OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

Universal Design เพราะความใส่ใจคือหัวใจหลักของการออกแบบเพื่อส่วนรวม

ความใส่ใจเพียงน้อยนิด ช่วยเปลี่ยนชีวิตให้คนทั้งเมือง

4731f01ee4dbc95b48a9e46e51b52f2f

รู้หรือไม่? ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าประเทศไทยจะมีจำนวนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปกว่า 10 ล้านคน หรือคิดเป็น 15% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งนั่นหมายถึงว่า ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (*ตามหลักเกณฑ์ขององค์การสหประชาชาติ) นอกจากพัฒนาทางการแพทย์ที่จะต้องเตรียมตัวรับมือกับสังคมสูงวัยเหล่านี้แล้ว งานออกแบบก็จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคสูงอายุที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดแนวคิด Universal Design (UD) หรือ การออกแบบเพื่อส่วนรวมขึ้น เพื่อให้คนทุกกลุ่มสามารถใช้งานได้อย่างเสมอภาคกัน

089e609168cf0e6da38829039ef277d7

แต่คำว่า Universal Design ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนักในประเทศไทยเมื่อเทียบกับเมืองนอก แม้จะมีข้อกำหนดทางกฎหมายออกมาบังคับใช้ แต่อาจจะเป็นเพราะเราไม่ได้ถูกปลูกปลูกฝังมาเพื่อให้ใส่ใจคนอื่น และคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว หากปัญหาไม่เกิดกับเรา เราคงไม่รู้สึกอะไร จึงทำให้ได้งานออกแบบที่ไม่สมบูรณ์

c25739195c8e143e0c39373225c8cfa4

ซึ่งสิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดว่าไม่เอื้อต่อส่วนรวมก็คือสิ่งอำนวยความสะดวกขึ้นพื้นฐานอย่าง ทางลาด ห้องน้ำ ที่จอดรถ เป็นต้น ยกตัวอย่างง่ายๆเลย สมมติคนที่ใช้วีลแชร์ต้องการไปทำธุระในตึกๆหนึ่ง แต่ตึกนั้นไม่มีทางลาดไว้ให้บริการ เพียงแค่นี้ก็เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางของเค้าแล้ว ทำให้พวกเค้ารู้สึกกำลังถูกกีดกันออกจากสังคม ไม่สามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆได้ แม้จะดูเป็นปัญหาเล็กน้อยสำหรับคนทั่วไปที่ใช้ได้หมดทั้งบันไดและทางลาด แต่สำหรับคนใช้วีลแชร์แล้ว เป็นปัญหาใหญ่มากสำหรับพวกเขา

ebbd82810e463dee04fa016908eb4c53

หากเราเป็นคนปกติที่เดินเหินได้อิสระ โดยไม่ต้องมีเครื่องช่วยอำนวยความสะดวกใดๆ เราก็จะมองข้ามปัญหาเหล่านี้ไปหรืออาจจะสนใจปัญหาแต่ไม่ได้ใส่ใจอะไรมากมาย จากปัญหาเล็กๆที่คนทั่วไปมองข้าม จึงทำให้เกิดการออกแบบเพื่อส่วนรวม (Universal Design) ขึ้น เพื่อตอบสนองคนทุกกลุ่มในสังคมทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ คนชรา หรือแม้กระทั่งคนพิการ ถึงจะมีข้อจำกัดทางร่างกายต่างกัน เช่น คนตาบอด กับคนนั่งรถเข็น ความต้องการของทั้ง 2 คนย่อมมีต่างกัน ดังนั้นจึงต้องหาจุดตรงกลางเพื่อเชื่อมการออกแบบที่แตกต่างให้พอดีกับคนทั้งสอง อย่างไรก็ตามสังคมควรรับผิดชอบ ดูแลพวกเขา เพื่อให้ทุกๆคนอยู่ร่วมกันได้ อย่างมีความสุขตามอัตภาพแต่ละคน และสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้นได้อย่างเต็มที่ เท่าเทียม และเสมอภาค

1fa86a78caede092acb0c827dbe2c22f

อย่ารอให้ถึงเวลาที่เราแก่ตัวลง หรือเกิดความจำเป็นต้องใช้รถเข็น แล้วค่อยรู้สึกว่าเป็นเรื่องของเรา เพราะสิ่งที่ทุกคนต้องการไม่ใช่สายตาแสดงความเห็นใจ แต่เป็นการออกแบบที่ใส่ใจ และเราก็เชื่อว่าการพัฒนาเล็กๆ ที่มีประสิทธิภาพ มักให้ผลลัพธ์เกินความคาดหวังอยู่เสมอ

ขอบคุณข้อมูลจาก anukpn , siameseminority