OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

Design Makes A Better Life.

Design Makes A Better Life.

5 สถาปนิกผู้แต่งแต้มอาคารด้วยสีสัน

สีสันในงานสถาปัตยกรรมนั้นสำคัญเพียงใด ? คุณเคยเข้าไปในห้องที่มีพื้นที่เท่ากัน แต่ตกแต่งด้วยสีคนละโทน คุณรู้สึกถึงความต่างหรือไม่ ? นั่นและค่ะคือคำตอบ เมื่อเลือกใช้วัสดุ เลือกใช้สีที่ต่างกัน ความรู้สึกและประสบการณ์ที่ได้ก็ย่อมต่างกันนั่นเอง

การเลือกใช้สีสามารถสื่อถึงตัวตน อารมณ์และความรู้สึกของผู้ใช้งานได้ เช่นเดียวกับการออกแบบพื้นที่และองค์ประกอบในงานสถาปัตยกรรม เรามาติดตามกันค่ะว่าจะมีสถาปนิกคนไหนบ้างที่คลั่งไคล้สีสันอันจัดจ้าน จนนำมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการออกแบบของพวกเขา

 

 “ผมให้ความสำคัญกับเรื่องการใช้สีสันในงานสถาปัตยกรรมเหนือสิ่งอื่นใด

Luis Barragán หรือชื่อเต็มว่า Luis Barragán Morfin เป็นสถาปนิกที่ถูกจดจำในเรื่องการเลือกใช้สีสันในสถาปัตยกรรมหลากสีสัน Luis Barragán คือสถาปนิกคนสำคัญของประเทศเม็กซิโกช่วงยุคศตวรรษที่ 20  จบการศึกษาสาขาวิศวกรรมศาสตร์ แล้วจึงเริ่มฝึกฝนความสามารถด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมด้วยตนเอง 

แรงบันดาลใจของ Luis Barragán มาจากของใช้ในชีวิตประจำวัน วัฒนธรรมและพิธีกรรมชาวเม็กซิกัน เป็นสีสันแห่งเมืองเขตร้อนที่นำมาดัดแปลงให้เขากับสถาปัตยกรรมยุคใหม่และเข้ากับบริบทรอบข้าง ซึ่งคำนิยามต่อสไตล์งานสถาปัตยกรรมของเขาคือ Mexican International Style จากการออกแบบอาคารที่เน้นใช้สีสันสดใสเพื่อสื่อสารกับผู้อยู่อาศัย Luis Barragán เชื่อว่าสถาปัตยกรรมมี “อารมณ์” และ “ความรู้สึก” ที่โต้ตอบกลับมาหามนุษย์ได้  โดยมิได้เป็นเพียงแค่สิ่งปลูกสร้างที่ไร้ชีวิตชีวาอีกต่อไป

ผลงานของ Luis Barragán มักจะเป็นสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่มีสีสัน ไล่ระดับความอ่อนเข้มของสีด้วยแสงเงาจากดวงอาทิตย์ ควบคู่ไปกับการจัดวางองค์ประกอบโครงสร้าง สัดส่วนพื้นที่เสปซในอาคารอย่างลงตัว Luis Barragán จับคู่สีตามหลักศิลปะ Fine Art (วิจิตรศิลป์)  เป็นศิลปะที่ตอบสนองความต้องการทางจิตใจ มีอารมณ์ความรู้สึก มอบสุนทรียภาพความงามลงบนพื้นผิวของอาคาร สร้างมิติความลึกของภาพผ่านแสงเงาจากธรรมชาติ จนใครหลายคนถึงกับขนานนามความงามเช่นนี้ว่าเป็นสัมผัสแห่งเวทมนต์ “a touch of magic”

ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://dsignsomething.com/2017/02/28/สถาปัตยกรรมคัลเลอร์ฟูล/

 

สร้างเสปซด้วยสีสัน

Emmanuelle Moureaux สถาปนิกชาวฝรั่งเศสผู้ใช้ชีวิตอยู่ที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น งานของเธอได้รับแรงบันดาลใจมาจากเลเยอร์ที่ซ้อนทับกันและสีสันของท้องถนนในโตเกียว แรงบันดาลใจในการดีไซน์งานแต่ละชิ้นของ Emmanuelle เรียกว่า “Shikiri” หรือ “การสร้างสเปซด้วยสีสัน” โดยสีเป็นองค์ประกอบหลักในการออกแบบ ไม่ใช่แค่การทาสีเพื่อการประดับตกแต่งเท่านั้น แต่เป็นการดีไซน์และแบ่งสเปซจากสีที่เลือกใช้

