OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

Sense of place ในความหมายของ กึ๋น – กศินร์ ศรศรี

ผมรู้จักกับพี่กึ๋น หรือ คุณกศินร์ ศรศรี แห่ง Volume Matrix เมื่อประมาณ 8 ปีที่แล้ว ครั้งนั้นได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยือนถึงที่บ้านของพี่กึ๋น

และได้พูดคุยเกี่ยวกับบ้านหลังนั้น ที่เป็นทั้งเจ้าของบ้านและผู้ออกแบบเอง … บทสนทนาวันนั้น เราพูดคุยกันเรื่องการออกแบบบ้าน จนวันนี้ ยังคงมีเค้ารางของความรู้สึกในบทสนทนา การก่อเกิดสถาปัตยกรรมของพี่กึ๋น ไม่ได้ใช้เพียงความคุ้นชิน หรือการทำไปตามหน้าที่ แต่ทั้งหมดเกิดขึ้นด้วยสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุดคือ “ความรู้สึก”

14152264_10155099785459908_1192330821_o

ครั้งนี้ แม้การสื่อสารอาจเปลี่ยนไป แต่ใจความนั้นเรายังสามารถสื่อสารกันได้เหมือนเคย… แม้ครั้งนี้เราเทคข้อความคุยกันสั้นๆ เรื่อง Sense of place

DSS : ตั้งแต่ตอนที่เรียนสถาปัตย์ ผมมักจะได้ยินคำหนึ่ง ที่ตอนนั้นเอง เราอาจไม่ค่อยเข้าใจความหมายของมันเท่าไรนัก นั่นก็คือคำว่า Sense of place จริงๆแล้วมันคืออะไร หรือในความคิดของพี่กึ๋น มันคืออะไรครับ

.

กศินร์ : Sense of place คำนี้พี่คิดว่ามันคือความหมายที่ลึกลงไป มากกว่าคำว่า Space (ที่ว่าง) ยกตัวอย่าง เช่น ใน “ที่ว่าง” มันจะมี “อารมณ์ ” ใน “อากาศ” มันจะมี “บรรยากาศ”และ “ชีวิต”จะทำให้อาคารนั้น มี “อารมณ์ความรู้สึก”

14087206_10155099785514908_335406271_o

“ที่ว่าง” มันจะมี “อารมณ์ “

ใน “อากาศ” มันจะมี “บรรยากาศ”

ขอยกตัวอย่างบ้านที่เราออกแบบ บางหลังจะมีความถ่อมตน เรียบง่าย – บางหลังเต็มไปด้วยความคิดสนุกสนาน เต็มไปด้วยความฝัน – บางหลังจะอบอวนไปด้วยความทรงจำในอดีต มีความนุ่มนวล นั้นก็ด้วยบุคคลิก บริบท และ “ชีวิต”ของเจ้าของบ้านแต่ละคนนั้นต่างกัน ซึ่งนั่นคือความงามของชีวิตและสถาปัตยกรรม

Architecture เป็นเพียงแค่…ผืนผ้าใบเรียบง่าย ที่รอให้มนุษย์ ได้เข้ามาแต่งเติม สีสันและรูปทรง และแสดงออกถึง “จิตวิญญาณ” ในตัวของมันออกมา

14087328_10155099785619908_832229213_o

DSS : หลักการในการทำงานบ้านแต่ละหลัง พี่กึ๋นเริ่มต้นและมีแนวคิดอย่างไรบ้าง

.

กศินร์ :  งานส่วนใหญ่ของที่บริษัทออกแบบ จะเป็นบ้านพักอาศัยเป็นส่วนมาก และพี่คิดว่าการทำงานออกแบบ ก็เหมือนกับการเดินทางที่ได้ผ่านไปพบเจอสถานที่ และผู้คนมากมาย ได้พบเห็น “ชีวิต” ความเป็นอยู่ที่หลากหลาย ทำให้ได้เข้าใจ ความหมายของ “ชีวิต” และ วิถีแห่งชีวิตมากขึ้น เวลาจะทำงานสักชิ้น พี่และทีมจึงเลิกที่จะค้นหารูปแบบ form หรือ mass ก่อน แต่จะเริ่มหันมาสนใจที่ความหมายของ “ชีวิต” ของผู้คน และผู้ใช้ architecture หรือเจ้าของบ้านนั้นๆ มากกว่ารูปแบบทางกายภาพของมัน

Not architecture for architecture But architecture for Life. Not only function for the user But spirit for the user.

14088751_10155099785469908_1690754144_n

นอกจากในแง่ของเจ้าของบ้าน“จิตวิญญาณ”ยังหมายถึงของทุกๆคน ที่เป็นผู้ที่ได้ร่วมกันสร้างงานชิ้นนั้นขึ้นมา ทั้งเจ้าของงาน ทั้งผู้ออกแบบ ทั้งผู้รับเหมา เหมือนมีลายเซ็นต์ มีเอกลักษณ์ หลักคิดที่แฝงอยู่ในงานชิ้้นนั้นๆ ฉะนั้น จึงปฏิเสธไม่ได้เลย ที่งานออกแบบสถาปัตยกรรมแต่ละชิ้น ส่วนหนึ่งของอาคาร จะมี “ความเชื่อ” และ “หลักคิด” ของผู้สร้างสรรค์งานชิ้นนั้นปะปนอยู่ด้วย ไม่มากก็น้อย ซึ่งผมคิดว่ามันเป็นสิ่งจำเป็นนะ เพราะลูกค้าทุกคนที่เดินเข้ามา และสนใจให้เราออกแบบให้ ต้องเชื่อและเห็นพ้องกับความคิดและแนวทางงานของเราอยู่แล้ว

 182540_10151531558259908_2019284929_n

ที่มาของแนวคิดในการออกแบบแต่ละหลัง จะมาจากการ พูดคุย ทำความเข้าใจ วิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัย และพยายามที่จะดึงเอา”จิตวิญญาณ” ของบ้านออกมาจากความเป็นจริงในบริบท ทั้งสภาพแวดล้อม และผู้คนที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น บ้านแต่ละหลังจึงมีรูปแบบเฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป สิ่งเหล่านั้นล่ะมั้ง ที่เรายึดถือมาตลอด และอาจอธิบายนิยามทั้งหมดของคำว่า Sense of place ได้เป็นอย่างดี

 

ขอขอบคุณ

คุณกศินร์ ศรศรี แห่ง Volume Matrix

โทร. 087-823-3757 อีเมล : volume.matrix@hotmail.com

ครั้งหน้าจะเป็นนักออกแบบคนไหน ที่จะมาตอบคำถามเกี่ยวกับการออกแบบอีก ติดตามกันต่อไปนะครับ