OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

The Hidden บ้านที่ซ่อนตัวอยู่ภายใต้กำแพงขาว และทักทายผู้คนผ่านความเรียบง่ายของสถาปัตยกรรม

Location : Chiangmai, Thailand
Area : 450 Sqm.
Architecture & Interior Designer : INLY Studio
Landscape Designer : Littleforest Landscape & Construction Co., Ltd
Photographer : Panoramic Studio

เมื่อโจทย์หลักของการออกแบบคือการสร้าง “พื้นที่ที่มีความเป็นส่วนตัวสูง” การตีกรอบรอบบริเวณบ้านด้วยเส้นสายของสถาปัตยกรรม สู่การเลือกที่จะปิดบังและซ่อนเร้นตัวตนของผู้อยู่อาศัย จึงได้เริ่มขึ้น ณ บ้าน The Hidden บ้านขนาดพอดีบนพื้นที่ประมาณ 100 ตารางวา ของ 2 ผู้อยู่อาศัยต่างแดนที่โยกย้ายตัวตนเข้ามาอยู่ในตัวเมืองเชียงใหม่ พร้อมกับการส่งมอบโจทย์ให้ทีมสถาปนิกผู้ออกแบบจาก INLY Studio ได้นำไปรังสรรค์คิดต่อจนเกิดเป็นพื้นที่ที่ผู้อยู่อาศัยสามารถใช้งานได้อย่างไม่รู้สึกขัดเขินบนสเปซที่ยังแฝงไปด้วย Character ของพวกเขาได้อย่างชัดเจน

ออกแบบตัวตนให้ซ่อนเร้น และสร้างจุดเด่นให้สิ่งที่ซ่อนอยู่

ด้วยประเด็นในเรื่องของบริบทบนพื้นที่แปลกใหม่ที่ผู้อยู่อาศัยยังไม่คุ้นชินจากการโยกย้ายถิ่นฐาน และผนวกกับไลฟ์สไตล์ที่ชอบเข้าสังคมสังสรรค์ รั้วของบ้านจึงไม่เพียงแต่เป็นการตีกรอบรอบอาณาเขต แต่ยังถูกขยายความให้เป็นกำแพงที่ซ่อนความเป็นส่วนตัว เพื่ออำพรางสายตาจากบุคคลภายนอก ด้วยการออกแบบ Double Wall กำแพงคอนกรีตสูง ที่ช่วยพรางพื้นที่ภายในบ้านทั้ง 2 ชั้น ขณะเดียวกันก็ช่วยซ่อนเร้นเสียงจากกิจกรรมสังสรรค์ภายในบ้าน ไม่ให้เสียงดังรบกวนความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัยโดยรอบได้ในคราวเดียวกัน

อีกทั้งสถาปนิกยังได้นำเสนอจุดเด่นภายในบ้านผ่านการออกแบบช่องเปิดต่างๆ ที่แฝงไปกับเส้นสายของกรอบรั้วกำแพง โดยที่ช่องเปิดเหล่านั้น ไม่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกที่เป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัย และกลับกันที่ยังช่วยเปิดมุมมองให้ผู้อยู่อาศัยภายในสามารถเห็นทิวทัศน์ภายนอกรอบตัวบ้านได้ด้วยวิธีคิดงานของผมคือนำตัวเองไปยืนอยู่กลางที่ดิน และมองไปรอบๆ จนเกิดเป็นคอนเซ็ปต์เพิ่มเข้ามาว่า เราอยากจะออกแบบภายในบ้านให้สามารถมองเห็นได้ทุกจุด เพื่อเปิดมุมมองและทำให้บ้านดูโปร่ง ” สถาปนิกกล่าว

เพราะสิ่งที่ถูกซ่อนอยู่เบื้องหลังกำแพงขาวคือตัวตนของผู้อยู่อาศัย สถาปนิกผู้ออกแบบจึงบรรจงกับคอนเซ็ปต์ภายในตัวบ้านเป็นพิเศษ ด้วยการออกแบบสเปซให้เหมาะสมกับ Character และไลฟ์สไตล์ของเจ้าของบ้าน ตั้งแต่การออกแบบส่วนของ Living Room ให้พร้อมต่อการสร้างกิจกรรมสังสรร์ในรูปแบบต่างๆ ส่วนนี้จึงได้ถูกออกแบบให้เป็น Pool Villa ที่อยู่ภายใต้ร่มเงาของชายคา ซึ่งทำให้สเปซส่วนนี้สามารถใช้งานได้ตลอดทั้งวันโดยไม่รู้สึกร้อน พร้อมกับแต่งแต้มรอบบริเวณสระน้ำให้ดูสนุกขึ้นด้วยพื้นหินเทอรัซโซ่สีชมพู ที่ยังเป็นสีที่สื่อถึงความชอบและ Character ของเจ้าของบ้านได้เป็นอย่างดี