Sugar Shinkin Bank สาขา Shimura

ธนาคารที่ได้แรงบันดาลใจจากสายรุ้งทั้ง 7 สี โดยนำมาซ้อนกันเป็นเลเยอร์รอบ Facade อาคาร เพื่อแสดงความต้อนรับต่อลูกค้าผู้มาเยี่ยมเยือนโดยการสร้างสรรค์อาคารให้มีความโดดเด่นจากตึกโดยรอบ เช่นการใช้สีสันสดใสที่ได้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติและการออกแบบให้เลเยอร์ของแต่ละสีมีความเหลื่อมล้ำกันยิ่งเพิ่มความน่าสนใจให้กับธนาคารแห่งนี้ พื้นที่ในอาคารมีความโล่งและโปร่งจากแสงธรรมชาติที่สอดส่องเข้ามา และลมยังพัดผ่านตลอดแนวอาคารชั้น 1 และ 2  จึงทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกสดชื่น จากแนวคิดการออกแบบอาคารที่เปิดโล่งเพื่อนำธรรมชาติเข้ามายังภายในตึก

100 Colors Project ที่ Shinjuku Park

ประติมากรรม 100 เฉดสี ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากสีสันที่หลากหลายของเมือง โตเกียว โดยประติมากรรมนี้ Emmanuelle ต้องการให้ผู้คนสัมผัสได้ถึงอารมณ์ต่างๆที่ซ่อนอยู่ในสีสันอันหลากหลายที่ปรากฏให้เห็นในชีวิตประจำวัน ประติมากรรมนี้จัดแสดงหลายแห่งทั่วกรุงโตเกียวโดยจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับบริบทของสภาพแวดล้อมของที่นั้นๆ เพื่อให้คนเข้าถึงอารมณ์ของสีสันได้อย่างลึกซึ้งที่สุด

Emmanuelle เชื่อว่าสีสามารถเข้าถึงอารมณ์ ความรู้สึกและความมีชีวิตชีวาของมนุษย์ สีเป็นสื่อกลางระหว่างสเปซและผู้คน ซึ่งเธอจะใช้สีสันที่พบเห็นตามท้องถนนทั่วไปในเมืองโตเกียวสื่อออกมาผ่านการออกแบบงานแต่ละชิ้นของเธอ

 

สีสันที่โดดเด่นเหนือบริบทรอบข้าง

Ricardo Bofill Leví สถาปนิกชาวสเปนที่เกิดและโตมาจากครอบครัวที่ทำงานในสายก่อสร้าง ผู้ซึ่งสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมครั้งแรก คือบ้านพักตากอากาศที่เมือง Ibiza ตั้งแต่อายุ17 ปี และได้ตั้งบริษัท Ricardo Bofill Taller de Arquitectura เมื่อเขาอายุเพียง 23 ปีเท่านั้น

สไตล์งานที่เป็นเอกลักษณ์ของ Ricardo Bofill คือ ศิลปะเหนือจริง (Surrealistic) ด้วยสไตล์งานที่รูปทรงมีความซับซ้อน ผสมผสานกับการใช้สีสันหลากหลาย เช่น สี Indigo, Violet, Fuchsia, Scarlet, Pistachio และ Orange สีและรูปทรงที่เลือกใช้มักจะสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้พบเห็นอยู่เสมอ เนื่องจากผลงานของเขาเห็นได้ชัดถึงความแตกต่างจากสภาพแวดล้อมรอบข้าง เช่นการตกแต่งอาคารด้วยสีชมพูและสีส้มที่ตัดกับขอบฟ้าและท้องทะเล

สีเหลืองของอาคารตัดกับหญ้าและท้องฟ้า ทำให้อาคารดูโดดเด่นขึ้นมาในทันที

 

สีสันจากวัสดุที่แตกต่าง

ถ้าใครได้ไปเยือนเมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน เรามั่นใจเลยว่าอย่างน้อยจะต้องเคยได้ยินชื่อ Antoni Gaudi บ้างไม่มากก็น้อย เพราะ Antoni Gaudi เป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงของสเปน และในเมืองบาร์เซโลนามีผลงานของเขาอยู่ค่อนข้างมาก

