ถ้าโลกของเราเต็มไปด้วยปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เยอะเกินไปล่ะก็..คงไม่ดีแน่
ปัจจุบันโลกต้องเผชิญกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน ซึ่งเกิดจากการที่มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นในชั้นบรรยากาศอย่างรวดเร็ว โดย 1 ใ น 3 ของสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกมาจากการผลิตวัสดุสำหรับการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน จึงทำให้เหล่าสถาปนิกทั่วโลกเห็นถึงความสำคัญของปัญหานี้และคิดค้นวิธีการสร้าง Carbon-neutral Building หรืออาคารที่ปราศจากคาร์บอนขึ้นมา
Carbon-neutral Building คืออาคารที่มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกขั้นตอนตั้งแต่ระหว่างการก่อสร้างในการใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นพลังงานหมุนเวียนและการกักเก็บคาร์บอนมาใช้แทน รวมไปถึงฟังก์ชันต่าง ๆ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานภายในอาคารให้เกิดการปล่อยคาร์บอนได้น้อยที่สุด และนี่คือผลงาน 10 โปรเจ็กต์สถาปัตยกรรมที่มี แนวคิดในการออกแบบอาคารที่ปราศจากคาร์บอนประจำปี 2020 ที่น่าสนใจ
1. Hotel Bauhofstrasse, Germany by Von M.
Hotel Bauhofstrasse โรงแรมที่สร้างด้วย wooden modules เป็นอาคารปลอดคาร์บอนแห่งแรกในเมือง Ludwigsburg ประเทศเยอรมนีถูกออกแบบโดย Von M studio ลักษณะภายนอกอาคารมีสีขาวเด่นตั้งแต่หลังคาไปถึงตัวอาคารราวกับมีหิมะตกลงมาปกคลุมทั่วตัวอาคารไว้ ภายในอาคารพื้นผิวคอนกรีตและแผ่นไม้เคลือบไม้ลามิเนตถูกปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้ทาสีเพื่อลดการเกิดคาร์บอน ถึงแม้ว่าโครงสร้างของอาคารจะทำจากคอนกรีตแต่ผู้ออกแบบก็เลือกที่จะทำงานร่วมกับ wooden modules เป็นหลักในการสร้างโรงแรมให้เป็นอาคารที่ยั่งยืนมากขึ้น ทาง Von M ได้กล่าวไว้ว่า “โดยรวมแล้วมีการใช้ไม้ 440 ลูกบาศก์เมตรดังนั้นจึงสามารถสกัดผ่านการจัดเก็บและทดแทนคาร์บอนไดออกไซด์ได้ทั้งหมด 880 ตันอย่างถาวร”
2. The Floating Office Rotterdam, Holland by Powerhouse
Floating Office หรือสำนักงานลอยน้ำถูกออกแบบโดย Powerhouse มีที่ตั้งอยู่บนน่านน้ำของแม่น้ำ Maas ในเมือง Rotterdam ประเทศฮอลแลนด์หรือที่เรารู้จักกันในชื่อเนเธอร์แลนด์ อาคารสำนักงานหลังนี้ถูกสร้างขึ้นจากไม้ซึ่งเป็นวัสดุที่มีการปล่อยคาร์บอนน้อยที่สุด โดยภายนอกอาคารจะโดดเด่นด้วยหลังคาแหลมยื่นออกมาขนาดใหญ่ซึ่งจะเรียงรายไปด้วยแผงโซลาร์เซลล์ด้านหนึ่ง ทั้งยังมีพืชพันธุ์ช่วยปกคลุมอีกด้านหนึ่งและมีระบบแลกเปลี่ยนความร้อนแบบใช้น้ำช่วยทำให้อาคารมีความเย็นเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ Floating Office ยังได้รับการยกย่องให้เป็นตัวอย่างของ “การออกแบบสำนักงานที่ทนต่อสภาพอากาศ”3. Paradise, UK by Feilden Clegg Bradley Studios