           ความสนุกที่สามารถเริ่มได้จากมุมมองของการใช้งานและการเปลี่ยนผ่านสเปซ

อยู่อาศัยเน้นการใช้ชีวิตและสร้างกิจกรรมสังสรรค์บนสเปซห้องนั่งเล่นเสียส่วนใหญ่ สถาปนิกจึงได้เสริมส่วนห้องนั่งเล่นรองเพิ่มเข้าไป ด้วยการออกแบบพื้นที่ต่างระดับที่ซ่อนลูกเล่นของการขยายมุมมองระหว่างการใช้งาน หรือการเปลี่ยนผ่านสเปซ หากพูดให้เข้าใจกันง่ายๆ ก็คือส่วนของห้องนั่งเล่นรองนั้น มีระดับของสเปซที่ต่ำกว่าสเปซหลัก จึงทำให้หากใช้งานอยู่ในสเปซนั้น มุมมองของทิวทัศน์แนวราบจะถูกเปลี่ยนเป็น Warm eyes view หรือหากมองลงมาจากสเปซหลักหรือจากชั้น 2 ก็จะเห็นสเปซต่างๆ เป็น Bird eyes view ซึ่งลูกเล่นของการขยายมุมมองที่ได้กล่าวมานี้ก็ล้วนแต่เป็นหนึ่งในความสนุกที่ผู้ออกแบบต้องการมอบให้กับผู้ใช้งานระหว่างการเปลี่ยนผ่านของสเปซภายในบ้าน

สถาปนิกยังได้กล่าวถึงสเปซส่วนของ Living roomไว้อย่างขบขันด้วยว่า “เดิมเราจะเคยเห็นสวนหรือทิวทัศน์เป็นเพียงแนวระนาบทั่วไป ผมเลยกลับมาคิดว่าแล้วถ้าเราลองมองในมุม Warm eyes view ได้บ้าง หรือมองในมุม Bird eyes view บ้างจะเป็นยังไง และผมคิดว่าสเปซส่วน Living room นี้หากมองเล่นๆ ก็ดูคล้ายกับตู้ปลาเหมือนกันนะ (หัวเราะ) ซึ่งก็ดูเป็นสเปซที่มีความหลากหลายและทำให้รู้สึกสนุกดีเหมือนกัน”

กลบความทึบของกำแพงด้วยความโปร่ง 

ส่วนของชั้น 2 ประกอบไปด้วยห้องทำงาน, ห้องน้ำหลัก และห้องนอนของผู้อยู่อาศัย ที่แน่นอนว่าสเปซส่วนนี้ค่อนข้างมีความแข็งแรงสำหรับความเป็นส่วนตัวอยู่แล้ว ด้วยการถูกล้อมรอบด้วยกรอบกำแพงขาว ผู้ออกแบบจึงได้เน้นใช้กระจกแทนการปิดกั้นเป็นผนัง เพื่อให้ความรู้สึกโปร่งโล่งกลบความทึบของกำแพง และด้วยที่ตัวบ้านได้ถูก Set Back จากแนวรั้วกำแพงเข้าไป 4 เมตร จึงทำให้การจัดวางพื้นที่รอบตัวบ้านล้อไปกับการใช้งานตามคอนเซ็ปต์แรกเริ่มที่ต้องการให้ผู้อยู่อาศัยสามารถมองเห็นทุกมุมของบ้านได้อย่างลงตัว

ต้นไม้จากสวนชั้น 1 ที่ค่อยๆ เติบใหญ่ขึ้นมาทักทายก็ยังช่วยมอบความโปร่งสบายและความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติให้กับผู้อยู่อาศัย โดยมีรั้วกำแพงสีขาวเป็น Background และมีแสงธรรมชาติเป็นตัวสร้างความสุนทรียะของแสงเงา เปรียบดั่งงานจิตกรรมบนฝาผนังที่เชื่อว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกอภิรมย์และผ่อนคลายได้ไม่น้อยผมไม่อยากให้บ้านดูเป็นกล่องมาก ผมเลยลบมุมให้กับตัวบ้าน และผมไม่อยากให้บ้านดูฝรั่งจนเกินไปจึงเติมดีเทลส่วนของชายคาด้วยการวัสดุไม้ เพื่อให้บ้านดูอุ่นขึ้นอีกสักหน่อย ” สถาปนิกกล่าว

เส้นสายความเรียบง่ายของบ้าน The Hidden ถูกออกแบบและกลั่นกรองความคิดมาแล้วว่ารูปทรงเรขาคณิตหรือฟอร์มของอาคารอาจไม่ได้ถูกบรรจบกันด้วยมุมใดมุมหนึ่งโดยเสมอไป แต่ยังเป็นการเปิดประเด็นให้ชวนสงสัย ซึ่งนำไปสู่การคิดต่อที่ชวนให้ผู้อาศัยได้จินตนาการไปอย่างไม่รู้จบ อีกทั้งส่วนเค้าโค้งต่างๆ ของตัวบ้านก็ยังมีส่วนในการซ่อนความเป็นส่วนตัวให้กับผู้อยู่อาศัยจากการออกแบบช่องเปิดบริเวณชั้น 2 ได้พอดิบพอดี ที่ทำให้บ้านหลังนี้เป็นบ้านที่ซ่อนตัวตนที่เต็มไปด้วย Character ที่ชัดเจนไว้ภายใต้เส้นสายของกำแพงขาวและความเรียบง่ายของสถาปัตยกรรมได้อย่างแท้จริง