Antoni Gaudi เป็นผู้รังสรรค์ศิลปะแนว Art Neuveau และ Catalan Modernism สถาปัตยกรรมของ Antoni Gaudi จะมีความปราณีต วิจิตรศิลป์ และงดงาม เติมเต็มจินตนาการของผู้พบเห็นได้เป็นอย่างดี

Antoni Gaudi  หรือชื่อเต็มว่า Antoni Gaudi y Cornet เกิดวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1852 ที่คาตาโลเนีย ประเทศสเปน Gaudi ไม่ได้เป็นเพียงผู้ปฏิวัติวงการสถาปัตยกรรมเท่านั้น เขายังได้คิดค้นอะไรใหม่ๆ ขึ้นอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะการตกแต่งพื้นและผนังด้วยเซรามิกหลากสีสัน และรูปร่างของอาคารก็ล้วนได้รับแรงบันดาลใจจากเส้นสายของธรรมชาติทั้งสิ้น

ผลงานของ Antoni Gaudi เต็มไปด้วยความนุ่มนวล ละมุน และมีรายละเอียดของสีที่หลากหลาย ซึ่งเกิดจากการนำเซรามิกมาสร้างสีสันที่แตกต่างกัน มีการคุมโทนและเบรกสีได้อย่างลงตัว จึงสร้างความแตกต่างและเปลี่ยนแปลงไปในทุกครั้งที่สัมผัส ผลงานมาสเตอพีซของเขาในยุค Art Neuvea มีหลายแห่ง เช่น Casa Vicens, El Capricho, Casa Batlloและ Park Guell รวมไปถึง Sagrada Familia ที่โด่งดังในบาร์เซโลนาอีกด้วย

 

สถาปัตยกรรมที่เต็มไปด้วยสีสัน

Dylan Brady และ Dirk Zimmermann ผู้ก่อตั้ง Studio 505 ในเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย Studio505 มีผลงานที่ครอบคลุมทั้งในออสเตรเลียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ งานของ Studio 505 มักจะดูสนุกและมีความเคลื่อนไหวจากการเลือกใช้สีที่เป็นคู่สีตรงกันข้ามได้อย่างน่าสนใจ ทำให้เรารู้สึกถึงความสนุกสนานที่เกิดจากการใช้สีคู่ตรงข้ามแต่ดูลงตัว

Pixel

Pixel เป็นอาคารสำนักงานที่ออกแบบอย่างยั่งยืน และมีเป้าหมายคือเป็นต้นแบบให้กับอาคารที่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อม โดยการผสานเทคโนโลยีใหม่ๆเข้าไปในงานออกแบบเพื่อการประหยัดพลังงานในระยะยาว Pixel Façade ที่ผิวชั้นนอกสุดของอาคาร และสีสันที่เราเห็นอยู่นั้นก็นำมาจากการรียูสวัสดุที่เหลือใช้ทั้งสิ้น นอกจากนั้นแผงสีคัลเลอร์ฟูลยังทำหน้าที่ควบคุมและสะท้อนปริมาณแสงจากธรรมชาติให้เข้าภายในอาคารด้วยปริมาณที่เหมาะสม 

Wintergarden Shopping Center

อาคารแห่งนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองบริสเบน จุดเด่นของอาคารคือ Façade บริเวณด้านหน้าที่เกิดจากการทับซ้อนกันของเลเยอร์ชั้นต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งรูปทรง สีสัน วัสดุ และองค์ประกอบการจัดวาง แนวคิดของการวางเลเยอร์มีที่มาจากความหลากหลายของผู้คนในบริสเบน นอกจากนั้นยังแสดงถึงความซับซ้อนของสิ่งที่อยู่รอบตัว เช่น ผู้คน วิถีชีวิต วัฒนธรรมและธรรมชาติซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนผูกพันกันอย่างลึกซึ้ง

ในปัจจุบัน Studio 505 ได้ปิดตัวลงไปแล้ว แต่ยังสามารถติดตามงานของ Dylan Brady และ Dirk Zimmermann ได้อยู่ครับ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก Archdaily