Paradise เป็นสำนักงานไม้เคลือบเพื่อให้สอดคล้องกับพันธะของ Architects Declare โดยตัวอาคารมีความสูงถึงหกชั้นถูกออกแบบโดย Feilden Clegg Bradley Studios สำนักงานแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ Old Paradise Street ข้างทางรถไฟในเมือง Vauxhall กรุงลอนดอน โครงสร้างของอาคารจะเป็นการผสมผสานระหว่างแผ่นพื้น แกนไม้ลามิเนต (CLT) คานไม้ลามิเนต (glulam) และยังมีคานเหล็กรองรับบนฐานคอนกรีตบางส่วน ทางสถาปนิกได้คำนวณแล้วว่า “คาร์บอนที่ถูกกักเก็บไว้ในท่อนไม้ประกอบไปด้วยการปล่อยคาร์บอนที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการก่อสร้างและ 60 ปีแรกของการดำเนินการของอาคาร” จึงทำให้สำนักงานแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งอาคารที่ปราศจากคาร์บอน
4. Powerhouse Telemark, Norway by Snøhetta
Snøhetta ได้สร้างสำนักงาน Powerhouse Telemark ที่ปราศจากคาร์บอนในเมือง Porsgrunn ประเทศนอร์เวย์ ลักษณะของอาคารเป็นรูปทรงเอียงมีความสูงถึง 11 ชั้น ภายนอกมีฉนวนกันความร้อนสูงถูกหุ้มด้วยแผ่นไม้ผสมกับที่บังแดดและด้านบนอาคารยังมีหลังคาไฟฟ้าที่ถูกปกคุลมไปด้วยแผงโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่ที่หันไปทางทิศใต้ซึ่งจะสามารถสร้างพลังงานได้มากขึ้น โดยตัวโครงสร้างของอาคารจะเป็น”คอนกรีตเพื่อสิ่งแวดล้อม”ซึ่งเป็นคอนกรีตที่ใช้พลังงานน้อยแถมยังผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่าคอนกรีตแบบดั้งเดิม นอกจากนี้ตัวอาคารยังได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินทางสภาพอากาศและมีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอ “แบบจำลองที่ยั่งยืนสำหรับพื้นที่ทำงานในอนาคต”5. A-Block Building Expansion, Canada by Dialog
A-Block Building Expansion เป็นอาคารการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ทำจากไม้ลามิเนตที่มีความสูง 6 ชั้นอยู่ภายใน Centennial College of Applied Arts and Technology ในเมือง Toronto ประเทศแคนาดา เป็นผลงานการออกแบบของบริษัท Dialog และ Ontario ที่มีแนวคิดการอ้างอิงถึงธรรมชาติและการออกแบบจากชนพื้นเมืองหรือที่เรียกว่า First Nations เป็นกุญแจสำคัญของโครงการ โดยอาคารหลังนี้สร้างด้วยไม้ลามิเนตแบบไขว้ (CLT) ซึ่งเป็น Engineered Wood ที่ใช้ไม้จากท้องถิ่นของประเทศแคนาดา และนอกจากนี้ยังมีแผงโซลาร์เซลล์บนชั้นดาดฟ้าของตัวอาคารเพื่อผลิตพลังงานช่วยชดเชยการปล่อยคาร์บอนประจำปี6. Passivhaus council housing, UK, by Mikhail Riches
Passivhaus เป็นโครงการที่อยู่อาศัยของสภาเทศบาลเมือง York ในสหราชอาณาจักร โครงการนี้ได้รับการพัฒนาโดย Mikhail Riches ที่มีเป้าหมายในการจัดหาบ้านราคาประหยัด 600 หลังพร้อมค่าไฟที่ต่ำเพื่อส่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัยใช้ชีวิตแบบลดคาร์บอน ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้จากการออกแบบที่ประหยัดพลังงานและมีการใช้เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนควบคู่ไปกับการจัดหาวิธีการขนส่งที่ยั่งยืนพร้อมทั้งจัดสรรพื้นที่สำหรับผู้อยู่อาศัยเพื่อปลูกอาหารของตนเอง โดยภายในโครงการจะมีการใช้วัสดุที่เรียบง่ายอย่างอิฐและกระเบื้อง นอกจากนั้นยังมีภูมิทัศน์โดยรอบเป็นพื้นที่สีเขียวกึ่งส่วนตัวและสาธารณะเพื่อส่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัยภายในโครงการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันมากขึ้น
