยที่สุดและสร้างการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างที่ตั้ง2ที่ ได้แก่ ที่ตั้งที่มีร่มเงาและปัจจัยต่าง ๆของบริบทเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมาก และที่ตั้งที่แทบจะไม่มีร่มเงาจากบริบทเข้ามาเกี่ยวข้องเลย
ผลที่ได้จากการทดลองทำให้เกิดงานสถาปัตยกรรมเชิงทดลองที่เกิดจากที่ว่างของร่มเงา แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของ ร่มเงา ที่ว่าง เวลา กิจกรรม และการก่อรูปที่ต่างกันซึ่งร่มเงา ที่ตั้ง และบริบทเป็นตัวกำหนดรูปแบบทางกายภาพที่สร้างมันขึ้นมา
เราได้เรียนรู้อะไรจากพื้นที่สาธารณะบ้าง การเคลื่อนไหว การสัญจรทำกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้คน ถ้าร่มเงาเป็นสิ่งจำเป็นต่อการใช้พื้นที่ในเมืองร้อน เป็นไปได้ไหมที่การก่อรูปสถาปัตยกรรมและที่ว่างสาธารณะจะคำนึงถึงร่มเงาที่ให้กับเมือง เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี ลดความร้อนสะสมสร้างปฏิสัมพันธ์และสมดุลของการใช้ชีวิตของคนเมืองทั้งภายในและนอกอาคาร
จากการศึกษาและสำรวจได้สรุปลักษณะพื้นที่ที่เกิดขึ้นว่ามีลักษณะที่เป็นประเด็นสำคัญได้ 4 ประเด็นคือ
1.พื้นที่ที่เกิดขึ้นช่วงระยะเวลาหนึ่ง
2.พื้นที่ส่วนขยายของกิจกรรม
3.พื้นที่ที่ปกป้องผู้ใช้งานจากสภาพแวดล้อม
4.เป็นสิ่งที่แสดง/กำหนดขอบเขตของกิจกรรม
ซึ่งนำไปสู่แนวความคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมเชิงทดลองในการสร้างโปรแกรมพื้นที่ใช้สอยของโครงการที่ประกอบด้วยกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์กับแสงแดดมากที่สุดไปถึงน้อยที่สุดเนื่องจากทิศทางแสง-ฤดูต่าง ๆในรอบวันและรอบปี ส่งผลต่อร่มเงาที่จะเกิดขึ้น โปรแกรมของโครงการจึงมีกิจกรรมหลักที่ประกอบไปด้วยกิจกรรม ซึ่งมีปฎิสัมพันธ์กับแสงและร่มเงาในเวลาต่าง ๆ
เกิดเป็น Creative Community พื้นที่สาธารณะที่เป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ ที่จัดเตรียมทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ พื้นที่การเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ และ พื้นที่ที่สร้างโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์
ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่กิจกรรมทั้งหมด 4 ส่วน
- พื้นที่ปลูกผัก (vegetable garden)
- พื้นที่ทำงานเชิงปฏิบัติการ (workshop)
- ห้องสมุด (library)
- พื้นที่จัดแสดงงาน (gallery)
และสร้างการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง 2 ที่ตั้งได้แก่ ที่ตั้งที่มีร่มเงาและปัจจัยต่าง ๆของบริบทเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมาก และที่ตั้งที่แทบจะไม่มีร่มเงาจากบริบทเข้ามาเกี่ยวข้อง
การเลือกที่ตั้งโครงการ เนื่องจากคำถามเกี่ยวกับการก่อรูปสถาปัตยกรรมด้วยร่มเงา ส่งผลให้เกิดเป็นการก่อรูปขึ้นด้วยใต้เงื่อนไขที่แตกต่างกันภายใต้โปรแกรมเดียวกัน
1.ที่ตั้งมีร่มเงาจากบริบทรอบข้างเข้ามามีผลน้อยมาก
2.ที่ตั้งที่มีร่มเงาอยู่เดิมหรือมีร่มเงาจากบริบทรอบข้าง
Perspective Site A
Site analysis and Shading (equinox/summer/winter) เวลา 8.00-16.00 น.
