OPENING HOURS: MONDAY – SUNDAY: 10.00 AM TO 8.00 PM

info@sitename.com | 987654321

ค้นหาความเป็นได้ใหม่ๆ ของ 18 สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในงานสถาปนิก 61 Beyond ordinary : ไม่ธรรมดา

“Beyond Ordinary : ไม่ธรรมดา” คือธีมหลักของ งานสถาปนิก 61 นี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Vernacular Living” หรือการนำ วิถีพื้นถิ่น” กลับมามองใหม่ คิดใหม่ เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ของการออกแบบสถาปัตยกรรมที่หลายคนอาจไม่เคยคิดถึงมาก่อน… ไฮไลต์ของการจัดงานปีนี้ คือธีมพาวิลเลียน ที่ออกแบบโดย 18 กลุ่มสถาปนิกและดีไซเนอร์ที่มีความน่าสนใจในวิธีคิดและการออกแบบที่ต่างกันออกไป มาชมแนวคิดและผู้ออกแบบกันครับ ว่าจะมีความน่าสนใจแค่ไหน

สถาปนิก ’61 จัดโดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นครั้งแรกของงานสถาปนิกกับการสร้างสรรค์นิทรรศการที่ออกแบบโดยใช้องค์ประกอบสถาปัตยกรรมหรือภูมิปัญญาพื้นถิ่นมาประยุกต์ใช้ โดยมีโจทย์เรื่องวัสดุพื้นถิ่น ได้แก่ ไม้, ไผ่, ดิน และอิฐ การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่และภูมิปัญญาโบราณมาใช้ในการออกแบบ

ผศ.ดร. อภิรดี เกษมศุข ประธานจัดงานสถาปนิก 61 กล่าวถึงแนวคิดหลักของงานเพิ่มเติมว่า ในอดีตนั้นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากการสะสม เป็นการทำตามต่อกันเป็นประเพณี แต่ระยะหลังนักออกแบบรุ่นใหม่ๆ ได้ไปหยิบยกความเป็นพื้นถิ่นมานำเสนอในแง่มุมที่ต่างออกไป ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่น่าสนใจขึ้นอย่างมาก

โดยครั้งนี้เรามีแนวคิดจากผู้ออกแบบนิทรรศการหลักของงานมาให้ชมกันครับ มาดูกันว่าแต่ละส่วนจะมีแนวคิดอะไรและน่าสนใจแค่ไหน ไปชมกันครับ…

– Living Space Pavilion –

บุญเลิศ เหมวิจิตรพันธ์ Boon Design

นิทรรศการที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงพื้นที่อยู่อาศัยในวิถีพื้นถิ่น ออกแบบโดยสถาปนิกมือรางวัลอย่าง บุญเลิศ เหมวิจิตรพันธ์ จาก Boon Design ใช้ดินเป็นวัสดุที่สุดจะถ่อมตนอย่าง “ดิน” มาสร้างเป็นพาวิเลียน นำเสนอรูปแบบบ้านดินแบบใหม่ นำดินมาผสมผสานกับโครงสร้างที่ทำจากลังผลไม้ที่มีคุณสมบัติจับดินได้ แล้วใช้ดินเป็นตัวประสานให้เกิดความคงทนแข็งแรง ผู้ออกแบบต้องการสื่อให้เห็นเนื้อแท้แห่งวัสดุ ผสมผสานวัสดุที่มีอยู่ มาสร้างให้เกิดผลลัพธ์ใหม่

นอกจากนี้ ยังถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ผู้เข้ามาในพาวิเลียน ได้ตระหนักรู้ถึงดินที่สามารถทำเป็นกำแพงปิดกั้น เป็นบันได เป็นที่นั่ง-นอนได้ไม่ต่างกับวัสดุอื่นๆ ดินที่บุญเลิศใช้จึงแสดงให้เห็นถึงความธรรมดาที่มีความพิเศษอยู่ในตัว

แนวคิด

ดิน ฟ้า อากาศ คือหนึ่งเดียว

………………………………………

– Working Space Pavilion –

จริยาวดี เลขะวัฒนา และ Luke Yeung ARCHITECTKIDD

ทีมสถาปนิกจาก Architectkidd (จริยาวดี เลขะวัฒนา, Luke Yeung, ก่อพงศ์ เสน่หา และพรชนก ทองทา) นำเสนอพื้นที่ทำงานสมัยใหม่ใน Working Space Pavilion พาวิเลียนที่จะจัดแสดงนิทรรศการที่เล่าถึงการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ประกอบอาชีพของคนในสังคม โดยใช้ ‘อิฐ’ วัสดุพื้นถิ่นที่มีมาแต่โบราณ อิฐถูกใช้ในงานสถาปัตยกรรมไทยในอดีตมากมาย ปรากฏให้เห็นตามซุ้มประตู กำแพงเมืองและโบสถ์ มาประยุกต์สร้างสรรค์เป็นพาวิเลียน ที่ก่ออิฐมอญเผา เรียงต่อกันเป็นระบบโมดูลซึ่งเผยเส้นสายโค้งเว้าสวยงาม มากกว่านั้น ยังออกแบบสเปซพื้นที่ด้านในและนอก ให้สามารถเป็นจุดพบปะของคนกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย และเป็นพื้นที่ทำงานได้ในตัว

แนวคิด

นิทรรศการที่นำเทคโนโลยีมาพลิกโฉมหน้าเดิมๆของ “อิฐ” ให้กลายเป็นวัสดุสำหรับโครงสร้าง และงานออกแบบภายใน

………………………………………

– Meeting Space Pavilion –

สุริยะ อัมพันศิริรัตน์ Walllasia

สำหรับนิทรรศการหลักของงานสถาปนิก ’61 ออกแบบโดยสถาปนิก สุริยะ อัมพันศิริรัตน์ แห่ง Walllasia เนื้อหานิทรรศการ สื่อถึงการซ้อนทับกันของพื้นที่ทางกายภาพและกิจกรรมของโลกเสมือนออนไลน์ สุริยะจึงรวมความเก่าและความใหม่เข้าไว้ด้วยกัน โดยนำ ‘ไผ่’ วัสดุพื้นถิ่นไทย มาพิจารณาว่าด้วยความเป็นธรรมชาติเนื้อแท้ของมันสามารถทำอะไรได้บ้าง ก่อนตัดสินใจดีไซน์ดัดโค้งเป็นรูปทรงดอกบัวเพื่อให้ดูมีพลัง และนำมาสร้างสรรค์ไว้ในพื้นที่กิจกรรมในโลกโซเชียลของคนรุ่นใหม่

แนวคิด

ไม่อยากเป็นแค่ “ไผ่”

………………………………………

– Moving System Pavilion –

ศ.ดร.วีระ อินพันทัง และ พิช โปษยานนท์

นิทรรศการที่ว่าด้วยเรื่องราวของการเคลื่อนที่ ระบบขนส่ง และโครงสร้างของเมือง เป็นนิทรรศการ 1 ใน 5 ทีเป็นไฮไลต์ที่ไม่ควรพลาดในงานสถาปนิก’61 ตัวโครงสร้าง Moving System Pavilion ก็น่าสนใจไม่แพ้เนื้อหาของนิทรรศการ งานนี้ได้สถาปนิกระดับมาสเตอร์อย่าง ศ.ดร.วีระ อินพันทัง และสถาปนิกรุ่นใหม่ไฟแรง พิช โปษยานนท์ ร่วมกันออกแบบ

แนวคิด

อาศัยปฏิปทาของหลวงตาโจ้ยแห่งวัดไทร ตำบลท่ากระชับ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ที่พลิกแพลงของเล่น เถรอดเพล เพียรสร้างเป็นสิ่งของเครื่องใช้พวงแก้ว เก้าอี้ เครื่องตั้ง ฯลฯ เมื่อกว่า 80 ปีมาแล้วจุดประกายความคิด โดยขยายสัดส่วนสู่งานสถาปัตยกรรม นำไม้ท่อนมาสานขัดด้วยการใช้ข้อต่อ เถร-อด-เพล เป็นกลไกในการยึดโยง ก่อรูปเป็นศาลาโครงโปร่งคลุมพื้นที่อย่างหลวมๆ เปิดโอกาสให้การสัญจรผ่าน เข้า-ออก มีทางเลือกได้หลายทิศหลากทาง

………………………………………

– Introduction Pavilion –

สาวิตรี ไพศาลวัฒนา และ Jakub Gardolinski จาก PAGAA ร่วมกับเมธัส ศรีสุชาติ จาก MAGLA

นิทรรศการที่แสดงการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่สําคัญของประเทศผ่านการสัมภาษณ์ผู้วางรากฐาน และนักออกแบบที่มีชื่อเสียง นอกจากนี้ยังรวมงานสัมภาษณ์ของสถาปนิกรับเชิญผู้ออกแบบนิทรรศการทุกท่านมาไว้ในพาวินเลียนนี้ด้วย นิทรรศการถูกออกแบบผ่านกระบวนการจัดทําเวิร์คชอประหว่างนักศึกษาและสถาปนิกทั่วไปเพื่อสะท้อนถึงเอกลักษณ์สําคัญของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ซึ่งถูกสร้างโดยปราศจากสถาปนิก และใช้ระบบ Pneumatic ที่รูปทรงเกิดขึ้นอย่างไม่จงใจ และแปรเปลี่ยนไปตลอดเวลาตามสภาวะแวดล้อม (ความกดอากาศ)

แนวคิด

ออกแบบพื้นที่นิทรรศการโดยมุ่งเน้นไปที่ความต้องการขั้นพื้นฐาน จากแนวความคิดของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ซึ่งก็คือการเพิ่มศักยภาพของสิ่งที่มีอยู่แล้วหรือทำได้มากแต่ใช้ให้น้อย สิ่งเหล่านี้ช่วยให้ผู้เข้าชมสามารถโต้ตอบและสำรวจนิทรรศการในประสบการณ์เชิงพื้นที่ที่ไม่เหมือนใคร

………………………………………

– Main Stage –

ศาวินี บูรณศิลปิน และ Tom Dannecker จาก THINGSMATTER

พื้นที่กิจกรรมกลาง จัดกิจกรรมการสัมภาษณ์, เวิร์คชอป, การแสดงหนังสั้น และการตัดสินงานประกวดแบบภายในงานสมาคม

แนวคิด

เวทีหลักที่มีโครงสร้างเป็น “ไม้ไผ่” ที่มีประโยชน์สูงสุด ทั้งราคาไม่แพง สร้างได้เร็ว และมีความยืดหยุ่นสูง ใช้ฝีมือชาวบ้านพื้นถิ่นมาประยุกต์ใช้ สร้างรูปทรงร่วมสมัยที่ขึ้นรูปจากคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดชิ้นงานที่มีทั้งความเป็นระบบระเบียบ และความยืดหยุ่นไม่ตายตัวแบบงานพื้นถิ่น

………………………………………


 

(กดที่ PAGE 2 เพื่ออ่านบทความหน้าต่อไป)