7. Flat House, UK โดย Practice Architecture
Flat House บ้านที่ไม่มีคาร์บอนและใช้พืชเป็นวัสดุในการก่อสร้าง การออกแบบในครั้งนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง Practice Architecture และเจ้าของ Margent Farm ซึ่งเป็นสถานที่ทำการเกษตรขนาด 53 เอเคอร์ในชนบทของเมือง Cambridgeshire ประเทศอังกฤษ บ้านหลังนี้เป็นโครงการแรกของทาง Practice Architecture ที่นำส่วนผสมของ hemp และปูนขาวมาเป็นวัสดุในการออกแบบและพัฒนาให้เป็นระบบแผงสำเร็จรูป โดยการนำ hempcrete สำเร็จรูปมาใช้เป็นวัสดุในการก่อสร้างบ้านนั้นสามารถช่วยกักเก็บคาร์บอนได้และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบ
8. ส่วนขยายโรงแรม GSH เดนมาร์กโดย 3XN
Hotel GSH ตั้งอยู่บนเกาะ Bornholm ของประเทศเดนมาร์ก อาคารนี้เป็นการออกแบบของ Architecture studio 3XN ที่มีเป้าหมายในการก่อสร้างส่วนขยายของอาคารให้เป็นอาคารคาร์บอนลบหรือที่เรียกว่าสภาพอากาศเป็นบวก โดยตัวอาคารได้รับการออกแบบมาเพื่อดูดซับคาร์บอนและให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้การสร้างอาคารจึงเลือกใช้โครงสร้างไม้เคลือบ CLT หุ้มด้วยแผ่นไม้เป็นวัสดุหลักเพื่อให้เกิดคาร์บอนน้อยที่สุด นอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์จากการออกแบบที่นำเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนมาใช้และมีการตกแต่งที่ทำจากวัสดุรีไซเคิลเพื่อให้ตัวอาคารเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยรอบมากยิ่งขึ้น
9. No Footprint House, คอสตาริกาโดย A-01
No Footprint House เป็นหนึ่งในโครงการที่มีเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของบ้านซึ่ง Architecture studio A-01 ออกแบบบ้านหลังนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นต้นแบบสำหรับบ้านที่ไม่มีคาร์บอนในอนาคตโดยโครงการนี้ตั้งอยู่ในหมู่บ้านเล็ก ๆ ของ Ojochal ในคอสตาริกา ด้วยสภาพอากาศในเขตร้อนชื้นจึงได้รับการออกแบบให้ผนังมีความลาดเอียงให้บังแสงอาทิตย์และปิดทับด้วยไม้ระแนงทรงเรียวที่มีลักษณะคล้ายบานเกล็ดไม้ขนาดใหญ่ซึ่งทำหน้าที่เปิดปิดเพื่อระบายอากาศทั้งยังช่วยควบคุมมุมมองในการมองเห็นจากภายนอกสร้างความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยให้กับผู้อยู่อาศัย10. CLT Passivhaus, US โดย Placetailor and Generate
CLT Passivhaus เป็นโครงการที่ Studio Generate ได้ร่วมมือกับนักพัฒนาท้องถิ่นอย่าง Placetailor มีแผนการสร้าง
อพาร์ทเมนท์ที่ปราศจากคาร์บอนในบอสตัน โดยการใช้วัสดุเป็นชุดชิ้นส่วนที่ทำมาจากไม้ลามิเนต (CLT) ซึ่งเป็น Engineered Wood ซึ่งวัสดุตัวนี้ใช้พลังงานน้อยกว่าวัสดุทั่วไปอย่างคอนกรีตและเหล็กทั้งยังมีเส้นใยไม้จำนวนมากในแผ่นไม้เคลือบ (CLT) ซึ่งทำหน้าที่เป็นอ่างคาร์บอนโดยการกักเก็บคาร์บอนไว้ในท่อนไม้และไม้จำนวนมากที่ใช้ในอาคารจะดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และห่อหุ้มตลอดอายุการใช้งานของอาคารอ้างอิงข้อมูลจาก Dezeen