ส่งผลต่อการจัดวางพื้นที่ต่าง ๆภายในโครงการ ให้กิจกรรมที่ต้องการแสงแดดตลอดทั้งวัน หรือ
ต้องการแสงสว่างที่สม่ำเสมอสามารถได้รับแสงอย่างที่ควรจะได้รับ และสอดคล้องกับบริบทและที่ตั้ง
Diagram (Isometric) แผนภาพแสดง ความสัมพันธ์ระหว่าง space กับ enclosure
แสดงการ design open space โดยทำการ reduce element : พื้นที่ต่าง ๆจะใช้structureแบบเดียวกัน ส่วนที่ต้องการ open space ก็จะสามารถลดองค์ประกอบลงให้เหลือเพียงstructure เมื่อเวลาเปลี่ยนไป space นั้นจะปรากฏขึ้นและเกิดกิจกรรมขึ้นภายใต้ร่มเงาที่ปรากฎ
ผังพื้นชั้น 1 แสดง ตำแหน่งของ function และ enclosure ที่แปรผันตาม open space ที่เกิดขึ้น โดยจะเห็นได้จากช่องเปิดของแต่ละอาคารที่เลือกใช้วัสดุกระจก ต่างเปิดเข้าหาพื้นที่ open space ระหว่างอาคารส่วนฟังก์ชั่นการใช้งานที่ต้องงการการปิด อย่างห้องน้ำ หรือservice room จะถูกวางไว้อีกด้านเพื่อสร้างร่มเงาให้กับพื้นที่อีกด้าน
Plan diagram แสดง open space และการใช้พื้นที่เมื่อร่มเงาปรากฎจากแสงแดดในช่วงเช้า
Plan diagram แสดง open space และการใช้พื้นที่เมื่อร่มเงาปรากฎจากแสงแดดในช่วงเที่ยง
Plan diagram แสดง open space และการใช้พื้นที่เมื่อร่มเงาปรากฎจากแสงแดดในช่วงบ่าย
Perspective Site B
Site B – Site analysis and Shading (equinox/summer/winter) เวลา 8.00-16.00 น.
ส่งผลต่อการจัดวางโซนพื้นที่ใช้สอยภายในที่ตั้ง B เนื่องจากร่มเงาจากบริบบทรอบข้างทอดลงมาในพื้นที่ตลอดทั้งวัน ให้ต้องเริ่มจัดวางโซนจากบนลงล่างจากฟังก์ชั่นที่มีปฏิสัมพันธ์กับแสงแดดมากที่สุดไปน้อยที่สุด
Diagram (Isometric) แผนภาพแสดง ความสัมพันธ์ระหว่าง space กับ enclosure
แสดงการ design open space โดยทำการจัดวางพื้นที่ของกิจกรรมแต่ละชั้นให้มีการลดหลั่น เหลื่อมกันไปมา เพื่อสร้างร่มเงาให้กับ space ด้านล่าง
ผังพื้นชั้น ground มีการจัดวางผังอาคารให้ความสำคัญกับพื้นที่ร่มเงาที่จะปรากฏขึ้นในช่วงเวลาต่าง ๆในชั้นGround จัดวางพื้นที่ core ลิฟต์บริการกับserviceทั้งสองส่วนและห้องserviceต่าง ๆอยู่กลางอาคารเพื่อเปิดให้พื้นที่ใช้สอยต่าง ๆได้เปิดออกสู่ภายนอก
Diagram(iso/section) : time-space-activity แสดง space ที่ปรากฎขึ้นที่ด้านหน้าของอาคารในช่วง 9.00/12.00/15.00
Diagram(iso/section) : time-space-activity แสดง space ที่ปรากฎขึ้นที่ด้านข้างของอาคารในช่วง 9.00/12.00/15.00
Diagram(iso/section) : time-space-activity แสดง space ที่ปรากฎขึ้นที่ด้านหลังของอาคารในช่วง 9.00/12.00/15.00
ที่ตั้ง A จัดวางให้มีพื้นที่ระหว่างอาคารเพิ่มขึ้น จากการลด enclosure ในพื้นที่ทำกิจกรรมของส่วน work shop ที่ต้องการพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมแบบ outdoor ทำให้เกิดพื้นที่ ระหว่างอาคารที่เป็น open space ซึ่ง enclosure ที่คงอยู่จะเป็นเพียงโครงสร้างเสา/คาน ที่บ่งบอกถึงการเคยมีอยู่ของ element นั้น ๆ ทำให้เกิดพื้นที่กิจกรรมขึ้นในช่วงเวลาต่าง ๆในลักษณะพื้นที่เปิดโล่ง (open space)
ที่ตั้ง B จัดวางผังอาคารให้ความสำคัญกับพื้นที่ร่มเงาที่จะปรากฏขึ้นในช่วงเวลาต่าง ๆ
ในชั้นGround จัดวางพื้นที่ที่ต้องการ enclose มากอย่าง core ลิฟต์บริการกับserviceและห้องservice ต่าง ๆอยู่กลางอาคารเพื่อเปิดให้พื้นที่ใช้สอยต่าง ๆได้เปิดออกสู่ภายนอก ในตำแหน่งที่เหลื่อมกันไปมาเกิดopen space ที่ต่างออกไปคือเป็น พื้นที่ระเบียง แบบ semi-outdoor
สุดท้ายสถาปัตยกรรมเชิงทดลองที่เกิดขึ้น พบว่าที่ว่าง (space) ปรากฎขึ้นในช่วงเวลาต่าง ๆหรือพื้นที่ร่มเงาเมื่อนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการก่อรูปของสถาปัตยกรรม นั้นแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของพื้นที่ที่สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีขึ้นในการทำกิจกรรมระหว่างภายใน-ภายนอก และทำให้สถาปัตยกรรมมีการเชื่อมต่อถึงกันอย่างอิสระมากขึ้น
ชื่อโครงการ พื้นที่ในร่มเงา A space in the shade
ชื่อนักศึกษา นางสาวชมนาด ครุฑธะ
อีเมล kruttha.chom@gmail.com
ปีการศึกษา 2562 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร