เซาะร่อง… ทำไม?
หลายคนอาจทำจนคุ้นเคย เวลาที่ออกแบบผนังผืนใหญ่แล้วมันดูเรียบโล่งจนเกินไป เราก็มักจะใส่เส้นบางๆ ลงไป เป็นลายเป็นรูปแบบที่เราต้องการ โดยที่คิดอยู่ในใจว่าเส้นที่ขีดไปนั้นคือเส้น “เซาะร่อง” ซึ่งจริงๆแล้วนั้น การเซาะร่องนั้นมีประโยชน์อะไรแฝงอยู่หรือเปล่า เรามีคำตอบมาฝากกันครับ
1. ช่วยลดการมองเห็นการแตกร้าวเนื่องจากการขยายและหดตัวของโครงสร้าง การเซาะร่องทำให้รอยร้าวที่กำลังจะเกิดขึ้นนั้นลดความรุนแรงลง เช่นผนังฉาบปูนขนาดใหญ่มากๆ จำเป็นต้องมีเซาะร่องทั้งแนวตั้งและนอน ส่วนใหญ่อยู่ที่ทุกๆระยะ 3 เมตร
2. ทุกวัสดุมีการขยายและหดตัว การนำ 2 วัสดุมาต่อชนกันโดยไม่มีการเว้นระยะเลย เมื่อเกิดการขยายหรือหดตัว วัสดุอาจดันกันเกิดความเสียหายได้ หรืออาจเกิดช่องว่างที่มากกว่าปกติหากเกิดการหดตัว
3. เซาะร่องเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ หลายครั้งที่อาคารดูน่าสนใจเพราะมีการคิดรูปแบบการเซาะร่องที่สวยงามลงตัว
4. เพื่อเน้นบางส่วนที่ตั้งใจ สถาปนิกมักออกแบบอาคารให้มีการตัดกันของรูปทรงหรือวัสดุอย่างชัดเจน ซึ่งถ้าชัดเจนไม่พอ การเซาะร่องก็เป็นแนวทางที่ได้ผลพอสมควร
5. เซาะร่องมีกี่แบบ พอสรุปที่เห็นได้บ่อยคือ
– ร่องอลูมิเนียม และ ร่องสแตนเลส
ใช้สำหรับตกแต่งเซาะร่องผนัง เพื่อความเรียบร้อยสวยงาม ช่วยให้ร่องที่ได้เป็นแนวตรงสม่ำเสมอ เพิ่มความโดดเด่น หรูหรา ให้งานตกแต่งมีความคงทนถาวร อีกทั้งยังสามารถดัดแปลงเป็นกรุยเชิงทั้งพื้นและผนังได้ด้วย
– ร่องพีวีซี
มีความยืดหยุ่นคงทน และมีแนวตรงไม่บิดงอ ช่วยให้ร่องที่ได้มีแนวตรงสม่ำเสมอ และสวยงามกว่าการเซาะด้วยไม้หรือเหล็ก
– สุดท้าย เซาะร่องมือนี่ล่ะ ทั่วไปใช้ไม้ เหล็ก หรืออะไรก็ตามที่ช่างหาได้ตอนนั้น ทำการกรีดลงไปที่ผิวคอนกรีตตอนที่ยังไม่แข็งตัว สร้างร่องที่เกิดจากการเซาะขึ้นมาเอง (ช่างต้องเซียนหน่อยนะวิธีนี้ ไม่งั้นน่าจะออกมาดูไม่จืด)
– เว้นล่องที่ตัววัสดุเช่น ร่อวระกว่าง แผ่นหิน กับฉาบปูน เป็นต้น